วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

การแก้ปัญหาประชาชนด้วยศาสตร์พระราชา

๑. หลักการและเหตุผล 
ในฐานะผู้ที่ทำงานกับหมู่บ้าน/ชุมชน ได้รับการเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า ปัญหาประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ปัญหา ๔ จ. ได้แก่ จน เจ็บ จ๋อง โจร สามารถอธิบายได้ดังนี้ 
จน คือ ประชาชนยังประสบปัญหาความยากจน รายได้น้อย มีภาระหนี้สิน มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 
เจ็บ คือ ประชาชนยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ทั้งปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ทำให้โรงพยาบาลจะเป็นสถานที่พักแหล่งที่สองของประชาชนนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือบ้านพักคนชราก็จะเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ 
จ๋อง คือ ประชาชนเกิดอาการทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย หากมีคนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ลูกหลานเกเร หรือถูกลูกหลานทอดทิ้งเมื่อยามแก่เฒ่า 
โจร หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม หรือบางคนก็เป็นโจรหรือลักเล็กขโมยน้อย หรือไปติดยา ติดพนัน แม้กระทั่งไม่มีอันจะกิน เลยกลายเป็นโจร 

๒. บทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอ และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข นั่นคือ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน มักพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนและเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน ความทุกข์ของชุมชน เป็นผลกระทบจากการแก้ปัญหา ๔ จ. โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำงานในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานปกครอง/ตำรวจ/ทหาร พัฒนาชุมชน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ สาธารณสุข โรงเรียน และอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใน ๓ รูปแบบ/วิธีการ ได้แก่ 
๑. การปกครองดูแลประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย 
๒. การพัฒนาชุมชน การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใช้วิถีประชาชน 
๓. การสงเคราะห์ เยี่ยวยา การใช้หลักจารีตประเพณี ใช้วิธีการทางสังคมจิตวิทยา 

สิ่งสำคัญที่สุดต้องดึงประชาชนทุกระดับชั้นเข้ามามีส่วนร่วม มาเป็นจิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ และหน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน การดูและผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาประชาชน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ
(๑) การน้อมนำหลักการทรงงานเป็นแนวทางการแก้ปัญหาประชาชน 
(๒) การสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน 
(๓) จิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่กับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน 
(๔) ประชาชนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นทั้งที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ประสานงาน 
(๕) ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้คนเปราะบาง ได้รับการดูแล เอาใจใส่ 

๔. ตัวชี้วัดความสำเร็จ 
๔.๑ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ คือ ความสามารถในการน้อมนำหลักการทรงงานเป็นแนวทางการแก้ปัญหาประชาชน 
๔.๒ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ได้แก่ 
(๑) ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้มแข็งที่เพิ่มขึ้น 
(๒)ร้อยละจิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาชนร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่กับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนที่เพิ่มขึ้น 
(๓) ร้อยละของประชาชนที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นทั้งที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ประสานงาน 
(๔) ร้อยละของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ คนเปราะบาง ได้รับการดูแล เอาใจใส่ ที่เพิ่มขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น