วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.    โครงสร้างภาคใต้
1.1    ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด มีประชาชนรวม 8.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.3 ของประเทศ พื้นที่ 70,700 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางทะเล เช่น การประมง และแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีลมมรสุมพัดผ่านและมีฝนตกตลอดปี ทำให้พื้นที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก ผัก ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ตลอดจนมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
1.2    ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่
1)      ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร และระนอง มีพื้นที่เชื่อมต่อกับอำเภอบางสะพาน ตอนใต้ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีระนองเป็นประตูการค้า การลงทุน ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านสหภาพพม่า บังกลาเทศ และอินเดียด้านตะวันออก
2)      ภาคใต้ตอนกลาง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่  ตรัง และพัทลุง โดยมีภูเก็ต พังงา กระบี่ และเกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับโลก ในขณะที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุงเป็นพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร
3)      5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส  เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของภาคใต้และของประเทศ โดยมีวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นแตกต่างจากจังหวัดอื่นและมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม กับประเทศเพื่อนบ้าน
1.3    ระยะที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทั้ง 3 กลุ่มพื้นที่ มีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่
ยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ


2.   พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.1  สภาพทางกายภาพ
Ÿ  จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 20,800 ตารางกิโลเมตร (13 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของพื้นที่ภาคใต้ และร้อยละ 4.1 ของพื้นที่ประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่เกษตร ประมาณ 6.9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 52.9 ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม และพื้นที่อื่นๆ ร้อยละ 47.1
Ÿ  ที่ตั้งของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ห่างไกลกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศเฉลี่ยประมาณ 1,000 กม. ซึ่งไกลกว่าภาคอื่นๆ และมีผลกระทบต่อแรงกระตุ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
2.2  โครงสร้างเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
Ÿ  โครงสร้างการผลิตในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีฐานแคบ พึ่งพาผลผลิตด้านการเกษตรไม่กี่ชนิด เช่น ยางพารา น้ำมันปาล์ม และประมง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ปี 2542 ประมาณ 158,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของประเทศและมีสัดส่วนการผลิตในภาคเกษตรสูงถึงร้อยละ41 ของ GPP สัดส่วนในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือร้อยละ 49 เป็นการผลิตในภาคบริการที่มีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการค้าบริการ
Ÿ  ระบบคมนาคมขนส่งสายหลักและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เขตเศรษฐกิจหลัก  ค่อนข้างพร้อม โดยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนแม่บท แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบคมนาคมและสาธารณูปโภค สาธารณูปการสายรองเพิ่มเติม ให้กระจายสู่ฐานการผลิตและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
Ÿ  ด้านการกระจายรายได้ ประชากรในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีรายได้เฉลี่ย 47,995 บาทต่อคนต่อปี ต่ำกว่ารายได้ต่อหัวเฉลี่ยทั้งประเทศ (74,675 บาท/คน/ปี)และรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของภาคใต้ (51,284บาท/คน/ปี) นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาด้านการกระจายรายได้ โดยสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัด มีประชากรมากที่สุดมีรายได้เฉลี่ยสูงสุด 59,000 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่นราธิวาสมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 29,000 บาท ต่อคนต่อปี ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของมุกดาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพชรบูรณ์ น่านและพะเยาในภาคเหนือ
2.3  การลงทุนภาคอุตสาหกรรม
Ÿ  ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูงในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางหาดใหญ่-สะเดา โดยมีจำนวนโครงการลงทุนที่ขอส่งเสริมการลงทุนโดยเฉลี่ยปีละ 40-50 โครงการ เงินลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
Ÿ  การกระจายตัวของการลงทุนไปยังอีก 4 จังหวัดชายแดนได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ไม่มากนัก อุตสาหกรรมที่ลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ได้แก่
อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรประเภทผลิตภัณฑ์ประมง อาหาร ยางพารา และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นต้น
2.4  สภาพสังคม
Ÿ  ประชากรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชากร 3.27 ล้านคนเป็นประชากรมุสลิม   ร้อยละ 62 และหากพิจารณาเฉพาะประชากรใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ไม่นับรวมสงขลา) จะมีประชากรมุสลิมถึงร้อยละ 82 ซึ่งมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามศาสนบัญญัติของมุสลิม ซึ่งมีผลต่อแนวคิดด้านการศึกษา การประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่
3      ประเด็นท้าทายที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
3.1    โดยที่โครงสร้างการผลิตของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีฐานแคบพึ่งพาผลผลิตด้านการเกษตรไม่กี่ชนิดโดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และประมง ซึ่งเกือบทุกชนิดมีปัญหาด้านเสถียรภาพของราคา จึงทำให้เกษตรกรที่มีถึงร้อยละ 53 ของประชากรใน 5 จังหวัด มีฐานะยากจน ประกอบกับการมีที่ตั้งอยู่ห่างไกลกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ
ทำให้แรงกระตุ้นการพัฒนา โดยใช้สาขาเศรษฐกิจอื่นจากส่วนกลางสนับสนุน ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นการพัฒนาที่ผ่านมาจึงจำเป็นต้องใช้ศักยภาพและทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลัก
3.2    ความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างจังหวัดสงขลากับ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างกลุ่มคนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยกลุ่มคนใน  ภาคเกษตร มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 37,000 บาท/คน/ปี ในขณะที่กลุ่มคนนอกภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยปีละ 62,000 บาท/คน/ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่ยากจน ได้แก่ นราธิวาสและยะลา เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพียง 19,000 บาท/คน/ปี
3.3    ความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างพื้นที่ฝั่งไทยกับพื้นที่ในรัฐภาคเหนือของ
มาเลเซีย ทั้งด้านรายได้เฉลี่ยของประชากรและบริการโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า นอกจากนี้
รัฐบาลมาเลเซียยังได้ประกาศนโยบายพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ติดต่อชายแดนไทย
 ได้แก่ โครงการ Friendship city ที่ Kota Persahabatan ตรงข้ามกับปาดังเบซาร์ เมือง
อุตสาหกรรมโกตาเปอร์ดานา ที่บูกิตกายูฮิตัม ตรงข้ามสะเดา และเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรขนาดใหญ่ที่ บูรงดูเรียน-ตรงข้ามกับบ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา
3.4    ภาพลักษณ์ความไม่สงบเรียบร้อยและปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาสู่พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.    ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
•        จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตั้งอยู่ไกลจากกรุงมหานครมาก และนับเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีโอกาสโดยมีที่ตั้งอยู่ติดกับมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในขั้นดี ที่จะพัฒนาความร่วมมือและนำศักยภาพของมาเลเซียมากระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
•        นอกจากนี้ โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีฐานการผลิตแคบ จึง จำเป็นต้องเร่งพัฒนาฐานการผลิตให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ทันทีภายใต้ “ยุทธศาตร์การเชื่อมโยงเศรษฐกิจเพื่อนบ้านมากระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ประกอบด้วย 3
ยุทธศาสตร์ ดังนี้
4.1  ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่กับประเทศเพื่อนบ้าน
ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการลงทุนเฉลี่ยปีละ ประมาณ 5,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณเกือบร้อยละ 50 เป็นการลงทุนที่มีนักลงทุนมาเลเซียร่วมอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบในประเทศไทยและ/หรือใช้แรงงานไทย ดังนั้นเพื่อดึงดูดและจูงใจให้เกิดความร่วมมือการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ระหว่าง
นักลงทุนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจ      ปีนัง-สงขลา ให้เป็นเส้นเลือดหลักด้านการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงด้านพลังงานกับมาเลเซีย และนานาชาติ โดยใช้ หาดใหญ่เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจการค้าเชื่อมโยงและกระจายสู่เมืองอื่นๆ ในพื้นที่ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งองค์ประกอบการพัฒนาประกอบด้วย
1)                  พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา-ปาดังเบซาร์ ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้งด้านการค้า การคมนาคมขนส่งและเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่ไม่มีมลพิษ โดยให้สิทธิประโยชน์จูงใจภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายศุลกากร
(เขตปลอดอากร) พรบ. การนิคมอุตสาหกรรม (เขตการค้าเสรี) พรบ.กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน และพรบ.การผังเมือง
2)                  ปรับปรุงขีดความสามารถท่าเรือสงขลา ทั้งด้านการรองรับปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นและการบริหารจัดการให้สามารถดึงดูดการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก เชื่อมโยงกับท่าเรือปีนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในระยะยาว เมื่อมีปริมาณสินค้ามากเพียงพอจึงพิจารณาก่อสร้างท่าเรือบุโบยที่จังหวัดสตูลเพื่อเชื่อมโยงให้เป็นสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูลต่อไป


3)                  ปรับปรุงนิคมอุตสาหกรรมที่ฉลุงและเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือประมงปัตตานี ให้สามารถรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็น Cluster เช่น อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร อุตสาหกรรมอาหาร     ฮาลาลที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่และเชื่อมโยงกับมาเลเซีย
4)                  ส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมระหว่างไทย-มาเลเซีย         และประเทศที่ 3 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงการหาข้อยุติเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ JDA โดยเร่งด่วน
5)                  กำหนดมาตราการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด    ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจปีนัง-สงขลา-ปัตตานี โดยประสานมาตรการทางกฎหมายเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายใต้ พรบ.สิ่งแวดล้อม พรบ.ควบคุมมลพิษ พรบ.กรมโรงงานอุตสาหกรรม พรบ.ผังเมือง พรบ.ส่งเสริมการลงทุน และพรบ.การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.2    ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยที่ปัจจุบันการค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านบาท ผ่านด่านชายแดนหลัก ได้แก่ สะเดา ปาดังเบซาร์ เบตง สุไหงโก-ลก ตากใบ โดยเฉพาะด่านสะเดา และ
ปาดังเบซาร์ ซึ่งมีปริมาณการค้าผ่านแดนสูง ถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าชายแดนในพื้นที่ 5 จังหวัดทั้งหมด และปริมาณการค้าดังกล่าว มีผลต่อรายได้และการจ้างงานในพื้นที่ จึงควรกำหนดแนวทางส่งเสริมการขยายตัวด้านการค้าชายแดน ดังนี้
1)      พัฒนาตลาดชายแดนและเมืองชายแดน สะเดา ปาดังเบซาร์ เบตง สุไหงโก-ลกและตากใบให้เป็นเมืองการค้าชายแดนที่ทันสมัย มีการจัดระเบียบตลาด คลังสินค้า และระบบการขนส่งที่ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานีพัก
สินค้า และการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ซื้อมาเลเซียและผู้ส่งออกฝั่งไทยกับผู้ผลิตในส่วนต่างๆของประเทศไทย
2)      สร้างฐานการผลิตสินค้าขึ้นภายในพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยส่งเสริมภาคเอกชนให้ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดมาเลเซียและสิงคโปร์ทดแทนสินค้าที่ขนส่งจากพื้นที่อื่น โดยเฉพาะนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล โดยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ การเชื่อมโยงระบบตลาดท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดสายหลัก เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และเกิดการจ้างงานในพื้นที่


4.3    ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2544 จำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวมาเลเซีย 1.7 ล้านคน รองลงมาเป็นชาวสิงคโปร์ ประมาณ 0.2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวเมืองชายแดน ได้แก่ เมืองหาดใหญ่ เบตง สุไหงโก-ลก อย่างไรก็ดี พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายที่มีศักยภาพพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติได้ ซึ่งบางพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้เป็นจุดขายด้านการตลาดร่วมกับแหล่งท่องเที่ยวของตนเองด้วย จึงมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1)    พัฒนาหมู่เกาะตะรุเตา อาดัง-ราวี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพเชิงนิเวศน์วิทยาระดับโลก โดยให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายเชื่อมโยงชายฝั่งสตูลและแหล่ง
ท่องเที่ยวเกาะลังกาวีของมาเลเซียและสุมาตราของอินโดนีเซีย โดยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น การปรับปรุงขยายท่าเรือชายฝั่งตำมะลังที่สตูล การแก้ไขด้านบริการท่าเรือท่องเที่ยวที่ปากปารา (สตูล) การจัดการเชิงพื้นที่และเชื่อมโยงเศรษฐกิจ
ชุมชนกับธุรกิจการท่องเที่ยว
2)      พัฒนาโครงข่ายวงจรธุรกิจการท่องเที่ยว โดยปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีเทศกาล เช่น การสักการะเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ปัตตานี
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา พรุโต๊ะแดงที่นราธิวาสและแหล่งท่องเที่ยวเมืองชายแดนต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนความร่วมมือด้านการ
ท่องเที่ยวภายใต้โครงการ IMT-GT เพื่อพัฒนาวงจรธุรกิจท่องเที่ยวระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่       ปีนัง-หาดใหญ่-ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ทางบก) ปีนัง-ลังกาวี-ตะรุเตา-กระบี่-ภูเก็ต-เมดาน (ทางเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่) เป็นต้น
3)      ส่งเสริมบทบาทชุมชนและองค์กรชุมชน  สนับสนุนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การบำรุงรักษา และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านให้มี      คุณภาพเชื่อมโยงกับธุรกิจท่องเที่ยว
5.    มาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานควบคู่กับยุทธศาสตร์
จากประเด็นท้าทายและปัญหาพื้นฐานด้านความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ยังคงมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กับการดำเนินตามยุทธศาสตร์ ดังนี้ 

5.1  การขยายฐานผลิตด้านการเกษตรให้หลากหลายเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูปและตลาดในระยะยาว
(1)    เร่งดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้และการสร้างเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร ให้สามารถรองรับความผันผวนระยะสั้นของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต (Productivity) ศึกษาความต้องการของตลาด และการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูป เน้นดำเนินการใน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
ยางพารา    Ÿ    พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง ประมาณ 3 ล้านไร่ : เพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) โดยวิจัยปรับปรุงพันธุ์ บำรุงต้น และ ส่งเสริมการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น น้ำยาง ยางแท่ง ยางแผ่น ถุงมือยาง เฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง
    Ÿ    พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยาง ประมาณ 1 ล้านไร่ : ดำเนินการโดยลดพื้นที่ปลูกและส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่น เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือปศุสัตว์ที่มีรายได้เท่ากันหรือสูงกว่า
    Ÿ    ร่วมมือกับมิตรประเทศ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย  โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อยกระดับและรักษาเสถียรภาพราคายางพารา
ปาล์มน้ำมัน    Ÿ    ส่งเสริมการปลูก และวิจัยพัฒนาอย่างเป็นระบบ ในลักษณะไร่-     โรงงาน ทั้งด้านเมล็ดพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก การสกัดน้ำมัน และ
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการนำกากที่เหลือไปแปรรูปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขอบพรุที่เกษตรกรยากจนทำกินอยู่แล้ว
ไม้ผล/ไม้ยืนต้น    Ÿ    ส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมและการปลูกทดแทนยาง โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยรัฐสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อ การแปรรูปอาหาร ระบบการเก็บรักษาให้คงคุณภาพ จนถึงการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลาล
ประมง    Ÿ    กำหนดพื้นที่อนุรักษ์  ให้ชัดเจนโดยแบ่งเขตประมงเชิงพาณิชย์
เขตประมงพื้นบ้าน และเขตเพาะเลี้ยงชายฝั่ง และให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
    Ÿ    การปรับปรุงท่าเทียบเรือของรัฐและระบบการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ประมง เพื่อช่วยยกระดับราคาผลิตภัณฑ์ประมงให้แก่ประมงรายย่อย ในฤดูที่จับปลาได้มาก
ปศุสัตว์/สัตว์ปีก    Ÿ    พัฒนาปศุสัตว์ ได้แก่ โค แพะ แกะ และสัตว์ปีก อย่างเป็นระบบ        ที่เชื่อมโยงเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลและขายผลิตภัณฑ์สดสู่ตลาดมุสลิม โดยเฉพาะเทคโนโลยีการเลี้ยง ขบวนการผลิต โรงงานอาหารสัตว์ การวิจัยทดลองปลูกพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และต้นทุน
(2)    ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับภาคเกษตร
 เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเภท ได้แก่ 
(2.1)    อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล มีแนวทางดำเนินการดังนี้
1)    สนับสนุนการจัดตั้งกลไกการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลที่
มีเอกภาพ และสามารถตรวจสอบรับรองมาตรฐานตามบทบัญญัติของหลักศาสนาอิสลาม ได้อย่างเป็นอิสระภายใต้องค์กรศาสนา คือ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนในระยะเริ่มแรก จนกลไกสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง
2)    การเปิดตลาดใหม่ ในโลกมุสลิมทั้งประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และเอเซียด้านตะวันตก
3)    การพัฒนาปัตตานีให้เป็นศูนย์อาหารฮาลาลของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบ 2 แนวทางคือ
Ÿ    ปรับปรุงพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและท่าเรือประมงปัตตานี โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และบริหารจัดการบริเวณท่าเรือประมงปัตตานีให้เข้ามาตรฐานสากลตลอดจนการควบ คุมกำกับดูแลการจัดการด้านน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานก่อน ปล่อยส่งสู่อ่าวปัตตานี
Ÿ    จัดหาพื้นที่เขตอุตสาหกรรมใหม่ ปัจจุบันเขตอุตสาหกรรมปัตตานี
มีพื้นที่เหลือเพียง 20 ไร่ ไม่เพียงพอสำหรับรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต จึงควรประกาศเชิญชวนเอกชนให้ลงทุนจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลา ลเพิ่มขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


(2.2)    อุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราและแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยปรับปรุงเขตนิคมอุตสาหกรรมฉลุงที่มีความพร้อมของพื้นที่และสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ประมาณ 1,100 ไร่ ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราครบวงจร รวมทั้งการคลังสินค้า และสถานีขนส่งของภาคใต้
(3)    การพัฒนากลไกตลาด ปัจจุบันการค้าชายแดนบริเวณสะเดาและสุไหงโก-ลก มีปัญหาด้านขาดระบบการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เกษตรที่ถูกต้อง และขาดการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับตลาดทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังขาดระบบบริหารจัดการตลาดที่สามารถต่อรองกับพ่อค้ามาเลเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ถูกเอา  รัดเอาเปรียบและกดราคาอย่างไม่ธรรม จึงควรเร่งรัดโครงการพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าชายแดนที่สะเดา และสุไหงโก-ลกเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
5.2    การพัฒนาด้านสังคม เน้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องใน 2 เรื่อง คือ
(1)   การเตรียมความพร้อมของคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษาโดยจัดหลักสูตรวิชาสามัญให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตามหลักศาสนาอิสลามตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงระดับกลาง โดยสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ครอบคลุมทุกตำบลและการเร่งปรับ ปรุงหลักสูตรผสมผสานระหว่างวิชาสามัญกับวิชาตามหลักศาสนาให้ทั่วถึง เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีโอกาสศึกษาต่อ และประกอบอาชีพได้ทัดเทียมกับนักศึกษาทั่วไป
(2)   การผลิตและการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพมาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมกับสถาบันประกอบการ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเร่งรัดดำเนินการตามแผนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานบริหารนานาชาติที่สงขลา เพื่อการแลกเปลี่ยนความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงานกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียภายใต้โครงการ IMT-GT
5.3    การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นในพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรง 2 พื้นที่ คือ
(1)    พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
        ปัจจุบันมีปัญหาความเสื่อมโทรมและตื้นเขินของพื้นทะเลสาปและร่องน้ำ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทำการประมงระเกะระกะขาดการจัดระเบียบเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ จึงควรเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเชิงนิเวศน์วิทยาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำ จัดระเบียบการทำการประมงให้การสัญจรทางเรือมีความสะดวกขึ้น และพัฒนาหมู่บ้านริมทะเลสาบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

(2)    พื้นที่อ่าวปัตตานีและชายฝั่ง
ปัจจุบันอ่าวปัตตานีกำลังประสบปัญหาด้านระบบนิเวศน์วิทยาทั้งน้ำเสียจากชุมชนและ
อุตสาหกรรม และจากการทำอวนรุน อวนลาก ในพื้นที่ทะเลใน (ในอ่าวปัตตานี) และพื้นที่ทะเลนอก (บริเวณชายฝั่งด้านอ่าวไทย) โดยเฉพาะเมื่อมีการรุกล้ำทำประมงอวนรุน อวนลากเข้ามาในเขต 3,000 เมตร ส่งผลกระทบต่อชาวประมงขนาดเล็ก จึงควรเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการอ่าวปัตตานี การก่อสร้างระบบกำจัดน้ำเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรม และการกำหนดมาตรการที่เคร่งครัดในการจัดทำ Zoning ในพื้นที่ 12 ไมล์ทะเลเพื่อกำหนดเขตการทำประมงประเภทต่างๆ โดยเฉพาะเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนรุนและให้กำหนดมาตรการบังคับใช้
กฏหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและชาวประมงพาณิชย์ที่ใช้อวนรุน
  
ที่มา: http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&ved=0CEMQFjAD&url=http%3A%2F%2Fregion.nesdb.go.th%2FSESO%2Fresearch_south%2Fdata01.doc&ei=r_tZUsbIBYuCrgeRhIDgCw&usg=AFQjCNHbTw_m8fi3WAc2HDzMxB46rqZYxw&bvm=bv.53899372,d.bmk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น