วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

การเป็นที่ปรึกษาผู้ประกอบสัมมาชีพ

๑. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ให้กับผู้ประกอบการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักในการวิเคราะห์ คือ ทุน ความรู้ความสามารถ การตลาด การสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การเก็บออมเพื่อการลงทุนซ้ำ


๒. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน
การจะประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง
๑) ทุน คือ เงิน ได้มาจาก เก็บออม กู้/ยืม บริจาค คน/หน่วยงานสนับสนุน หรือ สิ่งที่ไม่ใช่เงิน เช่น แรงงาน สมอง/ความคิด ทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน สวน ไร่ นา พาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ) รวมทั้ง ปัจจัยการผลิต (4M): Man, Money, Material, Machine
๒) ความรู้ความสามารถ (KUASA): Knowledge (ความรู้), Understanding (ความเข้าใจ), Action (ปฏิบัติ), Skill (ทักษะ), Attitude (ทัศนคติ) นำสู่ความรู้คู่คุณธรรม
๓) การตลาด ประกอบด้วย ตลาดออฟไลน์/ตลาดออนไลน์ รวมทั้ง การวิเคราะห์ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดผูกขาด อีกทั้งแยกแยะตลาดเกษตร ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ตลาดแรงงานและบริการ อีกทั้งการวิเคราะห์ Business Centric - Marketing Mix (4Ps): Product Price Place Promotion กับ Customer Centric (4Cs): Customer, Cost, Convenience, Communication 

๔)   การสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Y = C+S) ไม่ว่าจะเป็นเงิน เช่น ธนบัตร เหรียญ เงินอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีธนาคาร ฯลฯ หรือรายได้ที่ไม่ใช่เงิน เช่น ผลิตผล สินค้า สินทรัพย์ ฯลฯ และคิดหรือการหมุนเวียนของเงิน ตามสูตร Irving Fisher คือ MV = PT (Money x Velocity = Price x Transaction)
๕) การเก็บออมเพื่อการลงทุนซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เงินฝาก พันธบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ใช่เงิน เช่น สุขภาพ องค์ความรู้ ทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน สวน ไร่ นา พาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ฯลฯ)

๓. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ๓.๑ เชิงปริมาณ ผู้ประกอบสัมมาชีพ
(๑) เลือกอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ดียิ่งขึ้น
(๒) มีรายได้เพิ่มขึ้น มากยิ่งขึ้น
๓.๒ เชิงคุณภาพ ผู้ประกอบสัมมาชีพ
(๑) ได้เรียนรู้การประกอบสัมมาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(๒) เกิดการพัฒนาอาชีพหลักหรืออาชีพรองอย่างต่อเนื่อง

๔. การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ
๔.๑ หน่วยงานราชการ มีแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ 
๔.๒ ประชาชน โดยเฉพาผู้ประกอบสัมมาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นและเกิดการพัฒนาอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

๕. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ
ต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จริงจากการปฏิบัติ เพราะต้องมีการลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง

๖. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ  
๖.๑ จำนวนผู้ขอรับการปรึกษาที่มีจำนวนมาก
๖.๒ ผู้ประกอบสัมมาชีพที่มีความต้องการประกอบอาชีพที่ตนเองยังไม่มีประสบการณ์ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
๖.๓ การรวบรัดของโครงการบางโครงการ อาจเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจต่อการประกอบสัมมาชีพ

๗. ข้อเสนอแนะ  
๗.๑ ควรสร้างที่ปรึกษาการประกอบสัมมาชีพอาชีพใหม่ ๆ ให้มากขึ้น
๗.๒ การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มก็ควรเลือกผู้ประกอบสัมมาชีพประเภทเดียวกัน
๗.๓ การให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบสัมมาชีพ มีความมั่นใจและรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น

๘. การเผยแพร่ผลงาน
๘.๑ การนำเสนอในที่ประชุม
๘.๒ การโพสต์ในโซเซียลมีเดีย
๘.๓ การเป็นวิทยากรบรรยายในที่ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น