วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักฐานใหม่ประวัติศาสตร์ความรุ่งเรืองเมืองท่าปาตานี



นักวิจัยประวัติศาสตร์พบหลักฐานใหม่ปาตานีร่วมมือยะโฮร์ช่วยฮอลันดาโจมตี โปรตุเกส จุดประเด็นข้อถกเถียงเรื่องกฎหมายสงครามในโลกตะวันตกต้นศตวรรษที่ 17

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานี จัดการเสวนาทางวิชาการเรื่อง เปิดคลัง VOC ที่ กรุงเฮก หลักฐานใหม่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ปาตานี โดยมี ดร.ปิยดา ชลวร นักวิจัยประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำเสนอผลงานการวิจัย


ดร.ปิยดา กล่าวถึงการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ครั้งนี้ว่าเป็นการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับปาตานีในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ที่เก็บรักษาในหอจดหมายเหตุที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบันทึกรายงานการประชุมและบันทึกทางการค้าของบริษัท Dutch East India Company (VOC) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1602
ดร.ปิย ดา กล่าวว่าพบเอกสารทางประวัติศาสตร์ปาตานีเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีใครศึกษาโดย เฉพาะเอกสารที่เป็นภาษาดัตช์ที่มีรายงานถึงกิจการทางการค้าของพ่อค้าชาว ฮอลันดาที่มาค้าขายในปาตานีในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ที่มีรายงานถึงสภาพบ้านเมือง ผู้คน สินค้าต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความรุงเรืองของปาตานีในช่วงเวลาดังกล่าว

จากการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์พบว่าในปี 1602 ได้มีนายพล Jacob Van Neck ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวฮอลันดาของบริษัท Zeeland Company เดิน ทางเพื่อซื้อสินค้าจากจีนที่มาเก๊า แต่เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำการค้าได้ จึงได้เดินทางมายังปาตานีเพราะรู้มาว่าที่ปาตานีมีสินค้าจีนจำนวนมากที่ สามารถหาซื้อได้

เมื่อเดินทางมาถึงปาตานี เขาไม่กล้าเข้าเมืองทันทีเพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาความขัดแย้งเช่นที่เกิด ขึ้นที่มาเก๊า จึงได้ส่งลูกน้องไปเข้าพบราชินีฮีเยาที่ปกครองเมืองปาตานีในขณะนั้น เมื่อทราบว่าชาวปาตานีเป็นเมืองที่รักสันติ ไม่มีอันตราย จึงเข้ามาเปิดโกดังสินค้าที่ปาตานีเพื่อซื้อสินค้าจีนและพริกไทย ซึ่งในปาตานีมีพ่อค้าชาวโปรตุเกส ญี่ปุ่นและจีนทำการค้าอยู่แล้ว แวนเนกอยู่ทำการค้าเกือบหนึ่งปีจึงได้ย้ายไปยังเมืองบันตัม

ในบันทึกทางการค้า แวนเนกรายงานว่าแผ่นดินปาตานีปกครองโดยราชินีที่มีอายุประมาณ 50 ปี มีข้าราชบริพารเป็นสตรีจำนวนมากและเป็นคนเก็บตัว ซึ่งประชาชนใต้ปกครองต่างมีความสุขภายใต้การปกครองของราชินี ทั้งนี้ก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากปาตานี แวนเนกได้เข้าพบราชินีซึ่งพระนางได้มอบกริชเป็นของขวัญและขอให้แวนเนกทิ้ง ลูกน้องคนดีๆ ไว้ที่ปาตานีพร้อมกับขอให้ช่วยเหลือเรือสินค้าของปาตานีที่ถูกศัตรูรุกราน ด้วย

ในระหว่างนั้นได้มีบริษัทฮอลันดาอีกบริษัทหนึ่งคือ Zeeland Company เข้า มาทำการค้าในปาตานีเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าของแวนเนก อย่างไรก็ตาม แม้เป็นคู่แข่งกันแต่ทั้งสองบริษัทฮอลันดาต่างช่วยกันในเรื่องการค้า

ช่วงเดียวกัน ในเดือนสิงหาคม 1602 ได้มีพ่อค้าชาวฮอลันดาอีกคนหนึ่งคือ Jacob van Heemskerek พร้อม เรือสินค้าสองลำจากชวาเหนือเข้ามาทำการค้าในปาตานีเพื่อหาซื้อพริกไทย ซึ่งเขาได้สร้างโกดังสินค้าที่นี่เช่นกัน โดยเอกสารประวัติศาสตร์รายงานว่าเขาค่อนข้างผิดหวังเนื่องจากสินค้าที่ต้อง การได้ถูกพ่อค้าคนอื่นๆ ซื้อไปก่อนทำให้ได้ของที่ไม่ดีนัก ทั้งนี้เขาได้รับคำแนะนำจากแวนเนกให้กรองพริกไทยเพื่อเป็นการคัดคุณภาพ สินค้า
“ปาตานีเป็นที่เดียวที่มีบริษัทฮอลันดา 3 แห่ง มีโกดังสินค้า 3 ที่ในเวลาเดียวกัน มีเรือสินค้าอยู่ 8 ลำ คนเหล่านี้เข้ามาซื้อสินค้าของปาตานีหรือสินค้าของจีนเพื่อไปขายในจีนบ้าง ที่ฮอลันดาบ้างเพื่อหากำไร” ดร.ปิยดากล่าว

แต่เหตุการณ์สำคัญที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับ Heemskerek คือ เหตุการณ์ที่เรียกว่าแคทารีน่า อินซิเดนท์ (Catarina Incident) คือ ขณะที่เขาอยู่ปาตานีได้พบกับรายาบงซู ซึ่งเป็นน้องชายของสุลต่านยะโฮร์ที่ได้มาร่วมงานแต่งงานในปาตานี ซึ่งขณะนั้นยะโฮร์กำลังเป็นศัตรูกับโปรตุเกสที่เข้าไปยึดเมืองมะละกา และยะโฮร์ได้พยายามหาพรรคพวกเพื่อโจมตีโปรตุเกส จึงแจ้งกับ Heemskerek ว่าจะมีเรือซานต้า แคทารีน่าของโปรตุเกสออกจากสุมาตราไปมาเก๊า และขากลับจะต้องผ่านปาตานี โดยขอให้ Heemskerek ร่วมโจมตีเรือแคทารีน่า ซึ่งโปรตุเกสเป็นคู่อริกับฮอลันดาอยู่แล้ว โดย Heemskerek ยอมให้ความร่วมมือเพราะต้องการแก้แค้นด้วย

เหตุการณ์โจมตีเรือซานต้า แคทารีน่า ของโปรตุเกสที่เกิดขึ้นที่ปาตานี ในปี 1603 นับเป็น เหตุการณ์ที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงต้นการล่าอาณานิคมของฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์การแก้แค้นของฮอลันดาที่ชาวดัตช์ 17 คน ถูกฆ่าตายหนึ่งปีก่อนหน้านั้น โดยการแก้แค้นโปรตุเกสครั้งนี้  ฮอลันดามียะโฮร์และปาตานีให้ความช่วยเหลือ
เหตุการณ์ แคทารีน่า อินซิเดนท์ มีความสำคัญเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ฮอลันดาอ้างความชอบธรรมของตนเองในการ โจมตีเรือโปรตุเกสซึ่งเป็นเรือศัตรูว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีความผิด โดยมีนักกฎหมายหนุ่มชื่อ Hugo Grotios ว่าความปกป้องการกระทำของ Heemskerek ว่าไม่มีความผิดในคดีดังกล่าวเพราะชาวโปรตุเกสโจมตีเรือฮอลันดาก่อน

ดร.ปิย ดา กล่าวว่า เหตุการณ์แคทารีน่า อินซิเดนท์ เป็นเหตุการณ์ที่เป็นที่ถกเถียงกันมากในประเด็นเรื่องกฎหมายที่ว่า อะไรคือความชอบธรรมในสภาวะสงคราม คนที่เรียนประวัติศาสตร์กฎหมายของยุโรปต้องเรียนรู้ทฤษฎีของ Hugo ซึ่ง เขาตั้งคำถามว่าเวลาทำสงคราม การฆ่าคนมีความผิดหรือไม่ ซึ่งเรื่องทั้งหมดเกิดจากแคทารีน่า อินซิเดนท์ ซึ่งยะโฮร์และปาตานีเป็นผู้ช่วยฮอลันดาและเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ปาตานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น