การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลา หรือขึ้นอยู่กับเวลา เพราะฉะนั้น การเปลีี่ยนแปลง คือ การทีี่สิิ่งใดสิิ่งหนึึ่งได้้แปรสภาพจากทีี่เคยเป็น็นอยู่ม่มาเป็น็นสภาพใหม่ โดยเป็น็นความแตกต่าง ทีี่เกิดขึึ้นต่อ่อเนืื่องกัน และมีองค์ป์ประกอบของ เวลา เป็น็นเครืื่องกำาหนดการเปลีี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) Rogers (1969 : 3) กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างและหน้าที่ในระบบสังคมMoore (1968 : 366)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโครงสร้างทางสังคม ในที่นี้คือ การเปลี่ยนแปลงแบบแผน การกระทำทางสังคม และการกระทำระหว่างกันทางสังคม รวมถึงผลที่เกิดขึ้นและการแสดงออกของโครงสร้างทางสังคมนั้นๆ ที่เกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยม ผลผลิต และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
การเปลีี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural Change) Allen (1971 : 38-40) การเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาและรูปแบบที่สร้างขึ้น และส่งผ่านกันต่อมาของค่านิยม ความคิด ความเชื่อ และระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่
เป็นปัจจัยในการขัดเกลาพฤติกรรมของมนุษย์ และสิ่งของที่ประดิษฐ์ขึ้น เรียกอีกอย่างว่า การเปลี่ยนแปลงใน “วิถีชีวิต” (Way of life) ผ่องพันธุ์ (2521 : 14) เป็นการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตชาวบ้าน หรือจารีต
ประเพณี กฎหมาย ศาสนา สิ่งประดิษฐ์ และวัตถุอื่นๆ ในวิถีชีวิตของคน โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคม ทั้งนี้ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนซึ่งเป็น
สมาชิกในสังคมนั้น
การเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Change)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม มองที่โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคมที่เปลี่ยนไป ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มองที่วิถีชีวิต ระเบียบแบบแผน และระบบความคิดที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการศึกษาเรื่องของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเรื่องเดียวกัน แต่มองกันคนละแง่ โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญในเชิง
วิเคราะห์ในรายละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อปรากฏการณ์และพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมมากขึ้น
การวิเคราะห์ก์การเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
จำานวนของการเปลีี่ยนแปลง เป็นการเน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนั้นว่าสำคัญมากหรือน้อย และดูปริมาณการเปลี่ยนแปลงว่ามีมาก หรือน้อย เป็นการวัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ระยะเวลาของการเปลีี่ยนแปลง พิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นไปอย่างช้าๆ หรือฉับพลัน
อัตราของการเปลีี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณที่มีการเปรียบเทียบจากระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร
ทิศทางของการเปลีี่ยนแปลง พิจารณาจากจุดมุ่งหมายที่ปรารถนา ซึ่งเมื่อเวลาเปลี่ยนไปได้บรรลุเป้าหมายมากหรือน้อย
ระดับของการเปลีี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคมต่างๆ เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นเสมอ เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาท การใช้ภาษา เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคม ซึ่งเกิดจากการสะสมการเปลี่ยนแปลงในระดับจุลภาค เช่น การเปลี่ยนรูปแบบความเป็นอยู่ง่ายๆ ไปเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
ธรรมชาติของการเปลีี่ยนแปลง พิจารณาได้ 3 แบบ คือ .....
การเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีผลต่อความรู้สึกหรือวิถีชีวิตของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งต้องใช้เวลานาน
การเปลี่ยนแปลงแบบพัฒนา เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนโดยตั้งใจที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามแผนการดำเนินการที่แน่นอน
การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันจากระบบสังคมหนึ่งไปสู่สังคมอีกระบบหนึ่ง
มิติของการเปลีี่ยนแปลง สามารถพิจารณาได้ 3 มิติ คือ ....
มิติเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ที่เน้นโครงสร้างทางสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีลักษณะเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เช่น สถานภาพและบทบาท การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐาน และค่านิยม
มิติเกี่ยวกับวัฒนธรรม เป็นการเน้นที่วัฒนธรรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อย หรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถมองได้ 3 แบบ คือ การรับสิ่งใหม่ (Innovation) การกระจายวัฒนธรรม (Diffusion) และ
การบูรณารวมหน่วย (Integration)
มิติเกี่ยวกับการกระทำระหว่างกัน เป็นการพิจารณาการกระทำระหว่างกันทางสังคมว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
กระบวนการเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมือง (Urbanization)
การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย (Modernization)
การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization)
การเปลี่ยนไปสู่ระเบียบบริหารแบบราชการ (Bureaucratization)
มีกระบวนการต่างๆ เกิดขึ้น ได้แก่......
การเปลีี่ยนไปสู่วามเป็น็นเมือง เป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ได้มาอยู่รวมกันเป็นชุมชนจน กลายเป็นเมือง เกี่ยวข้องกับการกระจายอิทธิพลของสังคมเมืองไปสู่ สังคมชนบทในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอาชีพ และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรม มาเป็นสังคมอุตสาหกรรม และการยอมรับลักษณะวิถีชีวิตความอยู่แบบเมืองมากขึ้น
กระบวนการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองในประเทศกำลังพัฒนา มีลักษณะดังนี้ ....
1) การพัฒนาการบริการและอาชีพที่ให้บริการต่างๆ เพิ่มขึ้น มากกว่าการการพัฒนาอุตสาหกรรม
2) การย้ายถิ่นของชาวชนบทเข้าสู่เมืองเป็นจำนวนมาก และ สาเหตุย้ายถิ่นมาจากปัจจัยผลักดันจากชนบทมากว่าปัจจัยดึงดูดในเขตเมือง
3) เมืองที่ชาวชนบทย้ายถิ่นเข้าไปนั้นจะกลายเป็น “เอกนคร” (Primate City) คือ เมืองที่ใหญ่โตกว่าเมืองที่มีขนาดรองลงไปอย่างมาก
การเปลีี่ยนไปสู่ความทันสมัย เป็นแนวคิดที่เริ่มใช้กันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศทั้งหลายต่างพยายามพัฒนาตนเองให้มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) โดยเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง ที่เปลี่ยนจากสภาพดั้งเดิมไปสู่ลักษณะที่มีความ
ทันสมัยมากขึ้น ดังเช่นประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง คือ “ การพัฒนา ” Smelser (1963) การเปลี่ยนสู่ความทันสมัยของประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน ประกอบด้วย ....
ด้านเทคโนโลยี การใช้เทคนิคง่ายๆ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ด้านเกษตรกรรม การทำเกษตรเพื่อยังชีพ การทำการเกษตรเพื่อการค้า
ด้านอุตสาหกรรม การใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์ การใช้เครื่องจักรเครื่องกล
ด้านนิเวศวิทยา การตั้งถิ่นฐานในชนบท/พื้นที่เพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานในเมือง
นอกจากนี้ Hoogvelt (1978 : 61) ได้สรุปลักษณะหรือสิ่งที่บ่งชี้การเคลื่อนไหวที่นำไปสู่ความทันสมัยในสังคมของประเทศกำลังพัฒนา มีด้วยกัน 11 ลักษณะที่เกิดขึ้น ดังนี้ ......
1) การเกิดขึ้นของเมือง
2) การเพิ่มขึ้นของอัตราการรู้หนังสือและการให้การฝึกอบรมวิชาชีพ
3) การขยายตัวของหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ
4) การปกครองแบบประชาธิปไตย
5) การค้าเสรี
6) การคิดแบบมีเหตุผล
7) การเคลื่อนไหวทางสังคมในอัตราที่สูง
8) ความหลากหลายในโครงสร้างอาชีพ
9) การเกิดขึ้นของการรวมกลุ่มแบบสมัครใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สมาคม สหพันธ์ ฯลฯ
10) จำนวนครอบครัวเดี่ยวที่มากขึ้น
11) ระบบความยุติธรรมที่เป็นอิสระมากขึ้น
การเปลีี่ยนไปสูค่ค่ วามเป็น็นอุตสาหกรรม กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี หรือด้านเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนการผลิตภายในสังคมให้ให้ทั่วถึง จึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจภายในสังคม เป็นกระบวนการทำลายระบบศักดินา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ระบบทุนนิยมที่สำคัญ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเป็นแบบสังคมเมือง
พื้นฐานของการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรมในสังคมหนึ่งๆ จะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้....
การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวัตถุ เพื่อช่วยจัดการกับทรัพยากร และนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์มากที่สุดและประหยัดที่สุด
การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร
การพัฒนาการจัดระเบียบทางสังคม ลักษณะของการแบ่งงานกันทำ มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ความเป็นอยู่ในสังคมมีลักษณะเป็นทางการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง เพื่อกำหนดระเบียบต่างๆ
เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมและอื่นๆ และความมั่นคงของรัฐบาล
การพัฒนาค่านิยมแบบทุนนิยม ประชาชนมักมีค่านิยมในการลงทุน กล้าเสี่ยง ทำงานหนัก
การเปลีี่ยนไปสู่ร่ระเบียบบริหารระบบราชการ กระบวนการจัดระเบียบทางสังคมอย่างมีเหตุผล เพื่อที่จะปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จ และตรงเป้าหมาย
การเปลี่ยนไปสู่ระเบียบบริหารระบบราชการมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมือง และการเปลี่ยนไปสู่ความอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีรูปแบบของการ
บริหารและการติดต่อที่มีกฎเกณฑ์หรือกฎหมายอย่างมีเหตุผล รวมถึง การจัดระเบียบภายในองค์กร
ทั้งนี้ กระบวนการทั้ง 4 ที่เกิดขึ้นจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กันอย่างมาก และเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบได้ทั่วไปในสังคม
ของประเทศกำลังพัฒนา โดยเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้าน
ต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ......
การเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ ( Economic transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจของชุมชน โดยเฉพาะระบบการผลิตหลักของชุมชน จากการผลิตเพื่อการ
ยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าและการส่งออก ซึ่งมีกลไกระบบตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยน แปลงโครงสร้างทางสังคม จากสภาพสังคมประเพณีดั้งเดิม (Traditional society) ไปสู่ลักษณะสังคมสมัยใหม่ (Modern
society) เพื่อความเจริญและความทัดเทียมกันของสมาชิกในสังคม เช่น บริการทางการศึกษา การสาธารณะสุข ที่อยู่อาศัย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในสังคม รวมถึงจารีต ประเพณี กฎหมาย สิ่งประดิษฐ์
และวัตถุอื่น ๆ เหล่านี้ถือเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น