ข่าวการเมือง วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 13:02น.
เลขาฯ
สมช. "ภราดร พัฒนถาบุตร" ลงนามร่วม BRN และมาเลเซีย
เจรจาสู่สันติภาพแก้ไฟใต้ ลั่น เป็นสัญญาณเชิงบวก ปัด ถกตั้งนครรัฐปัตตานี
ขณะเช้านี้ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางไปมาเลเซีย คุยไฟใต้ ปัญหาชายแดน
เซ็น MOU
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า
ได้ลงนามข้อตกลงเพื่อเปิดการเจรจากระบวนการเพื่อสันติภาพ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย ร่วมกับ ทางการมาเลเซีย และ
สมาชิกในกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) หรือ
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีแล้ว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว
จะมีความชัดเจนในอีก 2-3 สัปดาห์ ในการพัฒนา
เพื่อเริ่มพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ทั้งนี้ ส่วนตัวยังได้นั่งร่วมรับประทานอาหารกับ กลุ่มบีอาร์เอ็น พร้อมทั้งได้จับมือทักทายกัน ซึ่งสัญญาณที่ได้รับก็เป็นสัญญาณเชิงบวก และเป็นการเริ่มต้นของความไว้วางใจในการหาทางออก พร้อมทั้งได้ทำการสอบถามถึงความต้องการของกลุ่ม แต่ยังไม่มีการพูดคุยถึงการจัดตั้งนครรัฐปัตตานี เพราะเป็นเพียงการเริ่มต้นแสดงตน อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังต้องใช้เวลา และเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
"ท่าทีมันน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกนะ คนเรามันได้พูดคุยกัน เดี๋ยวมันจะค่อยพัฒนาความไว้วางใจ คนเราพอมันไว้วางใจ เดี๋ยวมันมีทางออกเอง" นายภราดร กล่าว
นอกจากนี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังกล่าวว่า ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังอยู่ในบรรยากาศที่ดี เพราะทางมาเลเซียก็ไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
นายกฯ บินมาเลย์ คุยไฟใต้ปัญหาชายแดน ปัดตอบBRN
น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียด้วย เพื่อเข้าร่วมประชุมหารือประจำปี ครั้งที่ 5 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย กับ นายราจิบ นาซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ขณะที่พบว่า พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นั้น ได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อนแล้ว โดย นายกฯ กล่าวก่อนเดินทางว่า จะมีการลงนามความตกลง (MOU) ร่วมกันกับมาเลเซีย ทั้งหมด 2 ฉบับ ประกอบด้วย ความร่วมมือว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน และด้านเยาวชนและกีฬา รวมถึงการประกาศเจตนารมณ์สร้างสันติภาพร่วมกัน
จากนั้น นายกฯ เดินเข้าบริเวณสนามบิน โดยปฏิเสธตอบคำถามว่า จะมีการลงนามความตกลงทางการเมือง (Political Agreement) กับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ที่ประเทศมาเลเซีย ด้วยหรือไม่ โดยจะเดินทางกลับในเวลา 23.00 น.
เฉลิมถกม.21มทภ.4นัดอภิสิทธิ์คุยใต้6มีค.
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำหนังสือเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มาหารือ เรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันพุธที่ 6 มีนาคม เวลา 14.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ให้กับเจ้าหน้าที่ในภาคใต้ เนื่องจากมีข้อมูลในเชิงลึกและสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ ก็พร้อมที่จะนำมาปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เวลา 14.00 น. แม่ทัพภาคที่ 4 จะเดินทางมาหารือถึงการใช้ มาตรา 21 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลก็พร้อมที่จะเจรจากับทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังยืนยันว่า ไม่มีการวิ่งเต้นโยกย้ายนายตำรวจ หรือ เรียกรับเงิน เพราะการแต่งตั้งนายตำรวจแต่ละครั้ง ก็จะมีคณะกรรมการพิจารณา
'ปราโมทย์'ระบุทหารทำหน้าที่ปกติแม้ลงนาม
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ประเทศมาเลเซียนั้น ไม่เกี่ยวกับกองทัพ เป็นส่วนของนโยบายรัฐบาล ส่วนจะทำให้เกิดผลดี ผลเสียหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป ทั้งนี้หากกลุ่มคนที่รัฐบาลไปลงนามข้อตกลง สามารถควบคุมระดับปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ก็เป็นเรื่องดี แต่ในส่วนของกองทัพยังต้องทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยต่อไป
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น แม้จะไม่มีการลงนามดังกล่าว ทางกองทัพก็ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติอยู่แล้ว
ที่มา: http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=437455
ทั้งนี้ ส่วนตัวยังได้นั่งร่วมรับประทานอาหารกับ กลุ่มบีอาร์เอ็น พร้อมทั้งได้จับมือทักทายกัน ซึ่งสัญญาณที่ได้รับก็เป็นสัญญาณเชิงบวก และเป็นการเริ่มต้นของความไว้วางใจในการหาทางออก พร้อมทั้งได้ทำการสอบถามถึงความต้องการของกลุ่ม แต่ยังไม่มีการพูดคุยถึงการจัดตั้งนครรัฐปัตตานี เพราะเป็นเพียงการเริ่มต้นแสดงตน อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังต้องใช้เวลา และเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
"ท่าทีมันน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกนะ คนเรามันได้พูดคุยกัน เดี๋ยวมันจะค่อยพัฒนาความไว้วางใจ คนเราพอมันไว้วางใจ เดี๋ยวมันมีทางออกเอง" นายภราดร กล่าว
นอกจากนี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังกล่าวว่า ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังอยู่ในบรรยากาศที่ดี เพราะทางมาเลเซียก็ไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนในการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
นายกฯ บินมาเลย์ คุยไฟใต้ปัญหาชายแดน ปัดตอบBRN
น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียด้วย เพื่อเข้าร่วมประชุมหารือประจำปี ครั้งที่ 5 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย กับ นายราจิบ นาซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ขณะที่พบว่า พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นั้น ได้เดินทางล่วงหน้าไปก่อนแล้ว โดย นายกฯ กล่าวก่อนเดินทางว่า จะมีการลงนามความตกลง (MOU) ร่วมกันกับมาเลเซีย ทั้งหมด 2 ฉบับ ประกอบด้วย ความร่วมมือว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน และด้านเยาวชนและกีฬา รวมถึงการประกาศเจตนารมณ์สร้างสันติภาพร่วมกัน
จากนั้น นายกฯ เดินเข้าบริเวณสนามบิน โดยปฏิเสธตอบคำถามว่า จะมีการลงนามความตกลงทางการเมือง (Political Agreement) กับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนต ที่ประเทศมาเลเซีย ด้วยหรือไม่ โดยจะเดินทางกลับในเวลา 23.00 น.
เฉลิมถกม.21มทภ.4นัดอภิสิทธิ์คุยใต้6มีค.
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำหนังสือเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มาหารือ เรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันพุธที่ 6 มีนาคม เวลา 14.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ให้กับเจ้าหน้าที่ในภาคใต้ เนื่องจากมีข้อมูลในเชิงลึกและสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ ก็พร้อมที่จะนำมาปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เวลา 14.00 น. แม่ทัพภาคที่ 4 จะเดินทางมาหารือถึงการใช้ มาตรา 21 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลก็พร้อมที่จะเจรจากับทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังยืนยันว่า ไม่มีการวิ่งเต้นโยกย้ายนายตำรวจ หรือ เรียกรับเงิน เพราะการแต่งตั้งนายตำรวจแต่ละครั้ง ก็จะมีคณะกรรมการพิจารณา
'ปราโมทย์'ระบุทหารทำหน้าที่ปกติแม้ลงนาม
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ประเทศมาเลเซียนั้น ไม่เกี่ยวกับกองทัพ เป็นส่วนของนโยบายรัฐบาล ส่วนจะทำให้เกิดผลดี ผลเสียหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป ทั้งนี้หากกลุ่มคนที่รัฐบาลไปลงนามข้อตกลง สามารถควบคุมระดับปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ก็เป็นเรื่องดี แต่ในส่วนของกองทัพยังต้องทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยต่อไป
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น แม้จะไม่มีการลงนามดังกล่าว ทางกองทัพก็ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติอยู่แล้ว
ที่มา: http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=437455
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น