วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

การประสานงานเพื่อจัดจำหน่าย OTOP ณ ประเทศมาเลเซีย

๑. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การสื่อสารกับผู้ประกอบการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลวิธีในการปฏิบัติงาน คือ สร้างกระแสการรับรู้ ดึงเข้าสู่พวกพ้อง สนองความต้องการ แบ่งปันผลประโยชน์

๒. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน
๒.๑ สร้างกระแสการรับรู้ เป็นการสื่อสารเบื้องต้นของการจัดงานต่าง ๆ จำเป็นต้องให้สาธารณชนได้รับทราบว่างานนั้น ๆ ต้องการเจาะหรือดึงกลุ่มเป้าหมายใดมาร่วมงาน และจะใช้เครื่องมือและช่องทางใดในการสื่อสาร โฆษณาประชาสัมพันธ์
๒.๒ ดึงเข้าสู่พวกพ้อง หลังจากทำความรู้จักสนิทสนมกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็จะทราบทันทีว่า มีกลุ่มเป้าหมายใดที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดงานและนำไปสู่การเป็นเพื่อนร่วมงานในโอกาสต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

๒.๓ สนองความต้องการ
๑) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศมาเลเซีย ต้องการให้หน่วยงานของเขามีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศมาเลเซียมีตลาดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์สินค้า
๒) ผู้รับเหมาจัดงาน (Organize) ต้องการบริการเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดงานและมีรายได้จากการจัดงาน
๓) ผู้ประกอบการทั้งไทยและมาเลเซีย ต้องการรายได้จากการจำหน่ายสินค้า
๔) ลูกค้ามาเลเซีย รู้จักสินค้าของผู้ประกอบการไทยและมาเลเซีย สามารถหาซื้อไปใช้หรือไปจำหน่ายต่อได้

๒.๔ แบ่งปันผลประโยชน์
๑) กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตอบสนองตามความต้องการในข้อ ๒.๓
๒) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน และสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการไทย
๓) เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศมาเลเซีย ได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเอง และสนับสนุนช่องทางการจำหน้ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการมาเลเซีย
๔) ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดตามข้อ ๑) - ๓) ในข้อ ๒.๔ ได้งาน ได้เพื่อน และได้ความรู้/ประสบการณ์

๓. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณและคุณภาพ)  
๓.๑ เชิงปริมาณ ได้แก่
(๑) ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น
(๒) ผู้บริโภคในประเทศมาเลเซียรู้จักผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย มากยิ่งขึ้น
๓.๒ เชิงคุณภาพ คือ
(๑) ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐได้เรียนรู้การจัดจำหน่าย OTOP ในประเทศมาเลเซีย
(๒) มีการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
(๓) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศมาเลเซีย

๔. การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ
๔.๑ หน่วยงานราชการ ได้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในหาช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าจนมีรายได้ รู้ว่าจะพัฒนาผู้ประกอบการและสินค้าอย่างไรให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าในประเทศมาเลเซีย  เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP สร้างรายได้ให้กับชุมชน เกิดการเจรจาการค้าทางธุรกิจ สนับสนุนและพัฒนาให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการตลาด การพัฒนาคุณภาพสินค้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP  ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ
๔.๒ ประชาชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถนำมาพัฒนาสินค้าหรือเพิ่มปริมาณสินค้าของตนเองต่อ มีความรู้จักกับผู้ประกอบการมาเลเซีย อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้า และเกิดการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

๕. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ
การนำสินค้าผ่านแดน ต้องได้รับการตรวจสอบจากด่านศุลกากรไทย และมีการเสียภาษีในบางรายการให้กับด่านศุลกากรมาเลเซีย ซึ่งอาจเสียเวลาเป็นวันเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไทย จำเป็นต้องเหมารถร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และอาจมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียในระหว่างทาง

๖. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ  
๖.๑ การสื่อสารโดยใช้ภาษาที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการไทยกับคนมาเลเซียต้องใช้ภาษามาเลเซีย
๖.๒ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ต่างกัน ผู้ประกอบการไทยต้องรู้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรามาเลเซียริงกิต มิฉะนั้น จะทำให้การขายสินค้าแพงไปหรือขาดทุน
๖.๓ ความต้องการสินค้าไทยของลูกค้ามาเลเซียหรือปัญหารสนิยมในการบริโภค ทำให้สินค้าไทยบางประเภทขายได้น้อย

๗. ข้อเสนอแนะ  
๗.๑ เจ้าหน้าที่ราชการไทย จำเป็นต้องรู้ภาษามาเลเซียหรือภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร และ รู้กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธรมมเนียมปฏิบัติ การนำสินค้าเข้าประเทศเพื่อนบ้าน
๗.๒ ผู้ประกอบไทย จำเป็นต้องรู้ภาษามาเลเซียหรือภาษาอังกฤษเบื้องต้น รู้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รู้ธรรมเนียมปฏิบัติการนำสินค้าเข้าประเทศเพื่อนบ้าน และ สร้างความสัมพันธ์ในชั้นเพื่อนกับผู้ประกอบการมาเลเซีย เพื่อจักได้แลกเปลี่ยนสินค้า หรือส่งสินค้าไปจำหน่ายในอนาคต

๘. การเผยแพร่ผลงาน
๘.๑ การนำเสนอในที่ประชุม
๘.๒ การโพสต์ในโซเซียลมีเดีย
๘.๓ การเป็นวิทยากรบรรยายในที่ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น