เลขาฯ
สมช. ลงนามร่วม บีอาร์เอ็น และ มาเลเซีย เจรจาสู่สันติภาพแก้ไฟใต้ ลั่น
เป็นสัญญาณเชิงบวก ปัด ถกตั้งนครรัฐปัตตานี ขณะที่นายกรัฐมนตรี เผย
มาเลเซีย พร้อมตัวกลางช่วยไทยเจรจา เผย อยากให้การแก้ไฟใต้
เป็นวาระของชาติ ทุกฝ่ายร่วมแก้ ระบุ "พ.ต.ท.ทักษิณ"
ต้องการให้เกิดความสงบสุข
ภายหลัง
หารือทวิภาคีระหว่างไทยกับมาเลเซีย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงข่าวร่วมกับ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ว่า
ไทยได้ชี้แจงถึงการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน
โดยใช้แนวทางการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งฝ่ายไทยยินดีที่จะร่วมหารือกับทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
และมีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ภายใต้ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาภาคใต้ และภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย
โดย
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ได้แสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือไทยในการดำเนินความสะดวก
เพื่อให้เกิดการพูดคุย
เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่จะนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน
โดยหน่วยงานความมั่นคงของไทย และมาเลเซีย จะมีการประสานงานกันในการทำงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ไทยและมาเลเซีย
ได้เรียกร้องขอให้มีการยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์
เพื่อสร้างความไว้ใจระหว่างกัน
ด้าน นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย แสดงความยินดีต่อการลงนามความร่วมมือระหว่างสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ของ
ไทยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น
ว่าจะมีส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในอาเซียน
พร้อมให้ความร่วมมือและเป็นตัวกลางในการประสานให้เกิดการพูดคุยระหว่างเจ้า
หน้าที่ฝ่ายไทยและกลุ่มต่าง ๆ
เพื่อให้สันติภาพเกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
และยอมรับว่าในการพูดคุยครั้งนี้
เกิดขึ้นได้จากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี
พร้อมด้วยคณะได้ร่วมหารือเต็มคณะกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
พร้อมกับแถลงข่าวหลังการหารือเสร็จสิ้น
ซึ่งกรอบการหารือได้มีการหารือในด้านความร่วมมือด้านการแก้ไขสถานการณ์
จังหวัดชายแดนภาคใต้การเร่งรัดเชื่อมโยงแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน
ระหว่างจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับรัฐทางเหนือและตะวันออกของมาเลเซีย
การก่อสร้างเขตเศรษฐกิจชายแดนพิเศษที่ด่านสะเดา-บูกิตกายูฮิตัม
รวมถึงโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก 2 แห่ง
เชื่อมโยงตากใบกับเปิงกาลันกุโบร์ และสุไหงโก-ลก กับรันเตาปันยัง
เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทย และมาเลเซีย
การส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน
ระหว่างภาคเอกชนในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ ในด้านน้ำมันและก๊าซ
พลังงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้ายางพารา
รวมถึงการจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-มาเลเซีย
ส่งเสริมความร่วมมือด้านฮาลาลที่มีศักยภาพ
โดยให้ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งสมาคมธุรกิจฮาลาล ระหว่างไทย-มาเลเซีย
ส่งเสริมความร่วมมือด้านคลื่นความถี่วิทยุในพื้นที่ชายแดน
โดยร่วมมือในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุในพื้นที่ชายแดนมาเลเซีย-ไทย
ให้สอดคล้องกับการออกอากาศในระบบดิจิตอลและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความ
เร็วสูงเคลื่อนที่
พร้อมกันนี้ ทั้งสองประเทศ
ได้มีความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดน
ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางข้ามแดนระหว่างประชาชนในพื้นที่ของทั้ง
สองประเทศ
และร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเยาวชนและกีฬา
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและเจตนารมณ์ที่ดีของทั่งสองประเทศ
ในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นายกฯยันลงนามBRNนำสันติสุข
น.ส.ยิ่ง
ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงย้ำถึงการร่วมลงนาม
การแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อเข้าสู่กระบวนการพูดคุยของผู้ซึ่งมีความคิด
เห็นและอุดมการณ์แตกต่างเพื่อสร้างสันติภาพในภาคใต้ของไทย หรือ BRN
ของเลขาธิการ สมช. ว่า เป็นความร่วมมือด้านผลประโยชน์ที่จะสร้างสันติสุข
ความสงบให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้
รวมไปถึงการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้
ในกระบวนการพูดคุยจะเปิดกว้างให้ทุกฝ่าย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข
และก็ถือเป็นการเริ่มเข้าสู่สันติภาพ
นายกรัฐมนตรี ยังยืนยันว่า
กระบวนการแก้ปัญหาเป็นไปตามยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความไม่สงบเป็นไปตามนโยบาย
ที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาในข้อ 8
และย้ำว่ากระบวนการพูดคุยทุกอย่างจะอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญไทย
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวขอบคุณ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
ในการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่ง นายกรัฐมนตรี
นาจิบได้ยืนยันเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
การแบ่งแยกดินแดนและการใช้กำลังอาวุธเข้ามาแก้ปัญหา นายกรัฐมนตรี
ยังมั่นใจแนวทางการเริ่มต้นกระบวนการพูดคุย ที่นำมาแก้ไขปัญหาครั้งนี้
ที่นำเอากระแสพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนามาใช้
แต่สิ่งที่เริ่มต้นในวันนี้คือ กระบวนการพูดคุยยังไม่ใช่การเจรจา
ส่วน
กรณีที่มีชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหานั้น
อยากให้มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการให้ความสงบสุข
สันติภาพเกิดขึ้นในประเทศ และเชื่อว่าคนไทยทุกคนนั้น
อยากให้ความสงบสุขเกิดขึ้นเช่นกัน
ดังนั้นอยากให้เรื่องนี้เป็นวาระของชาติที่ทุกคน ทุกฝ่ายจะมาร่วมกันแก้ไข
'ภราดร'ลงนามBRN เจรจาสู่สันติภาพแก้ใต้มาเลย์ตัวกลาง
พล.ท.ภราดร
พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เปิดเผยกับ สำนักข่าว
ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ได้ลงนามข้อตกลงเพื่อเปิดการเจรจากระบวนการเพื่อสันติภาพ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย ร่วมกับ ทางการมาเลเซีย และ
สมาชิกในกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) หรือ
ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานีแล้ว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว
จะมีความชัดเจนในอีก 2-3 สัปดาห์ ในการพัฒนา
เพื่อเริ่มพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ทั้งนี้
ส่วนตัวยังได้นั่งร่วมรับประทานอาหารกับ กลุ่มบีอาร์เอ็น
พร้อมทั้งได้จับมือทักทายกัน ซึ่งสัญญาณที่ได้รับก็เป็นสัญญาณเชิงบวก
และเป็นการเริ่มต้นของความไว้วางใจในการหาทางออก
พร้อมทั้งได้ทำการสอบถามถึงความต้องการของกลุ่ม
แต่ยังไม่มีการพูดคุยถึงการจัดตั้งนครรัฐปัตตานี
เพราะเป็นเพียงการเริ่มต้นแสดงตน อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังต้องใช้เวลา
และเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
"ท่าทีมันน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกนะ
คนเรามันได้พูดคุยกัน เดี๋ยวมันจะค่อยพัฒนาความไว้วางใจ คนเราพอมันไว้วางใจ
เดี๋ยวมันมีทางออกเอง" นายภราดร กล่าว
นอกจากนี้
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ยังกล่าวว่า
ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังอยู่ในบรรยากาศที่ดี
เพราะทางมาเลเซียก็ไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนในการเข้าสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
เฉลิมถกม.21มทภ.4นัดอภิสิทธิ์คุยใต้6มี.ค.
ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ทำหนังสือเชิญ นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา
พรรคประชาธิปัตย์ มาหารือ เรื่องการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในวันพุธที่ 6 มีนาคม เวลา 14.00 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ให้กับเจ้าหน้าที่ในภาคใต้
เนื่องจากมีข้อมูลในเชิงลึกและสิ่งใดที่เป็นประโยชน์
ก็พร้อมที่จะนำมาปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เวลา 14.00 น.
แม่ทัพภาคที่ 4 จะเดินทางมาหารือถึงการใช้ มาตรา 21
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรัฐบาลก็พร้อมที่จะเจรจากับทุกกลุ่ม
นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังยืนยันว่า ไม่มีการวิ่งเต้นโยกย้ายนายตำรวจ หรือ
เรียกรับเงิน เพราะการแต่งตั้งนายตำรวจแต่ละครั้ง ก็จะมีคณะกรรมการพิจารณา
'ปราโมทย์'ระบุทหารทำหน้าที่ปกติแม้ลงนาม
พ.อ.ปราโมทย์
พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
(กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) กล่าวว่า
การลงนามข้อตกลงระหว่างฝ่ายรัฐบาลและแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น
ที่ประเทศมาเลเซียนั้น ไม่เกี่ยวกับกองทัพ เป็นส่วนของนโยบายรัฐบาล
ส่วนจะทำให้เกิดผลดี ผลเสียหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป
ทั้งนี้หากกลุ่มคนที่รัฐบาลไปลงนามข้อตกลง
สามารถควบคุมระดับปฏิบัติการในพื้นที่ได้ ก็เป็นเรื่องดี
แต่ในส่วนของกองทัพยังต้องทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยต่อไป
สำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้น แม้จะไม่มีการลงนามดังกล่าว ทางกองทัพก็ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติอยู่แล้ว
ที่มา:
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=437536