คำว่า “ขนม” ในภาษาไทย เมื่อแปลมาเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องใช้คำหลายคำ เช่น sweets, sweetmeat (ไม่ใช่เนื้อหวานนะคะ) candy, confection, pastry, bread หรืออื่นๆอีกมากมาย
คำว่า sweet หรือ ของหวาน คือขนมที่เป็นชิ้นเป็นอัน เหมือนที่ฝรั่งเรียก tart หรือ apple pie หากเป็นถ้วยๆเรียกว่า trifle หรือ pudding อาจจะเป็นน้ำตาลเคี่ยวปรุงให้มีกลิ่นและรสต่างๆกัน ดังนั้นคำว่า sweet จึงเป็นคำรวมใช้เรียกทั่วๆไป และ อาจเติม s เป็น sweets ใช้สำหรับของหวานหลังอาหาร
แต่หากว่าเป็นการเลี้ยงอาหารอย่างมีพิธีรีตรอง มีรายชื่ออาหารมักเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสจึงเรียกขนมว่า dessert ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส อ่านว่า ดีเซิร์ต แต่ตัว s ออกเสียงเป็นตัว z ห้ามอ่านว่า เดซเซิร์ต เพราะหมายถึง “ทะเลทราย” ในอังกฤษ dessert มักหมายถึง ผลไม้และลูกนัทที่กินหลังอาหาร แต่ในอเมริกาเรียกของหวานหลังอาหารว่า dessert แบบเดียวกับฝรั่งเศส แม้แต่คำว่า candy ซึ่งแปลว่าของหวาน แต่ในอังกฤษหมายถึงน้ำตาลเคลือบแข็งจนเป็นเกล็ด หากพูดว่า candied จะแปลว่า เคี่ยว แต่ฝรั่งหมายถึงฉาบด้วยน้ำตาล เช่นเปลือกมะนาวแช่อิ่ม ฝรั่งก็เรียกว่า candied lemon peel (เปลือก) สำหรับชาวอเมริกัน candy หมายถึงของหวานจำพวกน้ำตาลเคี่ยว มักทำเป็นตังเม มีกลิ่นรสต่างๆกัน เดิมอังกฤษมักใช้คำว่า sweet แต่ต่อมาก็ชักเริ่มใช้แบบอมริกัน ก็เลยเรียกว่า candy ไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีคำว่า sweetmeat ไม่ได้แปลว่าเนื้อหวานแต่อย่างใด แต่หมายถึง ของหวานจำพวกน้ำตาลเคลือบหรือผลไม้ฉาบน้ำตาล คำว่า meatในที่นี้เป็นภาษาอังกฤษแบบเก่า อีกความหมายหนึ่งแปลว่า อาหาร
และยังมีคำว่า confection แปลว่าของหวานได้เช่นกัน แต่หากไปอังกฤษแล้วเห็นป้ายคำว่า confectionery แปลว่า ร้านขายขนม ความจริงขนมขบเคี้ยวสามารถพูดได้หลายอย่าง เช่น bonbon หมายถึง น้ำตาลเคี่ยวหวานๆ acid drops ลูกกวาดเปรี้ยว แล้วก็พวกยาอมที่มีรสชาติต่างๆ ฝรั่งจะเรียกยาพวกนี้ว่า lozenge
ยังค่ะ ยังไม่หมด ยังมีขนมอื่นๆที่เราคุ้นเคยอีก เช่น cookies ที่คนอเมริกันจะเรียกขนมปังชนิดหวาน แต่ถ้าไม่หวานและมักกินกับเนยแข็งเรียกว่า crackie แต่คนอเมริกันไม่เรียกขนมปังกรอบว่า biscuit นอกจากนี้ยังมีพวกผลไม้ที่นำมากวนใส่น้ำตาล ใช้คำว่า preserve แม่บ้านฝรั่งนิยมทำแยม ขนมเหล่านี้มักใส่หีบเรียกว่า tuck box คำว่า tuck หมายถึง ขนมนมเนย ในอังกฤษ ร้านที่ตั้งชื่อว่า tuck shop ก็จะขายขนมนมเนย
นอกจากนี้ยังมี pie และ pudding เพราะถือว่าเป็นของหวานก็ได้ ของคาวก็ได้ บางทีเป็นแท่ง บางทีเป็นก้อน pudding มักจะหมายถึงของกินที่ทำด้วยแป้งผสมกับผักหรือผลไม้หรือเนื้อสัตว์ นำไป นึ่ง ไปต้ม ไปอบ บางทีก็ออกมาในสภาพของเหลว หรือของนิ่มๆ
ส่วนของหวานไทยมีมากมายหลายชนิด จำนวนใกล้เคียงกับขนมหวานฝรั่งเศสเลยทีเดียว จนบางคนคิดว่ามีมากที่สุดในโลก บางทีก็มี 2 ชื่อ หรือหลายชื่อก็มี ดังที่ฝรั่งเรียกกันว่า namesake ในภาษาอังกฤษ คำว่า namesake อาจะหมายถึง 2 อย่างแต่มีชื่อเดียวกัน บางทีมีชื่อโบราณ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอีกชื่อหนึ่ง เช่น ขนมรังไร หรือ ขนมเรไร ขนมขี้หนูหรือขนมทราย ข้าวต้มผัดหรือข้าวต้มมัด
สำหรับเมืองไทย ขนมบางชื่อมักเป็นศิริมงคลแก่งาน ฝรั่งในยุคก่อนก็เหมือนกัน เช่น ชาวยิวมักจะตั้งชื่อขนมเพื่อระลึกถึงการต่อสู้กับธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่ชาวยิวมักจะตั้งชื่อขนมเพื่อระลึกถึงพระเจ้ามากกว่า ขนมไทยเห็นได้ชัดเจนเรื่องชื่อ เช่น ขนมชั้น เป็นขนมที่หมายถึงลำดับชั้นยศของยศฐาบรรดาศักดิ์ คนโบราณนิยมทำถึง 9 ชั้น เพราะถือเคล็ดของเสียงเลข 9 ว่าจะได้ก้าวหน้าในที่การงาน ขนมถ้วยฟูกับขนมปุยฝ้าย ตามชื่อและรูปร่างบอกว่ามีความเฟื่องฟูอยู่ในตัว ขนมเทียนหรือขนมนมสาวหมายถึงว่าจะสว่างไสวรุ่งโรจน์ในชีวิต ขนมข้าวเหนียวแก้วหมายถึงความเหนียวแน่น เป็นปึกแผ่น ยิ่งขนมในตระกูลทอง ดังเช่น ทองเอก ฝอยทอง ทองหยิบ เชื่อว่าจะมีเงินทองไหลมาเทมาไม่รู้จบ เม็ดขนุนก็ตีความว่า จะมีคนมาคอยสนับสนุนค้ำจุน ฝรั่งเรียกเคล็ดชนิดนี้ว่า nominalism หมายถึง เอาชื่อของสิ่งใดก็ตามแล้วเอามความเชื่อทางภาษาเข้าไปเทียบและทำตามความเชื่อนั้นๆ
เอาล่ะ ถ้าจะเรียบเรียงตามที่ท่านผู้เขียนพูดมา มีอีกมาก จะขอฝากคำศัพท์เกี่ยวกับขนมนมเนยที่น่ารู้ไว้ก่อนแล้วกันนะคะ
กระชอน (ใช้กรองกะทิ) - strainer
กระท้อน - Saton
กะทิ - coconut milk
กะทิสำเร็จรูป - ready-made coconut milk
หัวกะทิ – pure coconut cream
หางกะทิ - thin coconut milk
กระยาสารท - Rice, bean, sesame, and sugar cooked into a sticky paste, usually eaten during festival
กล้วยกวน – banana conserve
กล้วยแขก - Deep fried banana
กล้วยแช่อิ่ม - banana in heavy syrup
กล้วยบวดชี – banana in sweet coconut milk
กล้วยฉาบ – sweet banana crisp
กล้วยเชื่อม – banana in syrup
กล้วยตาก – sun-dried banana
กะหรี่ปั๊บใส้ถั่ว – Curry puff with beans stuffing
กาก (หลังจากคั้นน้ำหมดแล้ว) – bagasse
การกวน – simmering and stirring
การเชื่อม – sugar syrup
การร่อนแป้ง – sifting flour
การหมัก – fermentation
ขนมกล้วย – banana streamed pastry
ขนมเข่ง – basket-shaped Chinese pudding
ขนมครก – Mortar-toasted pastry
ขนมจาก – sticky rice with coconut in palm leaf
ขนมจีน – Thai vermicelli eaten with peppery curry
ขนมชั้น – layer pudding
ซาลาเปาไส้หมู – Roasted pork buns
ขนมตาล – steamed palm
ขนมตุ้บตั้บ – Chinese peanut candy
ขนมถ้วย – coconut cake
ขนมถ้วยฟู – Siamese cupcake
ที่มา: http://eng44you.exteen.com/20090827/entry
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น