วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

เชิญประชุมเตรียมการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดินจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน

(Draft)


ที่  นธ ๐๐๑๙/                                                                     
ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส
ถ.ศูนย์ราชการ  นธ ๙๖๐๐๐
                              
เมษายน ๒๕๕๖

เรื่อง     เชิญประชุมเตรียมการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดินจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน

เรียน     ผู้อำนวยการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานรัฐกลันตัน

สิ่งที่ส่งมาด้วย     กำหนดการฯ    จำนวน ๑ ฉบับ

ด้วยจังหวัดนราธิวาส กำหนดจัดประชุมเตรียมการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน อันจะนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์คู่เมืองชายแดนอย่างยั่งยืน ระหว่างจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ ๙-๑๐ เมษายน ๒๕๕๖ เพื่อร่วมหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องหลักดังต่อไปนี้
๑. การสนับสนุนงานออกร้านและการเจรจาทางธุรกิจ ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์การค้า KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย รวมทั้ง การกำหนดวันแถลงข่าวก่อนวันจัดงานต่อสื่อมวลชนทั้งของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ณ สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู
๒.    การออกใบรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.) มาตรฐานฮาลาล และการขนส่งสินค้าผ่านแดนหรือพิธีกรรมทางศุลกากร รวมทั้ง การนำสินค้าที่จะออกงานตามข้อ ๑ ของจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตันมาร่วมตรวจสอบ โดยหวังว่าสินค้าของทั้ง ๒ จังหวัด/รัฐ จะส่งผลต่อการจัดทำการตลาดร่วมกัน สู่ตลาดอาเซียนและตลาดอื่น ๆ ในอนาคต
๓. พิจารณาความเหมาะสมที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐกลันตันและจังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และระบบการตลาด OTOP (One Tambon One Product) ของจังหวัดนราธิวาส กับ SDSI (Satu Daerah Satu Industri) ของรัฐกลันตัน
ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์ ขอเรียนเชิญท่านและขอให้ท่านได้เชิญหน่วยงานของท่านที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมทั้งที่เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารและยา  มาตรฐานฮาลาล และด่านศุลกากร เข้าร่วมประชุมในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมหลวงปริวรรตวิจิตร ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส และเยี่ยมชนสถานประกอบการ OTOP ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๖ ดังกำหนดการที่ส่งมาด้วยแล้ว หรือประสานผ่าน นายมหามะบักรี ลือบาฮางุ พัฒนาการอำเภอสุคิริน โทร.0066 8 1540 5775
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

    ขอแสดงความนับถือ


    (นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์)
    ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส   
   
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
โทร.  ๐๗๓๖๔ ๒๖๔๘  โทรสาร ๐ ๗๓๖๔ ๒๖๔๗


***--------------------------------------------------------------------------------------------***

กำหนดการประชุมและดูงานเตรียมการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดิน
จังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ของคณะจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ในวันที่ ๙ – ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
ณ จังหวัดนราธิวาส
........................................................................ 

วันอังคาร ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
 ๑๐.๐๐ น.    คณะจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย นำโดย Mr.Azran Deraman, Director of MITI Kelantan Regional Office ถึงด่านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.    คณะฯเดินทางถึงอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.    คณะฯเดินทางเข้าพบ นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.    คณะเดินทางถึงห้องประชุมหลวงปริวรรตวิจิตร ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส
๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น.     ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสกล่าวต้อนรับคณะฯ
๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.    สรุปสาระสำคัญจากการหารือเตรียมความพร้อมจัดงานระหว่างจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน โดย นายสุริยะ กิติบุญญา หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน (รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดนราธิวาส) และ Mr.Azran Deraman, Director of MITI Kelantan Regional Office
๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.    ร่วมหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องหลักดังต่อไปนี้
๑.    การสนับสนุนงานออกร้านและการเจรจาทางธุรกิจ ระหว่างวันที่ ๑–๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์การค้า KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน
๒. การกำหนดวันแถลงข่าวก่อนวันจัดงานต่อสื่อมวลชนทั้งไทยและมาเลเซีย ณ สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู และการศึกษาดูงานของคณะจากจังหวัดนราธิวาส ณ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
๓.    การออกใบรับรองมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.) มาตรฐานฮาลาล
๔. การขนส่งสินค้าผ่านแดนและพิธีกรรมทางด้านศุลกากร
๕.การนำสินค้าที่จะออกงานตามข้อ ๑ ของจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตันมาร่วมตรวจสอบ โดยหวังว่าสินค้าของทั้ง ๒ จังหวัด/รัฐ จะส่งผลต่อการจัดทำการตลาดร่วมกัน (4Ps)  ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาสถานที่ (Place) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) การกำหนดราคา (Price) และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promotion) สู่ตลาดอาเซียนและตลาดอื่น ๆ ในอนาคต
๖. พิจารณาความเหมาะสมที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐกลันตันและจังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และระบบการตลาด OTOP (One Tambon One Product) ของจังหวัดนราธิวาส กับ SDSI (Satu Daerah Satu Industri) ของรัฐกลันตัน
๗. อื่น ๆ (ถ้ามี)
๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.    สรุปประเด็นการหารือ พบผู้สื่อข่าว และปิดประชุม โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
๑๖.๓๐ น.    คณะเดินทางเข้าที่พัก

วันพุธ ที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖
 ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.    เดินทางดูงานหมู่บ้านชาวประมงและชมทิวทัศน์แม่น้ำบางนรา
    ชมร้านค้าสินค้า OTOP ในตัวเมืองนราธิวาส
    ชมการแสดงสินค้า OTOP Mobile ณ สวนกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.    รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.    เดินทางเยี่ยมชมหมู่บ้านท่องเที่ยวบ้านทอนและการจัดทำเรือกอและจำลอง การสานกระจูด การทำกรงนก การทำน้ำมะพร้าวสกัดเย็น
    แวะเยี่ยมบ้านบาเฆะ ต้นตำรับการทำน้ำบูดู
๑๕.๐๐ – ๑๗.๓๐ น.     เดินทางไปอำเภอตากใบดูการทำบาติก หมวกซอเกาะ
๑๗.๓๐ – ๑๘.๐๐ น.    เดินทางถึงด่านสุไหงโก-ลก

--------------------------

หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนตามความเหมาะสม

***--------------------------------------------------------------------------------------------***


No. NRW 0019/     
Narathiwat Provincial Hall,,
Official Center Rd.,    
Narathiwat, 96190 Thailand

April 2013

Mr. Azran Deraman
Director of MITI Kelantan Regional Office,
Level 3 (Right), Wisma PERKESO,
Jalan Kota Darul Naim,
15538 Kota Bharu, Kelantan.
Tel: 609-748 3457
Fax: 609-744 4167
E-mail: azran.deraman@miti.gov.my

Dear Sir,
Subject: Invitation to Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship Preparation Meeting on 9 April 2013, at Luang Pariwat wijit Room, 4th Floor, Narathiwat Provincial Hall, Narathiwat, Thailand. And visit our Product Enterprises on 10 April 2013 at Narathiwat Province.
Narathiwat and Kelantan are the neighboring provincial and state. Now we are glad to strengthen our relationship, particularly in OTOP (One Tambon, One Product) and SDSI (Satu Daerah, Satu Industri) to Development and Promotion together. So we would like to talk about our Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship Fair 2013 on 1 -5 May 2013 at KB Mall, Kota Bharu, Kelantan, and how to joint press conference together at Thai Consulate in Kota Bharu, Kelantan.
Furthermore, we would like to discuss on Halal, Food and Drug Certification, and Product freight and Customs Protocol, and to check our product sample of Narathiwat and Kelantan that we would like to promote in the Fair and we hope that products can we develop and promote together to the ASEAN Community and others market in the future, and how could we set up our product development and promotion mutual committee.
We would really appreciate it if we could establish sustainable Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship between of us.   
We are so grateful to be a part of this progressive partnership and relationship.
Thanks and looking forward to see you and your delegation on the 9th – 10th of April that we enclose herewith our schedule. Please let us know how many persons of your delegation or contact Mr. Muhammad Bugree Lebahangus, Tel: 0066815405775, personally. 



    Very truly yours,



    (Mr.Apheenan Suethanuwong)
    Governor of Narathiwat


Narathiwat Community Development Office
Community Development Promotion Division
Tel: 0066 7364 2648, Fax: 0066 7364 2647

***--------------------------------------------------------------------------------------------***


Schedule of MITI Kelantan Delegation’s
Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship Preparation Meeting
on 9 April 2013, at Luang Pariwat wijit Room, 4th Floor, Narathiwat Provincial Hall,
Narathiwat, Thailand.
And visit our Product Enterprises on 10 April 2013 at Narathiwat Province.

........................................................................ 

Tuesday, 9 April 2013
11.00 a.m.    MITI Kelantan Delegation at Sungaikolok-Rantau Panjang Checkpoint
1.00 p.m.     Delegation arrives to Muang, Narathiwat, Thailand
1.00 p.m. – 2.00 p.m.    Meet and have lunch with Mr.Apheenan Suethanuwong, the Governor of Narathiwat Province, Thailand
2.00 p.m. –  2.30 p.m.     Go to Luang Pariwat wijit Room, 4th Floor, Narathiwat Provincial Hall
2.30 p.m. – 3.00 p.m.    Welcome Speech by the Governor of Narathiwat
    Greeting Speech by Mr.Azran Deraman, Director of MITI Kelantan Regional Office
3.00 p.m. – 4.00 p.m.    Trade and Relationship what has been done and will do, brief by
    1. Mr. Suriya Kitiboonya, Head of Community Development Promotion Division, Acting chief of Narathiwat Community Development Office
    2. Mr.Azran Deraman, Director of MITI Kelantan Regional Office
4.00  p.m. – 5.00 p.m.    Concurrently discuss to the principle issues:
    1. Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship Fair 2013 on 1-5 May 2013 at KB Mall, Kota Bharu, Kelantan
    2. Appropriate time for press conference at Thai Consulate in Kota Bharu
    3. Halal, Food and Drug Certification
    4. Product Freight and Customs Protocol
    5. Co-checking to the products which to joint to the fair that we hope to develop together for ASEAN Community or other countries marketing-mix (4Ps: Place, Product, Price, Promotion) Preparations
    6. Appropriate setting up for Product Development and Marketing Promotion Mutual Committee
    7. Others
5.00 p.m. – 5.30 p.m.    Meet mass media
5.30 p.m.    MITI Kelantan delegation goes to the hotel
.

Wednesday, 10 April 2013
9.00 a.m. – 1.00 p.m.    MITI Kelantan Delegation visits fishing village and look around Bang nara river view and visits OTOP shop and OTOP Mobile Expo at Narathiwat downtown
1.00 p.m. – 2.00 p.m.    Lunch time
2.00 p.m. – 4.00 p.m.     Visit to Ban Thon tourist village for visiting the Kolek boat model, Reed product, Bird cage, and Extracted cold coconut oil
    Visit to Ban Bageh’s original budu village
4.00 p.m. – 6.30 p.m.    Visit to Batik, women scarf and Sokok making place in Takbai
6.30 p.m. – 7.00 p.m.    Back to the Sungai-kolok checkpoint

............................................................

Remark: Flexible time according to the situation.

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ


วันนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีเขียนจดหมายในแบบภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งจดหมายภาษาอังกฤษอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล หรือจดหมายส่วนตัว อาจเป็นจดหมายถามทุกข์สุข แสดงความยินดี แสดงความเสียใจ  จดหมาย เชิญ จดหมายอีกประเภทหนึ่งเป็นจดหมายธุรกิจ ซึ่งใช้ติดต่อระหว่างบุคคลกับสำนักงานธุรกิจ หรือระหว่างสำนักงานธุรกิจด้วยกัน สำหรับในเอกสารนี้จะให้รายละเอียดเฉพาะจดหมายส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นจดหมายที่นักเรียนคุ้นเคย และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า
มาเริ่มกันที่ส่วนประกอบของ การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ

1. Heading (หัวจดหมายภาษาอังกฤษ) หัวจดหมายคือที่อยู่ของผู้เขียนจดหมาย และวันที่ที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนไว้บนมุมด้านขวาหรือซ้ายของจดหมายก็ได้
2. Inside Address (ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษ) ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษซึ่งเขียนหรือพิมพ์ไว้ทางด้านซ้ายบน ถัดจากหัวจดหมายลงมาจะปรากฏเฉพาะในจดหมายธุรกิจเท่านั้น สำหรับรูปแบบการเขียนเหมือนกับหัวจดหมาย
3. Solution (คำขึ้นต้นจดหมายภาษาอังกฤษ) คำขึ้นต้นจดหมายในภาษาอังกฤษ เปรียบเสมือนคำทักทายเพื่อเริ่มต้นจดหมาย ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ริมซ้ายของกระดาษด้านบนต่อจากหัวจดหมาย สำหรับจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล และต่อจากชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมาย สำหรับจดหมายธุรกิจ คำขึ้นต้นจดหมายอาจเขียนได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับบุคคลที่เราเขียนถึงว่ามีความสัมพันธ์กับผู้เขียนอย่างไร
3.1 คำขึ้นต้นสำหรับญาติผู้ใหญ่
My dear…………………….. , เช่น
My dear grandmother, (ย่า, ยาย)
My dear father, (พ่อ)
My dear uncle, (ลุง)
My dear mother, (แม่)
3.2   คำขึ้นต้นสำหรับญาติที่อายุอ่อนกว่า
Dear………… ,
My dear……………..,
My dearest……………..,
เช่น
My dearest son, (ลูก)
My dear Jim, (ระบุชื่อญาติ)
3.3   คำขึ้นต้นสำหรับญาติ, เพื่อน, ผู้รู้จัก ซึ่งมีวัยใกล้เคียงกันDear………… ,
My dear…………….., นิยมระบุชื่อ เช่นDear Surapong,Dear friend, (เพื่อน)
3.4   คำขึ้นต้นสำหรับบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป ที่ทราบชื่อแต่ไม่รู้จักกันอย่างสนิท ถ้าเป็นชาวต่าง   ประเทศจะระบุคำนำหน้าชื่อพร้อมนามสกุล แต่ถ้าเป็นคนไทยอาจระบุชื่อแทนนามสกุลได้  เช่น
Dear…………?
Dear Dr.Young, (Dr. J.N. Young)
Dear Mrs.Supranee,
Dear Mr.Ferrari (Mr. D.F. Ferrari)
3.5   คำขึ้นต้นสำหรับผู้ใหญ่ที่รู้จัก นับถือ    Dear…………,
Dear Sir, (ผู้ชาย)
Dear Madam, (ผู้หญิง)
Dear teacher, (ครู)
Dear Mistress, (นายผู้หญิง)
3.6   คำขึ้นต้นสำหรับบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่พิเศษ
Your Excellency, (ทูต, รัฐมนตรี)
Dear lady, Your Excellency, (ภริยาทูต, รัฐมนตรี)
Dear Mr. President, (ประธานาธิบดี)
Your Majesty,May it please your Majesty,Sir, Dear Mr. Speaker, (ประธานสภาผู้แทนราษฎร)
3.7   คำขึ้นต้นจดหมายธุรกิจ Dear Sir , Sir , Gentleman , Dear………., (ถ้ารู้จักชื่อ)
4. Body of letter (ตัวจดหมายภาษาอังกฤษ) ตัวจดหมาย คือ ข้อความของจดหมายซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของจดหมาย เพราะเป็นการสื่อความประสงค์ระหว่าง โดยข้อความในจดหมายปกติแล้วจะแบ่งเป็น 3 ตอน
4.1 ความนำ แสดงการแนะนำตัวหรือบอกสาเหตุ
4.2 เนื้อความ  บอกวัตถุประสงค์
4.3 สรุป เขียนสรุปเรื่องหรือความมุ่งหวังในอนาคต
5. Complimentary Close (คำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ) เมื่อเขียนจดหมายจบแล้ว ต้องมีคำลงท้าย ซึ่งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับผู้รับ สำหรับที่นิยมกันโดยทั่วไปได้แก่
Yours sincerely, Sincerely yours, Sincerely, = ด้วยความจริงใจ
With love,With much love,Love,  = ด้วยความรัก
หรือดูเพิ่มเติมได้ในเรื่อง คำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ
6. Signature (การลงนามจดหมายภาษาอังกฤษ) การ ลงนามของผู้เขียนจดหมาย แสดงให้รู้ว่าใครเป็นผู้เขียนจดหมายนั้น ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจเขียนชื่อหรือทั้งชื่อและนามสกุลในลักษณะหวัด หรือหวัดแกมบรรจง หรืออาจเป็นลายเซ็น (สำหรับบุคคลที่คุ้นเคยมาก ๆ) แต่สำหรับจดหมายธุรกิจนั้น ถัดจากคำลงท้ายจะเป็นลายเซ็น ถัดลงมาจะเป็นชื่อนามสกุลตัวบรรจง ถัดจากชื่ออาจเป็นตำแหน่ง
7. Outside address (การจ่าหน้าซองจดหมายภาษาอังกฤษ)
การจ่าหน้าซองจดหมายคือการเขียนที่อยู่ของผู้รับ (outside address) ซึ่งอาจเขียนได้ 2 แบบ คือ แบบขั้นบันได (Step) ซึ่งย่อเข้ามาทีละบรรทัด กับแบบบล็อก (Block)

อ้างถึง: http://www.edufirstschool.com/learn-english/การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ.html

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

OTOP-SDSI Fair 2013 : Narathiwat-Kelantan Trade and Relationship

เรื่อง   โครงการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดินจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน

เรียน  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

๑. เรื่องเดิม
ด้วยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาสได้รับการสนับสนุนจากท่านให้ดำเนินการดตามโครงการส่งเสริมการตลาดสู่สานสัมพันธ์สองแผ่นดินจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกลันตัน โดยครั้งล่าสุดคณะจากจังหวัดนราธิวาส จำนวน ๒๐ คน นำโดย นายประพันธ์ พรหมสมบูรณ์ อดีตหัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดนราธิวาส เป็นหัวหน้าคณะในการเดินทาง เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ เพื่อไปพบ Mr.Azran Deraman, Director of MITI Kelantan Regional Office ณ โรงแรมริเวอร์วิว เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย


ปรากฏผลการเจรจา ดังต่อไปนี้
๑.๑ ให้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันระหว่างจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตันและ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหารและยา (อ.ย.) มาตรฐานฮาลาล และด่านศุลกากร และนำสินค้าจากจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตันที่จะออกร้านมาตรวจสอบความพร้อมร่วมกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการจัดทำการตลาดร่วมกัน (4Ps) ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาสถานที่ (Place) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) การกำหนดราคา (Price) และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Promotion) สู่ตลาดอาเซียนและตลาดอื่น ๆ ในอนาคต
๑.๒ สนับสนุนการออกร้านและการเจรจาทางธุรกิจ โดยมีจะมีการออกร้านร่วมกัน ณ ศูนย์การค้า KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ทั้งนี้ ให้มีการแถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนทั้งของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ณ สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู ก่อนวันจัดงานประมาณ ๑ สัปดาห์
๑.๓ เห็นชอบที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐกลันตันและจังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และระบบการตลาด OTOP (One Tambon One Product) ของจังหวัดนราธิวาส กับ SDSI (Satu Daerah Satu Industri) ของรัฐกลันตัน ร่วมกัน

๒.ข้อเท็จจริง
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส ได้ประสานเป็นการภายในกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตัน เพื่อขอทราบถึงแนวทางปฏิบัติตามข้อ ๑.๑ – ๑.๓ รวมทั้งการจัดงานแสดงมหกรรมสินค้า ณ KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ ผ่านเจ้าหน้าที่ประจำกงสุงใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู โดยมีการติดต่อและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและสถานที่แสดงมหกรรมสินค้าครั้งนี้ แล้ว

๓. ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
๓.๑ ควรจัดประชุมกรรมการ นตผ.จังหวัดนราธิวาส ร่วมกันกับ MITI Kelantan รวมทั้งกลุ่มงาน อ.ย.ของสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส (รับผิดชอบฮาลาล) และด่านศุลกากรของจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ เชิญกงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู และกงสุลใหญ่มาเลเซีย ณ เมืองสงขลา เข้าร่วมด้วย เพื่อพิจารณาสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่จะออกร้านและจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดสินค้า OTOP-SDSI ร่วมกันระหว่างจังหวัดนราธิวาสและรัฐกลันตัน ในวันที่.........เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ณ............................................
๓.๒ ควรสนับสนุนการออกร้าน (Event) โดยมีจะมีการออกร้านร่วมกัน ณ ศูนย์การค้า KB Mall เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ ๑ – ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ 
๓.๓ ควรจัดให้มีเจรจาเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจร่วม (Co-business Movement) และให้มีการแถลงข่าวร่วมกันต่อสื่อมวลชนทั้งของประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ณ สถานกงสุลใหญ่ไทย ณ เมืองโกตาบารู ก่อนวันจัดงานประมาณ ๑ สัปดาห์
๓.๔ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐกลันตันและจังหวัดนราธิวาส เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า/ผลิตภัณฑ์ และระบบการตลาด OTOP (One Tambon One Product) ของจังหวัดนราธิวาส กับ SDSI (Satu Daerah Satu Industri) ของรัฐกลันตัน ร่วมกัน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเห็นว่ามีความเหมาะสม จักได้ดำเนินการต่อไป



(นายสุริยะ กิติบุญญา)
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทน พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผู้ว่าฯติดตาม ชคต.มาโมง

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผวจ.นธ. และ พ.ต.อ. ไมตรี ฉิมเฉิด รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส (รอง ผบก.ภ.จว.นธ) ตรวจ ชคต.มาโมง

ในการนี้ นายสาโรช กาญจนพงศ์ นายอำเภอสุคิริน ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย พ.ท.เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ ผบ.ฉก.นธ ๓๕ พ.อ.เฉลิม เนียมช่วย ผบ.ฉก.ทพ ๑๑ พรวิทย์ เพชรสลับแก้ว ผอ.โรงเรียนนิคมพัฒนา ๑๐ นายพินิจ สงนาวา ผอ.ศูนย์ฝึกวิชาชีพอำเภอสุคิริน นายนิรันดร์ หมั่นสนิท ที่ดินอำเภอสุคิริน และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ทหาร ตำรวจ อส. อรบ.ม.๑-ม.๑๐ ต.มาโมง
นายยาลี มูดอ กำนันตำบลมาโมง กล่าวรายงาน สตรี ต.มาโมง มอบของที่ระลึก


มชช.อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ปี ๒๕๕๖

๑) ผู้นำชุมชน/ท้องถิ่น
ชื่อ -สกุล นายนรงค์ เจ๊ะนาแว
หมายเลขประจำตัวประชาชน 3960900007419
ปีงบประมาณที่สมัคร 2556
ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
ที่อยู่ 5/5 หมู่ที่ 1 ต.เกียร์ อ.สุคิริน

๒) รายชื่อชุมชน
ชื่อชุมชน บ้านเกียร์
ปีงบประมาณที่สมัคร 2556
สถานที่ทำการเครือข่าย หมู่ที่ 1 ต.เกียร์ อ.สุคิริน
ชื่อผู้ประสานงานเครือข่าย นายนรงค์ เจ๊ะนาแว

๓) กลุ่ม/องค์กรชุมชน
ชื่อกลุ่ม/องค์กร กลุ่มสตรีบ้านเกียร์
ปีงบประมาณที่สมัคร 2556
สถานที่ทำการกลุ่ม หมู่ที่ 1 ต.เกียร์ อ.สุคิริน
ชื่อผู้ประสานงานกลุ่ม นางสุนีย์ เดชบุญ

๔) เครือข่ายองค์กรชุมชน
ชื่อเครือข่าย ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลเกียร์
ปีงบประมาณที่สมัคร 2556
สถานที่ทำการเครือข่าย หมู่ที่ 1 ต.เกียร์ อ.สุคิริน
ชื่อผู้ประสานงานเครือข่าย นายนรงค์ เจ๊ะนาแว

ประเด็นคำถาม "นายนิตย์ ยางสูง"


๑) กลุ่มออมทรัพยฺ์เพื่อการผลิตคืออะไร?
๒) ทำไมจึงต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต?
๓) การจัดตั้งเริ่มต้นนั้น เริ่มต้นที่ใด?
๔) กิจกรรมเครือข่าย
๕) หัวใจของกลุ่มออทรัพย์ฯ
๖) สวัสดิการสมาชิก
๗) สวัสดิการชุมชน
๘) ๑+๔ คู่ซี้บัดดี้ปาท่องโก๋
๙) ประวัติกลุ่มตันหยงมัส


กองทุนหมู่บ้านฯอิสลาม พงปือเราะ

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

Lean Supply Chain


Creating and Managing a Lean Supply Chain ??  -  a proper Supply Chain

Lean is how a properly designed and operated supply chain should function. A Lean Supply Chain process is one that has been streamlined to reduce and eliminate waste or non-value added activities along the supply chain flow associated with the movement of products.

Waste can be measured in time, inventory and unnecessary costs. Value-added activities are those that contribute to efficiently placing the final product at the customer’s door.  

The supply chain and inventory contained in the chain should flow. Any activity that stops the flow or that touches inventory should create value. 

Lean supply chain management is not just for manufacturers who practice lean manufacturing. Nor is it just for large retailers. It is a practice that can benefit small and mid-size home furnishings retailers, wholesalers, distributors and others.
WHAT IS LEAN SUPPLY CHAIN MANAGEMENT?

Supply chains tend to accrue waste and non-value added activities for many reasons, both internal to the company and external. Regaining lean supply chain efficiencies may mean addressing many of the same issues that created the problems of extra and unneeded time, inventory and costs.

The ideal approach is to design the perfect supply chain and fit your company’s operation onto it. Supply chain management is meant to reduce excess inventory in the supply chain. It should be demand driven, built on the “pull” approach of customers pulling inventory in a flow as required, not by suppliers pushing inventory. Excess inventory reflects the additional time spent within the supply chain operation. So the perfect supply chain is lean, having removed wasteful time and inventory.
A lean supply chain, with the pull, flows back from the store floor through to purchase orders placed on suppliers. Anything that delays or impedes this flow must be analyzed as a potential non-value added activity.


WHAT MUST BE DONE TO BE LEAN?


Understand that this is an ongoing, continuous improvement approach as compared to business process reengineering which can be viewed as a one-time change.
  • Gain top management’s commitment. Continuous improvement requires ongoing support.
  • Build a multi-discipline team for the project—one that understands lean supply chain management.
  • Analyze the total supply chain process, not just the outbound or just the inbound part.
  • Map the process
  • Assess for gaps or redundancies in the process that create time, the key waste.
  • Avoid cannibalizing the process by just focusing on warehousing or transportation or other activities instead of studying the entire supply chain process.
  • Realize cause-effect impacts. High freight cost, for example, can be a problem or a symptom.
    Excess inventory can be a problem or, more often, a symptom of a problem.
  • Drive for root causes, not symptoms.
  • Comprehend the complexity of supply chains with multiple suppliers, distribution centers and stores.
·         Appreciate the fundamental impact of international sourcing and shipping on time and inventory.
·         Grasp the impact of the organization and culture on supply chain process design and operation.
This can be overlooked as a factor in achieving or not achieving lean.
  • Analyze the effect of continuing external events, such as Homeland Security activities or imports, on lead times and on lean dynamics.
  • Calculate the risks of the lean supply chain. Reducing inventory frees up capital; reducing time improves the cash-to-cash cycle. However reducing inventory, without a properly designed process, removes the comfortable feeling that accompanies excess inventory and can expose you to the risk of lost sales.
  • Observe the effect that time has on inventory and on an effective process.
  • Assess where standardization is feasible and where customizing to specific customer requirements is needed.
  • Demand supplier performance. It is vital to a lean supply chain operation.
  • Measure the present process as total cycle time, costs and inventory (both in dollars and units) and inventory turns.
  • Integrate the supply chain. Breaks in the flow, both internal and external, can be pockets of waste.
  • Identify non-value added activities, their effect and their cause.
  • Rationalize the process.
  • Improve the process to drive change.
  • Streamline the process for unnecessary complexity as well as unnecessary suppliers and service providers.
·         Incorporate technology, such as supply chain execution technology, as part of the process improvement.
·         It is an enabler. Understand where standard ERP and other software may, or may not, enable a lean supply chain.
  • Use technology that includes event management and exception management to enhance management and control.
    Supply chain complexity increases the need for event and exception management technology and capability.
    Event management focuses on a key event(s) that must happen for process or transaction success. Exception management focuses on exceptions to what is expected instead of having to look at everything.
  • Know that technology cannot overcome process flaws.
  • Involve your people—employees, suppliers, service providers—to provide input on present supply chain effectiveness and improvements.
  • Recognize the viability of outsourcing as a driver of needed changes. Proper outsourcing can provide people, process and technology that may otherwise not be readily available.
  • Probe for uncertainties that create inventory and other waste. Forecasting accuracy is one area of opportunity.
  • Make the supply chain visible; recognize that blind spots can be areas of waste
  • Collaborate with suppliers. It is a requirement, not an option; and it is a two-way exchange.
  • Investigate reasons why product does not flow in a more consistent and predictable manner. Order and shipment releases from suppliers, for example, can create inbound flows that mitigate time and inventory buffers.
  • Position inventories at the proper stores and distribution centers. The right inventory at the wrong facility can result in inter-facility transfers that add time and extra transport costs and can delay customer order deliveries.

    This is a non-value added action that generates waste.
     
  • Be open to the changes necessary for the creation of a lean supply chain. From technology, such as WMS, to a completely redesigned process, significant change can be expected.
  • Include change management in your lean program requirements.

เกิดเหตุรถบัส "ร.ร.นิคมพัฒนา ๑๐" จ.นราธิวาส ตกไหล่เขา

ข่าวไทยพีบีเอส เมื่อวันเสาร์ ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา.๐๗ น.

เกิดเหตุรถบัส "ร.ร.นิคมพัฒนา10" จ.นราธิวาสตกไหล่เขา-นร.เสียชีวิต1 ราย
รถบัสนำคณะครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนา ๑๐ ใน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ประสบอุบัติเหตุ ขณะกำลังเดินทางไปทัศนศึกษาในจ.สงขลา ทำให้นักเรียนเสียชีวิต ๑ คน บาดเจ็บอีกกว่า ๑๐ คน
แพทย์โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ช่วยกันปฐมพยาบาลครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนา ๑๐ อ.สุคิริน หลังประสบอุบัติเหตุตกเขากรือซอ อ.แว้ง จ.นราธิวาส ทำให้เด็กหญิงอีลา วาหลง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกกว่า ๑๐ คน
ครูที่ดูแลเด็กนักเรียน เล่าว่า โรงเรียนได้จัดทัศนศึกษาไปจ.สงขลา โดยรถบัส ๒ คัน รถคันที่เกิดเหตุ มีครู ๕ คน นักเรียนอีก ๒๑ คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบที่เกิดเหตุ และสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากระบบช่วงล่างของรถ หรือความไม่ชำนาญเส้นทางของคนขับ


ดูภาพข่าว  ThaiPBS Video - เกิดเหตุรถบัส

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของน้ำผึ้ง


น้ำผึ้ง (Honey) คือน้ำหวานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผึ้ง (Bee) เป็นผู้ผลิตขึ้นมาจากน้ำหวานของเกสรดอกไม้ประเภทต่างๆ เมื่อผึ้งกลืนน้ำหวานเหล่านั้นลงไป เอนไซม์ในตัวของผึ้งจะทำการย่อยและเปลี่ยนน้ำหวานเหล่านั้นให้กลายเป็นน้ำผึ้ง โดยที่ผึ้งจะคายออกมาเก็บไว้ในรวงผึ้งเพื่อเป็นอาหารของตัวอ่อนของผึ้งในรังต่อไป น้ำผึ้งมีประโยชน์มากทั้งต่อตัวผึ้งเองและต่อมนุษย์อย่างเรา

น้ำผึ้งมีส่วนประกอบที่ซับซ้อนพอสมควร จากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการพบว่าน้ำผึ้งประกอบด้ว
- น้ำ ประมาณ 20%
- น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่นกลูโครส ฟลุคโตสและเลวูโรส ประมาณ 79%
- กรดชนิดต่างๆ ประมาณ 0.5%
- แร่ธาตุต่างๆ ประมาณ 0.5%

น้ำตาลในน้ำผึ่งส่วนมากเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จึงสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย และจากการทดสอบพบว่าในน้ำผึ้ง 100 กรัม จะให้พลังงานทั้งหมด 300 แคลอรี่

ประโยชน์ของน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งนั้นถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารของตัวอ่อนของผึ้งเอง มีคุณค่าทางอาหารสูง มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย ดังนั้นมนุษย์จึงได้นำน้ำผึ้งมาเป็นอาหารและส่วนประกอบของยาหลากหลายชนิด

สรรพคุณทางยาของน้ำผึ้ง
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าน้ำผึ่งมีสรรพคุณทางยาหลากหลาย มนุษย์รู้จักการนำน้ำผึ่งมาเป็นอาหารและองค์ประกอบของตัวยามาหลายพันปีแล้ว สรรพคุณทางยาของน้ำผึ้งมีดังนี้
- เป็นอาหารบำรุงสุขภาพ เนื่องจากดูดซึมได้เร็ว ให้พลังงานทันที
- รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก และริดสีดวงทวาร
- บรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
- ใช้ล้างแผล แผล ฝี หนอง แผลเรื่อรัง ให้หายเร็วขึ้น เนื่องจากน้ำผึ้งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้
- ช่วยรักษาแผลไฟไหมและน้ำร้อนลวก
- บรรเทาโรคกระเพาะอาหาร
- บรรเทาอาการข้ออักเสบ
- ช่วยลดความดันโลหิต
- บรรเทาอาการไอ
- รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา

จะเห็นว่าน้ำผึ้งนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณทางยามากมาย แต่การซื้อหาน้ำผึ้งมารับประทานนั้นควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพราะมีราคาแพง เนื่องจากปัจจุบันมีการปลอมปนน้ำผึ้งกันมาก ทำให้เราได้รับประโยชน์จากน้ำผึ้งไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป แต่ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรงดบริโภคน้ำผึ้งเนื่องจากในน้ำผึ้งมีน้ำตาลประเภทต่างๆถึง 79%


ที่มา: Pink Planet TH

ประโยชน์ของเห็ดชนิดต่าง ๆ



เห็ดมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งชนิดที่กินได้และกินไม่ได้ เห็ดเป็นพืชที่หาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่แพง จะปลูกเองก็ได้วิธีการปลูกไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด ให้ทั้งความอร่อยและคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน เกลือแร่ วิตามินและใยอาหาร ช่วยเสริมสร้างร่างการและช่วยในการขับถ่าย เห็ดที่นิยมรับประทานกันมีมากมายหลายชนิด มาดูกันครับว่ามีเห็ดที่นิยมรับประทานกันในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

1. เห็ดฟาง
เป็นเห็ดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและนิยมมากที่สุดในประเทศไทย เพราะเพาะง่าย ราคาไม่แพง มีขายทั่วไป อีกทั้งยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เห็ดฟางนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งโปรตีน วิตามินซีและใยอาหาร สามารถช่วยลดการติดเชื้อ ช่วยสมานแผล ป้องกันเลือดออกตามไรฟันหรือโรคลักปิดลักเปิด โรคเหงือกอักเสบ บำรุงตับและช่วยยับยั้งเซลล์มะ เร็งอีกด้วย ในเห็ดฟาง 100 กรัม จะให้พลังงานทั้งหมด 35 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัมและวิตามินซี 7 มิลลิกรัม

2. เห็ดนางฟ้า
เป็นเห็ดยอดนิมอีกประเภทหนึ่ง ราคาไม่แพง มีขายทุกที่ มีรสชาติอร่อย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด นอกจากคุณค่าทางอาหารมากมายเหมือนเห็ดทั่วๆไปแล้ว เห็ดนางฟ้ายังช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคกระเพาะอีกด้วย

3. เห็ดหอม
เห็ดหอมเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการบริโภคสูง รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมและมีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนี้เห็ดหอมยังมีสรรพคุณทางยามากมายอีกด้วย เช่น ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง เนื่องจากมีแคลเซี่ยมสูง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการไข้หวัด ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งอีกด้วย นอกจากนี้เห็ดหอมยังมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง เหมาะสำหรับชดเชยโปรตีนจากเนื้อสัตว์สำหรับผู้นิยมรับประทานอาหารมังสวิรัติ

4. เห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทองเป็นเห็ดที่มีแหล่งกำเนิดในเขตหนาวเช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น อเมริกาและออสเตรเลีย ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือหมวก เห็ดรูปร่างกลม มีขนาดเล็กก้านยาวเรียว เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ถึงแม้รูปร่างลักษณะจะเล็ก แต่ว่าทั้งรสชาติ คุณค่าทางอาหารและสรรพคุณทางยา ไม่ได้เล็กเลยนะครับ เพราะช่วยรักษาโรคตับ โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง เนื่องจากมีสาร flammulin ในปริมาณสูง

5. เห็ดหูหนู
เป็นเห็ดที่นิยมปลูกมากอีกชนิดหนึ่ง เพราะปลูกง่าย ขายได้ราคาดี นำมาประกอบอาหารได้เกือบทุกชนิด ให้รสชาติที่อร่อยและรับประทานง่าย ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นวุ้น คล้ายหูของหนู จึงได้ชื่อว่าเห็ดหูหนู เห็ดหูหนูนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ทางยามาก มายอีกด้วย เช่น มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซีและโปรตีนสูง ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ช่วยบำรุงกระเพาะ สมอง หัวใจ ปอดและตับ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ยับยั้งการเกิดมะเร็งและรักษาอาการริดสีดวง เป็นต้น

6. เห็ดโคน
เห็ดโคนเป็นเห็ดหายากอีกประเภทหนึ่ง มักขึ้นอยู่ในป่า รสชาตินั้นเป็นที่รู้กันว่าอร่อยกว่าเห็ดประเภทอื่นๆ เมื่อประกอบกับการหารับประทานยากแล้ว เห็ดโคนจึงมีราคาสูงพอสมควร เห็ดโคนนั้นสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย มีคุณค่าทางวอาหารสูง มีสรรพคุณทางยาที่ดีไม่แพ้เห็ด ประเภทอื่น เช่น ช่วยบำรุงสมอง ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยเจริญอาหาร ยับยั้งเชื้อไทฟอยด์ได้ดี

7. เห็ดนางรม
เป็นเห็ดขนาดกลางๆ โดยจะเจริญเติบโตเป็นช่อๆคล้ายใบพัด เห็ดนางรมจะมีมีสีขาวอมเทา มีสรรพคุณทางยามากมายเช่น บำบัดอาการปวดและชาตามร่างกาย แขนขา ช่วยขยายหลอดเลือดและอาการเอ็นยึด ยังยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ปรับความดันโลหิตและความเข้มข้นของไขมันในเลือด เป็นต้น

8. เห็ดภูฏาน
เป็นเห็ดในตระกูลเห็ดนางรม รูปร่างลักษณะคล้ายเห็ดนางรมมาก รับประทานได้ มีรสชาติอร่อย เจริญเติบโตได้เร็วมาก มีสรรพคุณทางยาเหมือนเห็ดนางรม

9. เห็ดขอน
เป็นเห็ดอีกประเภทหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายเห็ดนางรม แต่ดอกจะบางและเหนียวกว่า มีกลิ่นหอม นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสานและภาคเหนือ นอกจากคุณค่าทางอาหารที่สูงเหมือนเห็ดทั่วไปแล้ว สรรพคุณทางยายังมีมากมายอีกด้วย กล่าวคือ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ไขพิษและช่วยระบบขับถ่ายทางานดีขึ้น ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็ง สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและผู้ติดเชื้อ HIV ได้

10. เห็ดแครง
เห็ดแครงเป็นเห็ดขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายพัด เพาะง่ายแต่มีราคาแพงพอสมควร ปัจจุบันเกษตรกรนิยมเพาะขายกันมากขึ้น เป็นเห็ดที่ให้ธาตุอาหารสูง และยังช่วยแก้อาการระดูขาวหรือตกขาว ยับยั้งอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

11. เห็ดตีนแรด
เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ มีเนื้อมาก รสชาติอร่อย สามารถเก็บไว้ได้นาน นำไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงใส่ผักชะอม ผัดใส่หมู ผัดน้ำมันหอย นึ่งจิ้มน้ำพริกข่า ต้มยำ หรือจะนำไปทำเป็นอาหารเจหรือมังสวิรัติก็ได้ สรรพคุณทางยาของเห็ดตีนแรดคือ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานดีขึ้น ลดอาการขับเหงื่อที่มากเกินไปจากการใช้ยา ฟื้นฟูพลังบรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ

12. เห็ดเป๋าฮื้อ
เห็ดเป๋าฮื้อเป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ดนางฟ้าและนางรม มีถิ่นกำเนิดและได้รับความนิยมสูงในประเทศจีนและไต้หวัน ประเทศไทยสามารถเพาะได้ดีเช่นกันในทุกภาคและทุกฤดูกาล เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ เนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มาก สามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยให้ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานดีขึ้น ช่วยแก้อาการโรคกระเพาะและป้องกันโรคมะเร็ง เห็ดเป๋าฮื้อนิยมนำมาทำยาตำรับจีน

13. เห็ดยานางิ
เห็ดยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่มีมีผู้นิยมบริโภคมาก ราคาไม่แพงมาก รับประทานง่าย สามารถนำมาประกอบอาหารได้เกือบ ทุกประเภท ให้โปรตีนและใยอาหารสูง มีสรรพคุณทางยาที่ดี เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการหดหู่ ลดอาการหงุดหงิด ช่วยทำให้ม้ามแข็งแรงและลดอาการท้องเสีย

14. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญญอ
เห็ดชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ รสชาติดี สามารถหาซื้อได้ทั้งแบบสดและแบบบรรจุกระป๋อง มีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยในการย่อยอาหาร ความดันโลหิตสูง ช่วยยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่วยลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ช่วยให้แม่มีน้ำนมมากขึ้น ช่วยลดการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในร่างกายได้

15. เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตดีในธรรมชาติ มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ทั้งคุณค่าทางโภชนาการ ใช้ผสมในเครื่องสำอางค์และสรรพคุณทางยาสูง ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ทั้งเรื่องโรคกระเพาะ โรคแผลในลำไส้ ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ริดสีดวง ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ลดอาการโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ โรคเบาหวาน ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด บรรเทาอาการไขข้ออักเสบ ต่อต้านเซลล์มะเร็งและยืดชีวิตผู้ป่วยเอดส์เนื่องจากเชื่อไวรัส HIV ช่วยรักษาอาการโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคหัวใจ เป็นต้น

16. เห็ดตับเต่า
นายโทรโข่งได้ยินชื่อเห็ดตับเต่าครั้งแรกจากเพลงมนต์รักลูกทุ่ง ที่บรมครูไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้คุณไพลวัลย์ ลูกเพชร ขับร้องจนโด่งดังไปทั่วประเทศ แต่ไม่เคยเห็นรูปร่างลักษณะมาก่อน เมื่อมาค้นข้อมูลดูจึงพบว่าเจ้าเห็ดตับเต่านี่ มีประโยชน์ร้ายกาจมาก เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดี ดับพิษร้อน บรรเทาอาการปวดชาตามแขนขา ตามกระดูกและเส้นเอ็น ลดอาการอาการระดูขาว หยุดการเติบโตและต่อต้านเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็ง

17. เห็ดเผาะ
เป็นเห็ดชื่อแปลก รูปร่างแปลก ไม่น่ากินเอาเสียเลย แต่กลับมีรสชาติอร่อยอย่างไม่น่าเชื่อ ลักษณะจะเป็นเห็ดรูปร่างกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลถึงดำ เนื้อในมีสีขาวน่ากิน เนื้อกรอบเคี้ยวกรุบๆอร่อยมาก สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ทั้งต้ม ทั้งยำ มีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยบำรุงร่างกาย ชูกำลังและแก้ช้ำใน หยุดการไหลของเลือด (ช่วยให้เลือกแข้งตัวเร็ว) ช่วยสมานแผล ลดอาการบวม ลดอาการคันนิ้วมือนิ้วเท้าและช่วยลดไข้อาการร้อนใน

ประโยชน์เหลือร้ายจริงๆนะครับสำหรับเห็ดประเภทต่างๆที่เราคุ้นเคยและรับประทานกันอยู่เป็นประจำ เป็นแหล่งโปรตีนที่อร่อย หาง่ายและราคาถูก มีกากใยอาหารมาก ช่วยในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ใครที่ต้องการเสริมโปรตีนชั้นดีให้กับร่างกายหรือมีอาการท้องผูกบ่อยๆ แนะนำเลยครับ จัดหนักๆ รับรองว่าระบบขับถ่ายของท่านจะกลับมาทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม


ที่มา: Pink Planet TH

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

ที่อยู่ : 444 ถนนท่าเรือ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
โทร. : 0-2269-3000
โทรสาร.. : 0-2672-7156
ถ้าท่านต้องการข้อมูลด่วน กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่
E-mail : info@port.co.th


หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กทท. 0-2269-3191
0-2269-3199
ห้องเวรท่าเรือกรุงเทพ กทท. 0-2269-3537
0-2269-3026
แผนกสื่อสาร กทท. 0-2269-3481
0-2269-3484
ศูนย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วม กทท. 0-2269-3038
0-2269-3668
08-9481-1369 

(คุณธนพลฯ)

ท่าเรือกรุงเทพ
ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ 0-2269-5300
Fax : 0-2249-4229
หน้าห้องผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ 0-2269-5327
ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ 0-2269-5301
0-2240-0154
หน้าห้องผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ 0-2269-3503
0-2269-3979
นักบริหาร 13 0-2269-5304
นักบริหาร 13 0-2269-5305
0-2269-3502
0-2269-3498
แผนกสารบรรณ 0-2269-5310
0-2269-5353
Fax : 0-2269-5256
ผู้ตรวจการฝ่ายเรือ 0-2269-3561
ผู้ช่วยผู้ตรวจการฝ่ายเรือ 0-2269-3050
ผู้ตรวจการท่า 0-2269-3414
ผู้ช่วยผู้ตรวจการท่า 0-2269-3417
ผู้ตรวจการสินค้า 0-2269-3530
Fax : 0-2672-7160
ผู้ช่วยผู้ตรวจการสินค้า 0-2269-3750
แผนกตรวจสอบชั่งวัดสินค้า 0-2269-3404
0-2269-3416
0-2269-3535
แผนกบรรทุกและขนถ่ายสินค้า 0-2269-3412
0-2269-3975
หัวหน้าแผนกบรรทุกและขนถ่ายสินค้า 0-2269-3381
แผนกควบคุมปฏิบัติงานหน้าท่า 0-2269-3417
0-2269-3937
เวรรักษาการณ์ท่าเรือกรุงเทพ 0-2269-3417
0-2269-3026
แผนกตรวจสอบสินค้า 0-2269-3474
0-2671,8805
ด่านตรวจสอบสินค้า ช่องที่ 1 เขื่อนตะวันตก 0-2269-3497
ด่านตรวจสอบสินค้า ช่องที่ 2 เขื่อนตะวันออก (ขาออก) 0-2269-3493
ด่านตรวจสอบสินค้า ช่องที่ 2 เขื่อนตะวันออก 0-2269-3492
ด่านตรวจสอบสินค้า ช่องที่ 5 เขื่อนตะวันออก 0-2269-3491
ด่านตรวจสอบสินค้า ช่องกลาง เขื่อนตะวันออก 0-2269-3495
0-2269-3981
ด่านชั่งน้ำหนัก เขื่อนตะวันออก 0-2269-3482
หมวดตรวจสอบสินค้าขาออก 2 0-2269-3482
ป้อนประวัติข้อมูลสินค้าขาออก null
Fax : 0-2671-8848-9
สถานีตรวจสอบสินค้าหลังที่ 2 เขื่อนตะวันตก 0-2269-3461
สถานีตรวจสอบสินค้าผ่านแดน 0-2269-3475
ห้องจัดเรือ หรือห้องประชุมเรือ 0-2240-0155

สำำนักงานเลขานุการคณะกรรมการ
ประธานกรรมการ การท่าเรือฯ 0-2269-5120-1
0-2249-4555
0-2269-5295
Fax : 0-2249-7871
ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ การท่าเรือฯ 0-2269-5123
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 12 0-2269-5131
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 11 0-2269-5130
สารบรรณ 0-2269-5122
0-2269-5126
หัวหน้าแผนกสารบรรณ 0-2269-5125
หัวหน้าแผนกการประชุม 0-2269-5132

ส่วนอำนวยการประจำผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ 0-2269-5100
0-2249-4554
Fax : 0-2249-4181
เลขานุการผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ 0-2269-5107
0-2269-5109
หน้าห้องผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ 0-2269-5104
0-2269-5108
0-2269-5119
รองผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานกิจการพิเศษ 0-2269-5102
0-2269-5294
Fax : 0-2249-9903
หน้าห้อง รองผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานกิจการพิเศษ 0-2269-5106
0-2269-5322
รองผู้อำนวยการ การท่าเรือ สายงานบริหาร 0-2269-5101
0-2249-0840
0-2249-4028
Fax : 0-2249-4028
หน้าห้อง รองผู้อำนวยการ การท่าเรือ สายงานบริหาร 0-2269-5105
0-2269-5293
รองผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ 0-2269-5142
0-2249-4049
หน้าห้อง รองผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานการเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ 0-2269-5146
Fax : 0-2269-5454
ส่วนกลาง ชั้น 17 อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ 0-2269-5118
สำนักงานท่าเรือแหลมฉบัง ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง 0-2269-5141
0-2269-5455
Fax : 0-2269-5454
หน้าห้องผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง 0-2269-5151
รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง 0-2269-5148
หน้าห้อง รองผู้อำนวยการ ท่าเรือแหลมฉบัง 0-2269-5154
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานบริหาร 0-2269-5143
0-2269-5323
Fax : 0-2269-5454
หน้าห้อง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานบริหาร 0-2269-5153
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่าเรือฯ สายงานกิจการพิเศษ 0-2269-5145
0-2269-5152
ผู้ตรวจการ 0-2269-5213
ผู้ตรวจการ 0-2269-5261
ที่ปรึกษา 0-2269-5212
นักบริหาร 13 0-2269-5421
0-2269-5422
นักบริหาร 13 0-2269-5305
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 12 0-2269-5389
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 12 0-2269-5239
0-2269-5493
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 11 0-2226-5325


อ้างถึง: http://www.port.co.th/sitenew/contact.php