ความจริงที่คนไทยไม่เคยรู้ และยากที่จะรู้ แต่สามารถรู้ได้
โดย ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
________________________________________________________________________________
1. ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบ ติดอันดับ 33 ของโลก
ข้อมูลของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา EIA ได้จัดอันดับไทยให้อยู่่ลำดับที่ 24 ของโลกในการผลิตก๊าซธรรมชาติ และลำดับที่ 33 ของโลกในการผลิตน้ำมัน จากประเทศที่ผลิตน้ำมันกว่า 200 ประเทศ โดยสูงกว่าประเทศบรูไนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีน้ำมัน
แต่ทำไมส่วนแบ่ง
ผลประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยจึงต่ำที่สุดในกลุ่มอาเซียน
และต่ำกว่าประเทศที่สูบน้ำมันและก๊าซได้น้อยกว่าประเทศไทย เช่น
พม่าหรือกัมพูชา ???
สาเหตุเพราะ ประเทศไทยไม่เคยเจาะสำรวจปริมาณสำรองของแหล่งพลังงาน ทำให้
ไม่มีข้อมูล โดย
ตรง จึงต้องเชื่อข้อมูลที่ได้รับสัมปทานโดยตรง ฝ่ายเดียว
ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่ต้องสำรวจศักยภาพปิโตรเลียมก่อนแล้วจึงให้สัมปทาน
การที่มาอ้างว่าไม่มีงบประมาณ
ทั้งๆที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี
มูลค่าก๊าซและน้ำมันดิบที่สูงกว่า 3.4 ล้าน ล้าน บาท
ก็จะสูงกว่าค่าขุดเจาะมาก คือเสียเพียง 3.4 หมื่นล้านบาท
(ซึ่งคิดเป็นเพียง 1%ของรายได้ที่ควรได้ ) แต่กลับไม่ทำ
ในขณะที่กัมพูชายังจ้างบริษัทที่ปรึกษาถึง2บริษัทเพื่อมาประเมินศักยภาพ
ปิโตรเลียมในประเทศตน (แต่ไทยไม่ทำ)
2. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติบนขวานทองของไทย
ปิโตรเลียม (ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ) ของประเทศไทย
มีทั้งบนบกและในทะเล (ข้อมูลที่ยืนยันคือประเทศไทย พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์
จำนวนมาก แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่)
ข้อมูลจากองค์กรกลุ่มโอเปกในรายงานประจำปี (Annual Statistical Bulletin
2010/2011) ระบุว่าไทยมีก๊าซธรรมชาติ มากกว่า กลุ่มประเทศโอเปก 8 ประเทศ
ทุกวันนี้ประเทศไทยมีบ่อผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ 2768 แห่ง
แหล่งปิโตรเลียม
|
ล้านลิตรต่อปี
|
แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ (กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์)
|
2,000 ล้านลิตรต่อปี
|
แหล่งเพชรบูรณ์
|
94 ล้านลิตรต่อปี
|
แหล่งสุพรรณบุรี
|
90 ล้านลิตรต่อปี
|
แหล่งเชียงใหม่
|
60 ล้านลิตรต่อปี
|
แหล่งในทะเล เช่น แหล่งบงกช
|
10,000 ล้านลิตรต่อปี
|
3. ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติ ติดอันดับ 24 ของโลก
ปัจจุบัน ราชการอ้างว่า ปิโตรเลียมบ่อเล็กกำลังจะหมด
แต่จากรายงานประจำปีของกระทรวงพลังงาน พบว่า
ปริมาณน้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้กลับเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่าน
มา ข้อมูลการขุดน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2555 คือ 1ล้านบาร์เรล หรือ 160
ล้านลิตรต่อวัน
Census Bureau (หน่วยงาน กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ)
จัดประเทศไทย ให้อยู่ในกลุ่ม World Major Producer ของก๊าซธรรมชาติ
ติดอันดับการผลิตน้ำมัน Top 15% ของโลก
แต่ผลประโยชน์ที่กลับคืนสู่ประเทศไทยกลับต่ำกว่า
ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตที่ต่ำกว่า
ที่ประเทศสหรัฐ
จะมีการทำข้อมูลทรัพยากรปิโตรเลียมอย่างโปร่งใส
มีหน่วยงานกลางคอยเก็บข้อมูลเพื่อป้องกันการสร้างผลประโชน์ทับซ้อยของคน
บางกลุ่ม นอกจากนั้นสหรัฐ ยังมีระบบที่สามารถตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้
ในขณะที่ประเทศไทยกลับเอาผู้มีผลประโยชน์ทางด้าน
พลังงาน ไปนั้งกำกับดูแลธุรกิจพลังงาน
และคนดูแลเก็ยข้อมูลพลังงานกลับมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับสัมปทาน
ทำให้งบการเงินของบริษัทขุดเจาะและผู้ค้าน้ำมัน
มีกำไรมหาศาลจากปิโตรเลียมของไทย เป็นหลายแสนล้าน
4. สหรัฐนำเข้า น้ำมันดิบจากไทย แต่ขายถูกกว่าไทยลิตรละ 10 บาท
คนไทยใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซลเพียง 73-75 ล้านลิตร
ซึ่งเป็นอัตราคงที่มากว่า 8 ปีแล้ว ไทยส่งออกน้ำมันดิบชั้นดี มีมลภาวะต่ำ
ไปขายสหรัฐ มีข้อมูลในเวบของ Census Bureau (http://www.census.gov) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐ ระบุชัดเจนว่า สหรัฐนำเข้าน้ำมันดิบจากไทยมานานแล้ว
ปี 2551 ไทยส่งออกปิโตรเลียม (น้ำมันสำเร็จรูป
น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว) รวมเกือบ 300,000 ล้านบาทหรือประมาณ 9,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าข้าวและยางพารา
ต้นเดือน มกราคมปี 2555
ไทยส่งออกน้ำมันดิบไปสหรัฐมาถึง 1.2 ล้านบาร์เรล
แต่ราคาน้ำมันเบนซินหน้าปั้มของสหรัฐ
กลับมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินที่ขายในไทยถึงลิตรละ 10-14 บาท
ทั้งๆที่สหรัฐเป็นประเทศการค้าเสรี ที่บริษัทพลังงานไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน
ดังนั้นแม้สหรัฐจะขายในราคานี้ สหรัฐก็ยังมีกำไรแน่นอน
Assessment of Undiscovered Oil and Gas Resources of Southeast Asia, 2010
http://pubs.usgs.gov/fs/2010/3015/pdf/FS10-3015.pdf
5. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมัน กลับแพงที่สุดในอาเซียน
นอกจากนี้ ประเทศไทย
ยังส่งน้ำมันดิบไปขายให้แก่ประเทศเกาหลีใต้และสิงคโปร์อีกด้วย
ปรากฏว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้สัมปทานน้ำมันถูกที่สุด
แต่ราคาน้ำมันที่คนไทยซื้อกลับแพงที่สุด
ประเทศ
|
ราคาน้ำมันเบนซิน 95
|
ไทย
|
44.86 บาท (แพงที่สุด)
|
มาเลเซีย
|
19 บาท
|
อินโดนีเซีย
|
31.10 บาท
|
พม่า
|
24 บาท
|
แต่ผลประโยชน์จากปิโตรเลียมที่ไทยเก็บได้
เป็นเพียงร้อยละ 30 ของมูลค่าที่แท้จริง
ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับความเป็นแหล่งปิโตรเลียม
ที่ติดอันดับโลกของไทย ดังตาราง
ประเทศ
|
ลำดับในการเป็นแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติของโลก
|
ส่วนแบ่งที่เจ้าของประเทศได้
ผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันของตนเอง
|
ไทย
|
ลำดับที่ 24 ของโลก
|
ร้อยละ 30
|
โบลิเวีย
|
ลำดับที่ 33 ของโลก
|
ร้อยละ 82
|
พม่า
|
ลำดับที่ 36 ของโลก
|
ร้อยละ 80-90
|
คาซัคสถาน
|
ลำดับที่ 42 ของโลก
|
ร้อยละ 80
|
6. ผลประโยชน์จากแผ่นดินต้องกลับคืนสู่มือประชาชน มิใช่นายทุน
ในประเทศที่เขามีทรัพยากรมากมายแบบประเทศไทยขนาดนี้ เขาจะเอาเงินมาพัฒนาประเทศ ทำให้ประชากรของเขาอยู่ดี กินดี เรียนฟรี มีการรักษพยาบาลฟรี
แต่เป็นที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทย ที่คนไทยกลับมีชีวิตที่ยากเข็ญ ประชากรส่วนใหญ่มีหนี้สิน อดมื้อกินมื้อ ทำงานหนัก หาเช้ากินค่ำ
7. ประเทศไทยให้สัมปทานขุดน้ำมันถูกที่สุดแต่ราคาน้ำมันกลับแพงที่สุดในอาเซียน
จะเห็นได้ว่า
ระบบสัมปทานน้ำมันดิบและก๊าซปิโตรเลียม ทำให้บริษัทเจ้าของสัมปทานรวย
ในขณะที่ประชาชนเจ้าของประเทศ เจ้าของทรัพยากร กลับต้องปากกัดตีนถีบ
กระทรวงพลังงาน เคยชี้แจงต่อคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต วุฒิสภา โดยกระทรวงพลังงานขอให้เห็นใจบริษัทผู้รับสัมปทานว่า การขุดเจาะและสำรวจพลังงานเป็นเรื่องยากและได้กำไรน้อย ทั้งๆที่ในปัจจุบันความจริงปรากฏว่า บริษัทผู้รับสัมปทาน ได้กำไร หลายแสนล้านบาท
คงต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งแผ่นดินแล้วว่า ควรออกมาทวงสิทธิของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น