วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการลงแขกลงแรงพัฒนาหมู่บ้านของเรา (บูวะปากะกำปงกีตอ)

๑. หลักการและเหตุผล
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านไอตีมุง หมู่ที่ ๔ ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส เป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยโดยตลอดมานานกว่า ๓๐ ปี และได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤตและให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
โครงการสนับสนุนศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ก็เพื่อให้สมาชิกภายในหมู่บ้านหรือจากหมู่บ้านอื่น ๆ ได้มาเรียนรู้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงในการดำเนินชิวิตและวิถีปฏิบัติ
ทั้งนี้ บ้านไอตีมุง หมู่ที่ ๔  ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ก็เป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่เป็นศูนย์เรียนรู้และมีผู้สนใจเข้ามาศึกษา ดูงาน ฉะนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับภูมิทัศน์และน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงมาสร้างอัตลักษณ์ของหมู่บ้านเพื่อจะให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเงินทุนหมุนเวียน”
๒. วัตถุประสงค์
๑) เพื่อปรับภูมิทัศน์เชิงเศรษฐกิจพอเพียงบริเวณศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเงินทุนหมุนเวียน โดยสอดคล้องกับหลักการ “วงจรการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ (Professional Investment Development Circle)”
๒) เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม (บูวะปากะ หรือ ลงแขกลงคลอง)
๓) เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและหมู่บ้าน
๓. วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน/เงื่อนไขของโครงการ/กิจกรรม
๓.๑ สร้างความรู้ความเข้าใจ
๓.๒ สร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน โดยแบ่งออกเป็น ๗ ฐาน ดังนี้
ฐานที่ ๑ การบริหารจัดการชุมชน กล่าวคือ (๑) เรียนรู้การจัดการกลุ่ม และ (๒) เรียนรู้การหมุนของทุน สูตร MV=PT[1]
ฐานที่ ๒ การเลี้ยงปลาในกระชัง
ฐานที่ ๓ ป่าชุมชน
ฐานที่ ๔ เกษตรผสมผสาน (สวนสมรม)
ฐานที่ ๕ พัฒนาจิตใจ
ฐานที่ ๖ การออม ทุนชุมชนและสวัสดิการชุมชน
ฐานที่ ๗ การตลาดและศูนย์สาธิตการตลาด
๓.๓ ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้านเชิงเศรษฐกิจพอเพียง
๓.๔ การถอดบทเรียนและติดตามประเมินผล
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๓.๒ ต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอ และรู้จักคิดวิเคราะห์ และถอดบทเรียน เพื่อให้วงจรข้างต้นได้หมุนเวียนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
๔. เป้าหมาย/กลุ่มเป้าหมาย (ให้ระบุหน่วยนับด้วย)
ครัว เรือนเป้าหมายเดิมในหมู่บ้าน ๓๐ ครัวเรือน และครัวเรือนใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ต่อปี จนครบทุกครัวเรือน
๕. งบประมาณ ขอรับการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
๖. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน ๒๕๕๕
. พื้นที่ดำเนินการ
บ้านไอตีมุง  หมู่ที่ ๔  ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส (ตามแผนผังแนบ)
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ
๘.๑ มีศูนย์การเรียนรู้สำหรับประชาชนภายในและภายนอกหมู่บ้าน
๘.๒ ทำให้ประชาชนเรียนรู้ในรูปการทำงานของกลุ่ม
๘.๓ ประชาชนมีการออม ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้
๘.๔ ทำให้ประชาชนเรียนรู้ตนเองจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน
๘.๕ ทำให้เกิดทุนของกลุ่มและทุนหมุนเวียนภายในหมู่บ้าน
๘.๖ ทำให้บ้านไอตีมุง เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอำเภอสุคิรินและอำเภอใกล้เคียง
๙. ประเด็นความสำเร็จ
๙.๑ เกิดศูนย์เรียนรู้ฐานเศรษฐกิจชุมชน
๙.๒ เกิดภูมิทัศน์หมู่บ้านเชิงเศรษฐกิจพอเพียง
๑๐. ตัวชี้วัดกิจกรรม
๑๐.๑ ผลผลิต
(๑) เกิดฐานการเรียนรู้ ๗ ฐาน
(๒) เกิดการบริหารจัดการในรูปแบบกลุ่มเพิ่มขึ้น
๑๐.๒ ผลลัพธ์
(๑) สร้างการเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ครอบครัว เรียนรู้ชุมชน 
(๒) ประชาชนดำรงชีวิตตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๓) ประชาชนรักและห่วงแหนหมู่บ้าน
(๔) ประชาชนมีจิตอาสาในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
(๕) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเกาะติดพื้นที่และได้ใจประชาชน
๑๑. ตอบสนองยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
๑๑.๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข
๑๑.๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ เสริมสร้างความสามารถการบริหารงานชุมชน
๑๑.๓ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน

[1] M = Money Supply, V = Velocity of Circulation, P = Price level and T = Transactions or Output

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น