กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ ๖ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเป็นชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองของส่วนราชการในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ เพื่อให้ข้าราชการสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนทุกคน ได้พัฒนาสมรรถนะรายบุคคล ในการที่จะพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพาของการทำงาน เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. วิเคราะห์ผลคะแนนการประเมินสมรรถนะบุคลากร รอบที่ ๒ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ (เมษายน-กันยายน ๒๕๕๕)
๒. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ กำหนดกรอบการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
๓. มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นำผลคะแนนการประเมินสมรรถนะของบุคลากร ตามข้อ ๑ มาจัดทำแผนพัฒนารายบุคลล (Individual Development Plan: IDP) โดยกำหนดกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะตนเองไม่น้อยกว่า ๔ วันขึ้นไป หรือ ๒๘ ชั่วโมงขึ้นไป และส่งแผนการพัฒนาบุคคลากรให้จังหวัดภายในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
๔. จัดระบบติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลให้จังหวดทราบ รวม ๒ ครั้ง ่คือ ครั้งที่ ๑ ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และครั้งที่ ๒ ภายในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖
สมรรถนะหลัก
๑) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) จะพัฒนาหรือแสดงออกได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้มีการลองเสี่ยงกระทำการต่าง ๆ ด้วยตนเอง รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ และตรงไปตรงมา เพื่อการปรับปรุง ตลอดจนคำชมเชยที่เป็นประโยชน์
๒) การบริการที่ดี (Service Mind) จะพัฒนาและแสดงออกได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ยกย่อง ชมเชย และปูนบำเหน็จพฤติกรรมที่ใช้ความพยายามเพื่อให้ผู้รับบริการตรงตามความพึงพอใจ แม้จะเป็นในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม รวมทั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมมีการกำหนดเป็าหมายและค่านิยมเรื่องการส่งเสริมให้มีการบริการที่ชัดเจนก็จะสนับสนุนให้แสดงสมรรถนะนี้ด้วย
๓) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Mastery/Expertise) จะพัฒนาได้ด้วยหน่วยงานที่เน้นการเรียนรู้ (Learning Organization) และสนับสนุนการค้นหาและศึกษาข้อมูล องค์ความรู้ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากภายนอก
๔) การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity) จะเกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เน้นความถูกต้องระหว่างพฤติกรรมและค่านิยม นอกจากนี้ การยึดมั่นใรความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม จะถูกพัฒนาภายในหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับเรื่องวิถีการกระทำและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของผู้รับบริการหรือบุคลากรภายในหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน
๕) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) จากประสบการณ์ของความรู้สึกในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากสถานภาพของกลุ่ม และเกิดความเชื่อใจที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมีสภาพแวดล้อมที่บุคคลรู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกหรือมีส่วนร่วมสมรรถนะการทำงานเป็นทีมนี้ จะแสดงได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีการติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา ไว้เนื้อเชื่อใจ และมีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ดู เอกสารรายงาน
คำถามที่ 1 ในการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (IDP) รอบการประเมินที่ 1 จะต้องบันทึกข้อมูลในโปรแกรม IDP ออนไลน์หรือไม่
ตอบ ในการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล รอบการประเมินที่ 1 ไม่ต้องบันทึกในโปรแกรม IDP ออนไลน์ เหมือนในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีการปรับเกณฑ์การวัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ทำให้มีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโปรแกรม IDP ออนไลน์ใหม่ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การวัดผล จึงขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จ สถาบันการพัฒนาชุมชน จะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป
คำถามที่ 2 ในการวางแผนพัฒนาตนเองในแบบรายงานแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) กรณีไมได้จัดทำในระบบอิเล็คทรอนิกส์ ใช้ข้อมูลจากไหนเป็นฐานในการวางแผนพัฒนาตนเอง?
ตอบ ให้นำข้อมูลผลการประเมินสมรรถนะรอบที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (เมษายน-กันยายน 2555) เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนพัฒนาตนเอง
คำถามที่ 3 ผู้ที่มีผลการประเมินสมรรถนะรอบที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของตำแหน่ง หรือระดับที่คาดหวังแล้วจะต้องทำแผนพัฒนาตนเองหรือไม่
ตอบ ต้องทำแผนพัฒนาตนเองทุกคน โดยต้องวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลและดำเนินการตามแผนพัฒนาตนเองรวมแล้วไม่น้อยกว่า 8 วันต่อคนต่อปี หรือ 56 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
เนื่องจากการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร เป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จงานทีม (KPIs) ของหัวหน้าหน่วยงานกรมการพัฒนาชุมชนทุกตำแหน่งที่จะต้องรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่ามีการกำหนดให้มีตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร” เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินผลการดำเนินงานตามคำรับรองของหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชนทุกคน โดยการประเมินรอบที่ 1 (ตั้งแต่ตุลาคม 2555-มีนาคม 2556) หัวหน้าหน่วยงานจะได้คะแนนระดับ 5 จะต้องมีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย “ร้อยละ80 ของบุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตนเองตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป หรือ 28 ชั่วโมงขึ้นไป”
คำถามข้อ 4 ตามแบบฟอร์มแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (IDP) กรณีไม่ได้จัดทำในระบบอิเล็คทรอนิกส์ ในช่อง “เป้าหมายในการพัฒนา” จะระบุรายละเอียดอย่างไร
ตอบ การวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล เป็นการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 5 สมรรถนะหลัก (Core Competency) ซึ่งในแต่ละสมรรถนะ ผู้จัดทำแผนหากผลการประเมินตนเองในรอบการประเมินที่ 2 ปี 2555 ไม่มีสมรรถนะต่ำกว่าสมรรถนะที่คาดหวัง จึงไม่มีช่องว่าง (Gap) ติดลบ ดังนั้น ขอให้เลือกสมรรถนะที่ตนเองต้องการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับช่อง “เป้าหมายในการพัฒนา” ให้ผู้จัดทำแผน IDP ระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป้าหมายความสำเร็จที่ต้องการคืออะไร ตัวอย่างเช่น ต้องการพัฒนาเองให้มีสมรรถนะด้านการบริการที่ดี (Service Mind) จากระดับ 1 เป็นระดับ 2 พร้อมระบุรายละเอียดในเชิงพฤติกรรมในระดับที่ 2 ที่ต้องการพัฒนาตนเองให้มีลักษณะเชิงพฤติกรรมในระดับนั้นๆ (ผู้จัดทำแผนควรนำคู่มือพจนานุกรมสมรรถนะมาใช้ประกอบการจัดทำรายละเอียด) ซึ่งในส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับวิธีการพัฒนา ซึ่งที่กรมฯ กำหนดไว้มี 3 รูปแบบ คือ การฝึกอบรม, พัฒนาด้วยตนเอง และเรียนรู้จากการทำงาน
กล่าวได้ว่า รายละเอียดในช่อง “เป้าหมายในการพัฒนา” “วิธีการพัฒนา” และ “ผลการพัฒนา” จึงมีความสัมพันธ์กัน
คำถามข้อ 5 ในแบบฟอร์มช่อง “ผลการพัฒนา” จะต้องกรอกข้อมูลอย่างไร
ตอบ วิธีการกรอกข้อมูลในช่อง “ผลการพัฒนา” เป็นการจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่แสดงผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาตนเองตาม “วิธีการพัฒนา” ว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตาม “เป้าหมายในการพัฒนา” ตามแบบฟอร์มในส่วนต้นหรือไม่ ซึ่งจะต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน ก่อนที่จะกรอกข้อมูลตัวเลขสมรรถนะลงในช่อง “ผลการประเมินสมรรถนะ” เพื่อแสดงผลการพัฒนาตนเองในเชิงปริมาณ
คำถามข้อที่ 6 มีขั้นตอน/วิธีการอย่างไรในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนในการจัดทำแผน IDP ของข้าราชการแต่ละคนในหน่วยงาน
ตอบ ขั้นตอน/วิธีการตรวจสอบ
1. ตรวจสอบข้อมูลการประเมินสมรรถนะในรอบที่ 2 ปี 2555 ของแต่ละบุคคลกับข้อมูลตามแบบฟอร์มในช่อง “ระดับที่คาดหวัง” และ “ผลการประเมิน” ตรงกันหรือไม่
2. ดูรายละเอียดในช่อง “เป้าหมายการพัฒนา” ว่ามีความสอดคล้องและชัดเจนหรือไม่ เพราะข้อมูลในส่วนนี้ จะนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาตนเองในช่อง “วิธีการพัฒนา”
3. ให้พิจารณา “วิธีการพัฒนา” ในแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลทั้งหมด มีชั่วโมง หรือวันเท่ากับหรือมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ โดยให้วางแผนพัฒนาตนเองทั้งปีงบประมาณ ให้มีชั่วโมง หรือวันไม่ต่ำกว่า 8 วัน/คน/ปี หรือ 56 ชั่วโมง/คน/ปี โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
1) ในกรณีการพัฒนาด้วยตนเองให้ระบุรายละเอียดกิจกรรมการพัฒนาตนเอง เช่น ชื่อหนังสือที่อ่าน,ชื่อภาพยนตร์, ชื่อหัวข้อ การคำนวณระยะเวลาการพัฒนาตนเองในกรณีนี้มีดังนี้ (1) การเรียนผ่านระบบ E-learning 1 บทเรียน คิดเป็นระยะเวลา 3 ชม.
2) ในกรณีการฝึกอบรม ให้ระบุชื่อหลักสูตรการฝึกอบรม และชื่อหน่วยงาน โดยให้ถือการฝึกอบรม 1 วัน คิดเป็นระยะเวลา 7 ชม.
3) ในกรณีเรียนรู้จากการทำงาน (ศึกษาดูงาน, กิจกรรมกลุ่ม, หมุนเวียนงาน, มอบหมายงาน, การรับคำปรึกษา, สอนแนะ, ฝึกอบรมในงาน) ให้ระบุรายละเอียดและชั่วโมงกิจกรรมการพัฒนานั้นๆ ให้ชัดเจน (ส่วนนี้สำหรับผู้บังคับบัญชาใช้ในการวางแผนพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น ไม่นับชั่วโมงในการพัฒนาตนเอง)
4. เมื่อถึงสิ้นรอบการประเมินที่ 1 (ณ 31 มีนาคม 2556) ให้นับระยะเวลารวมในการพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคลจะต้องไม่น้อยกว่า 4 วัน หรือ 28 ชม./คน/6 เดือนแรก
5. ในช่อง “ผลการพัฒนา” ซึ่งอยู่ส่วนท้ายของแบบฟอร์ม ในช่อง “ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาตนเอง” ให้พิจารณารายละเอียดว่าสอดคล้องกับ “เป้าหมายในการพัฒนา” และ “วิธีการพัฒนา” หรือไม่
ในส่วนของ “ผลการประเมินสมรรถนะ” ให้กรอกตัวเลข “ระดับสมรรถนะ” ที่สอดคล้องกับผลที่เกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลใน พจนานุกรมสมรรถนะ เป็นคู่มือประกอบการพิจารณา
สำนักงานพัฒาชุมชนอำเภอสุคิริน
การปฏิบัติงานเป็นทีม
๑. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ ๑ ร้อยละความสำเร็จของ การเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับ การจัดสรรจากจังหวัด พร้อมการรายงานบันทึก BPM
ระดับ ๑ เบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม แผนคิดเป็นร้อยละ ๘๐
ระดับ ๒ เบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม แผนคิดเป็นร้อยละ ๘๕
ระดับ ๓ เบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม แผนคิดเป็นร้อยละ ๙๐
ระดับ ๔ เบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม แผนคิดเป็นร้อยละ ๙๕
ระดับ ๕ เบิกจ่ายงบประมาณได้ตาม แผนคิดเป็นร้อยละมากกว่า ๙๕
ค่าเป้าหมาย ๕=ท้าทาย น้ำหนักร้อยละ ๒๐
๒. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชึ้วัดที่ ๒ การเผยแพร่งาน พัฒนาชุมชนสู่สาธารณะ (เอกสารภาพข่าวและ หลักฐานเชิงประจักษ์ของข่าวที่ปรากฏในเว็บไซด์ OA วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ)
จำนวน ๑๐ ข่าว
จำนวน ๑๕ ข่าว
จำนวน ๒๐ ข่าว
จำนวน ๒๕ ข่าว
จำนวน ๓๐ ข่าว
ค่าเป้าหมาย ๕=ท้าทาย น้ำหนักร้อยละ ๑๕
๓. เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน
ตัวชี้วัดที่ ๓ การรายงาน ศูนย์ข้อมูลกลางกรมการพัฒนาชุมชน ถูกต้องครบถ้วน จำนวน ๑๐ รายงาน ดังนี้ ข้อมูล รง.01 31 มี.ค 56 ข้อมูล รง.02 31 มี.ค 56 ข้อมูล รง.05 31 ธ.ค, 31 มี.ค 56 ข้อมูลกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 31 มี.ค 56 ข้อมูลโครงการ กข.คจ 31 มี.ค 56 ข้อมูล กทบ. 31 มี.ค 56 ศูนย์การเรียนรู้ 31 มี.ค 56 ข้อมูลแผนชุมชน 4 งวด ธค, มี.ค 56 ข้อมูลผู้นำ อช. ธ.ค, มี.ค 56 ข้อมูลจำหน่าย OTOP ทุกเดือน
ระดับ 1 จำนวน 2 รายงาน
ระดับ 2 จำนวน 4 รายงาน
ระดับ 3 จำนวน 6 รายงาน
ระดับ 4 จำนวน 8 รายงาน
ระดับ 5 จำนวน 10 รายงาน
ค่าเป้าหมาย 5=ท้าทาย น้ำหนักร้อยละ 15 - -
๔. เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน
ตัวชี้วัดที่ ๔ การบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลจปฐ. ปี ๒๕๕๖ (เอกสารหลักฐานหรือภาพ ถ่ายกิจกรรมของแต่ละระดับ) ระดับ ๑ นำเรื่องแจ้งในที่ประชุม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีคำสั่งคณะทำงาน บริหารการจัดเก็บข้อมูล ระดับ อำเภอ/ตำบล มีแผนปฏิบัติการระดับ อำเภอ/ตำบล
ระดับ ๒ มีรายชื่อแต่งตั้งอาสา สมัครผู้จัดเก็บ ผู้บันทีกข้อมูล รายชื่อครัวเรือนที่ผู้จัดเก็บรับผิดชอบ มีรายงานการประชุม คณะทำงานระดับอำเภอ/ตำบล การประชุมอาสาสมัคร/ผู้จัดเก็บ ผู้บันทึก พร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
ระดับ ๓ นำเสนอผลการจัดเก็บ ข้อมูล จปฐ. ในที่ประชุม ระดับตำบล/เวทีตำบล (พร้อมภาพถ่าย)
ระดับ ๔ ตำบลส่งข้อมูล จปฐ. พร้อมคำรับรองหมายเลข 1 ให้อำเภอ
ระดับ ๕ อำเภอประมวลผลตรวจสอบ ข้อมูล จปฐ. และประชุมคณะทำงาน รับรองข้อมูล พร้อมคำรับรองหมายเลข 2 ส่งให้จังหวัด ภายใน 31 มีนาคม 2556 (พร้อมภาพถ่าย)
ค่าเป้าหมาย 5=ท้าทาย น้ำหนักร้อยละ 15 - -
๕.เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ ๕ ระดับความสำเร็จของ การจัดส่งรายงาน
ระดับ ๑ ส่งรายงานทันตามกำหนด ร้อยละ ๒๕
ระดับ ๒ ส่งรายงานทันตามกำหนด ร้อยละ ๔๐
ระดับ ๓ ส่งรายงานทันตามกำหนด ร้อยละ ๖๐
ระดับ ๔ ส่งรายงานทันตามกำหนด ร้อยละ ๘๐
ระดับ 5 ส่งรายงานทันตามกำหนด ร้อยละ ๑๐๐
ค่าเป้าหมาย 5=ท้าทาย น้ำหนักร้อยละ 15 - -
๖. ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ตัวชี้วัดที่ ๖ ร้อยละการเพิ่มขึ้น ของรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP (จำนวน ๕๐% ตามเป้าหมายที่จังหวัดจัดสรรให้)
ระดับ ๑ ร้อยละ ๘๕ ของการจำหน่ายสินค้า OTOP
ระดับ ๒ ร้อยละ ๙๐ ของการจำหน่ายสินค้า OTOP
ระดับ ๓ ร้อยละ ๙๕ ของการจำหน่ายสินค้า OTOP
ระดับ ๔ ร้อยละ ๑๐๐ ของการจำหน่ายสินค้า OTOP
ระดับ ๕ มากกวาร้อยละ ๑๐๐ ของการจำหน่ายสินค้า OTOP
ค่าเป้าหมาย 3=ค่ามาตรฐาน น้ำหนักร้อยละ 15 - -
การปฏิบัติงานพัฒนาการอำเภอ
๑. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ 1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตร์ย์ (แนบภาพกิจกรรมการเข้า ร่วมหรือคำรับรองของ ผู้บังคับบัญชา)
จำนวน ๑ ครั้ง
จำนวน ๒ ครั้ง
จำนวน ๓ ครั้ง
จำนวน ๔ ครั้ง
มากกว่า ๔ ครั้ง
5=ท้าทาย 10 - -
๒. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ 2 การประชุมสร้าง ความเข้าใจทีมงานอำเภอ (สำเนารายงานการประชุม ตามจำนวนครั้ง)
จำนวน ๒ ครั้ง
จำนวน ๓ ครั้ง
จำนวน ๔ ครั้ง
จำนวน ๕ ครั้ง
มากกว่า ๕ ครั้ง
5=ท้าทาย 15 - -
๓. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชีวัดที่ 3 การกำหนดจุดยืน ทางยุทธศาสตร์ (positioning) ของหน่วย
ระดับ ๑ ทบทวนยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
ระดับ ๒ การวิเคราะห์ SWOT แก่เจ้าหน้าที่
ระดับ ๓ วิเคราะห์การดำเนินงาน
ระดับ ๔ กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (positioning ) โครงการ/กิจกรรม
ระดับ ๕ มีเอกสารยุทธศาสตร์เป็นรูปเล่ม
5=ท้าทาย 15 - -
เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ ๔ ระดับความสำเร็จ ของการพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากร
ระดับ ๑ มีการวิเคราะห์ผลคะแนนการประเมินของบุคลากรโดยใช้การประเมินสมรรถนะรอบ ๒ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ และกำหนดแนวทางพัฒนาสมรรถนะใน หน่วยงาน
ระดับ ๒ มีการชี้แจง สร้างความรู้ความเข้าใจมีแผนการปฏิบัติการและมอบหมายความรับผิดชอบการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ระดับ ๓ ร้อยละ ๑๐๐ ของบุคลากรในหน่วยงานมีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลโดยกำหนดกิจกรรมการพัฒนาตนเองไม่น้อยกว่า ๘ วัน หรือ ๕๖ ชั่วโมง
ระดับ ๔ ร้อยละ ๘๐ ปฏิบัติตามแผนและดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ ๑-๔ วัน หรือ ๗-๒๘ ชั่วโมง
ระดับ ๕ ร้อยละ ๑๐๐ ปฏิบัติตามแผนและดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ ๔ วันขึ้นไป หรือ ๒๘ ชั่วโมง 5=ท้าทาย 20 - -
เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ ๕ ระดับความสำเร็จของการบริหารสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ 1. ผังโครงสร้างสำนักงาน 2. แผน ผล การปฏิบัติงานประจำเดือน 3. สนง. มีสภาพแวดล้อมที่ดี 4. อุปกรณ์ โสตณูปกรณ์ มีพร้อมและใช้งานได้ 5. มีป้ายประชาสัมพันธ์ 6. มีทะเบียนผู้มาขอใช้บริการ 7. มีการปรับเวปไซด์ สพอ.เป็นปัจจุบัน 8. อื่น ๆ ระดับ ๑ มีกิจกรรม ๓ กิจกรรม
ระดับ ๒ มีกิจกรรม ๔ กิจกรรม
ระดับ ๓ มีกิจกรรม ๕ กิจกรรม
ระดับ ๔ มีกิจกรรม ๖ กิจกรรม
ระดับ ๕ มีกิจกรรมมากกว่า ๖ กิจกรรม
5=ท้าทาย 15 - -
งานตามนโยบาย/ภารกิจจังหวัด/ภารกิจอำเภอ
ตัวชี้วัดที่ ๖ ขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์กรมฯ ได้แก่ -ชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข - การบริหารชุมชน -เศรษฐกิจสร้างสรรค์ - ทุนชุมชนและ ธรรมาภิบาล และอื่น ๆ
ระดับ ๑ การศึกษาข้อมูล
ระดับ ๒ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ
ระดับ ๓ การจัดทำโครงการและโครงการได้รับอนุมัติ
ระดับ ๔ การดำเนินงานตามโครงการ
ระดับ ๕ รายงานผลผ่านเว็ปไซด์หรือ จัดทำรูปเล่มและ บันทึก BPM ส่งจังหวัด
5=ท้าทาย 25 - -
การปฏิบัติงานพัฒนากร
๑. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ 1 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตร์ย์ (แนบภาพกิจกรรมการเข้า ร่วมหรือคำรับรองของ ผู้บังคับบัญชา)
จำนวน ๑ ครั้ง
จำนวน ๒ ครั้ง
จำนวน ๓ ครั้ง
จำนวน ๔ ครั้ง
มากกว่า ๔ ครั้ง
5=ท้าทาย 15 - -
๒. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ 2 การดำเนินงานแผนปฏิบัติงาน (แนบเอกสารหลักฐานในแต่ละระดับ และภาพกิจกรรมครบตามจำนวนกิจกรรมเน้นลักษณะเชิงคุณภาพ)
ระดับ ๑ ส่งแผนปฏิบัติงาน อย่างน้อย ๔ เดือน
ระดับ ๒ ผลการดำเนินงาน ตามแผนสนองยุทธศาสตร์กรมฯจำนวน ๒ กิจกรรม
ระดับ ๓ ผลการดำเนินงาน ตามแผนสนองยุทธศาสตร์กรมฯ จำนวน ๔ กิจกรรม
ระดับ ๔ ผลการดำเนินงาน ตามแผนสนองยุทธศาสตร์กรมฯ จำนวน ๖ กิจกรรม
ระดับ ๕ ผลการดำเนินงาน ตามแผนสนองยุทธศาสตร์กรมฯมากกว่า ๖ กิจกรรม
5=ท้าทาย 15 - -
๓. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ระดับ ๑ มีการวิเคราะห์ผลคะแนนการประเมินของตนเองโดยใช้การประเมิน สมรรถนะรอบ ๒ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕
ระดับ 2 มีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลโดยกำหนดกิจกรรมการพัฒนาตนเองไม่น้อยกว่า ๘วัน หรือ ๕๖ ชั่วโมง
ระดับ 3 ปฏิบัติตามแผน และดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ ๑-๔ วัน หรือ ๗-๒๘ ชั่วโมง
ระดับ 4 ปฏิบัติตามแผน และดำเนินกิจกรรมพัฒนาตนเอง ตั้งแต่ ๔ วันขึ้นไป หรือ ๒๘ ชั่วโมง
ระดับ 5 รายงานผลส่งอำเภอ/จังหวัด (เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
5=ท้าทาย 25 - -
๔. เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน
ตัวชี้วัดที่ ๔ การบริหารการจัดเก็บข้อมูลจปฐ. และกชช.2 ค ปี ๒๕๕๖ (เอกสารหลักฐานหรือภาพถ่ายกิจกรรมของแต่ละระดับ)
ระดับ ๑ นำเรื่องแจ้งผู้ใหญ่บ้านในการประชุมกรรมการหมู่บ้าน
ระดับ ๒ มีคำสั่งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล ระดับตำบล มีแผนปฏิบัติการระดับตำบล
ระดับ ๓ มีรายชื่อแต่งตั้งอาสาสมัครผู้จัดเก็บ ผู้บันทีกข้อมูลรายชื่อครัวเรือนที่ผู้จัดเก็บรับผิดชอบ
ระดับ ๔ มีรายงานการประชุมคณะทำงานระดับตำบล การประชุมอาสาสมัคร/ผู้จัดเก็บผู้บันทึก พร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
ระดับ ๕ นำเสนอผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. และ กชช.2 ค ในที่ประชุมระดับตำบล/เวทีตำบล (พร้อมภาพถ่าย) 5=ท้าทาย 25 - -
๕. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
ตัวชี้วัดที่ ๕ จำนวนเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา เช่น โครงการยุทธศาสตร์กรมฯ/5 จชต./ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด/ศอ.บต.
ระดับ ๑ จำนวน ๕ กิจกรรม
ระดับ ๒ จำนวน ๗ กิจกรรม
ระดับ ๓ จำนวน ๙ กิจกรรม
ระดับ ๔ จำนวน ๑๑ กิจกรรม
ระดับ ๕ มากกว่า ๑๑ กิจกรรม
5=ท้าทาย 20 - -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น