วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

ชื่อเรื่อง การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. อย่างมีคุณภาพ
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ/ความสำเร็จเกี่ยวกับ   การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ    ปี 2553
สถานที่เกิดเหตุการณ์      สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท


เนื้อเรื่อง : เป็นการเล่าเรื่อง ความเป็นมาเหตุการณ์ และวิธีการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ อย่างไรบ้างสะท้อนภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการปฏิบัติงานร่วม กับชุมชน โดยย่อ

                   ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการยอมรับข้อมูลของผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่ข้าพเจ้าได้พบเจอมาตั้งแต่เข้ารับราชการในกรมการพัฒนาชุมชน ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ จนถึงตำแหน่งพัฒนากรที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการจัดเก็บข้อมูลใน ตำบล จนมาถึงปัจจุบันที่ข้าพเจ้ามาดำรงตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ในกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และต้องรับผิดชอบงานเรื่อง จปฐ. โดยตรง ทำให้ยิ่งรับรู้ถึงปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในบางครั้ง
                    และ จากปัญหานี้เองจึงทำให้มีแนวคิดที่จะบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้น ฐาน (จปฐ.) ให้มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ข้อมูล โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
                    ๑. เริ่มจากศึกษาแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่กรมฯ แจ้งให้จังหวัดทราบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะมีหนังสือแจ้งให้อำเภอทราบและปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อเวลาอำเภอในฐานะผู้ปฏิบัติมีปัญหา เราในฐานะผู้รับผิดชอบงานจะได้สามารถตอบคำถามและแก้ไขปัญหาให้อำเภอได้อย่าง ทันท่วงที
                   ๒. กำหนดแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ของจังหวัด ให้สอดคล้องกับแนวทางของกรมฯ โดยการจัดทำปฏิทินการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕๓ ของจังหวัดชัยนาท
                   ๓. ออกแบบและจัดทำแบบรายงานผลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการติดตามความก้าวหน้าในการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลฯ
                   ๔. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับจังหวัด และคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับจังหวัด
                   ๕. แจ้งแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ของจังหวัด ให้อำเภอ, คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด และคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด ทราบ
                   6. ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นช่องทางการรายงานความก้าวหน้าและติดตามผลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เป็นประจำทุกเดือน เพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทราบปัญหาการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลฯ ของแต่ละพื้นที่
                   7. กำหนดระยะเวลารายงานผลความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ โดยกำหนดให้อำเภอรายงานทุกวันที่ ๒๐ ของเดือน เพื่อนำผลการรายงานเข้าที่ประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย
                   8. ประชุมชี้แจงผู้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ.
                   9. นำโปรแกรมติดต่อระยะไกล (Teamviewer) มาใช้ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ให้กับพื้นที่โดยตรง
                   10. ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้บุคคลในจังหวัดชัยนาท ทราบทุกระยะ ในหลายๆ ช่องทาง เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด, ทางสวท.ชัยนาท, ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ข่าวประชาสัมพันธ์ และระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OA)
                   ๑1. ใช้ website ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นช่องทางในการติดต่อกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น ให้ผู้บันทึกข้อมูลสามารถ download โปรแกรมบันทึกข้อมูล จปฐ. ได้ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท, เปิดกระดานถามตอบเพื่อเป็นช่องทางการติดต่ออีกทางหนึ่ง, นำระบบ OA และโปรแกรม skype มาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อกับอำเภอ และใช้ e-mail, msn ส่วนตัวเป็นช่องทางในการติดต่อกับผู้บันทึกข้อมูล และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ เช่น การรับไฟล์ข้อมูล จปฐ.ที่มีปัญหาไม่สามารถนำเข้าข้อมูลได้จากผู้บันทึกข้อมูล มาให้แก้ไข
                   12. ติดตามข่าวสารความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ตลอดจนข้อสั่งการเพิ่มเติมจากเว็บไซด์กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์สารสนเทศการพัฒนาชุมชน ทุกวัน
                   13. ทดลองใช้โปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ด้วยตนเองเพื่อทราบวิธีการใช้งานและปัญหาที่เกิดขึ้นกับใช้งานโปรแกรม ก่อนแนะนำวิธีการใช้และติดตั้งให้กับผู้บันทึกข้อมูล
                   14. ติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูลทุกเดือน ทั้งกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และกับผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะผู้บันทึกข้อมูล เพื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บันทึกข้อมูล
                   15. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จปฐ. ที่อำเภอได้รวบรวมส่งมาให้ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
                   16. นำผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด เสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด
                   17. ส่งผลข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด ให้กรมฯ ทันตามกำหนดเวลา
                   18. จัดทำเอกสารรายงานผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของจังหวัด เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
                   19. การเพิ่มช่องทางการเข้าใช้ประโยชน์ข้อมูล จปฐ. ในหลากหลายช่องทาง เช่น เอกสารรายงานผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ., เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, บอร์ดประชาสัมพันธ์บริเวณด้านหน้าสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.ชัยนาท)
                   20. ส่งข้อมูลครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. แต่ละตัวชี้วัด ให้กับหน่วยงานเจ้าภาพหลักรับผิดชอบตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการวางแผนและแก้ไข ปัญหา
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Asets) : (นำเหตุการณ์ ประเด็น สำคัญในเนื้อเรื่องมาถอดเป็นขุมความรู้)
                    1. การสร้างความเข้าใจการปฏิบัติงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ
                   2. การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ก่อนสอนแนะผู้ปฏิบัติจริง
                   3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
                   4. การมีช่องทางหลากหลายในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล


แก่นความรู้ (Core Competency) : (นำขุนความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้)

                    1. การสร้างการยอมรับในข้อมูล
                   2. การใช้ประโยชน์จากข้อมูล     


กลยุทธ์ในการทำงาน : (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)

                   ๑. เพื่อให้เกิดการยอมรับในข้อมูลของส่วนราชการ ควรแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ร่วมเป็นคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯระดับจังหวัด เพื่อให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในข้อมูลร่วมกัน
                   2. การ แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ระดับจังหวัด ควรแต่งตั้งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ทุกกลุ่ม/ฝ่ายในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เพื่อความสะดวกในการติดตามผลการติดตามของคณะทำงานติดตาม และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเอง หรือนักวิชาการพัฒนาชุมชนในกลุ่มงานสารสนเทศฯ  ควรรับผิดชอบติดตามในพื้นที่อำเภอห่างไกล เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีกับคณะทำงานด้วยกัน           ว่าเจ้าของงานรับผิดชอบพื้นที่ไกลกว่าคนอื่นๆ ส่วนนักวิชาการคนอื่นที่เป็นผู้หญิง หรือมีปัญหาในการเดินทางติดตาม ให้รับผิดชอบพื้นที่อำเภอใกล้ๆ เช่นอำเภอเมือง
                   3. การกำหนดเวลารายงานผลความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ควรกำหนดให้รายงานก่อนวันประชุมประจำเดือนสำนักงาน เพื่อนำผลการรายงานความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูล แจ้งในที่ประชุมประจำเดือนสำนักงานทราบด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบแล้วยังเป็นการช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้เร่งติดตาม และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
                   4. ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ร่วมกัน เช่นการแลกเปลี่ยนปัญหาการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ที่แต่ละพื้นที่ประสบปัญหาแตกต่างกัน
                   5. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดต่อกับอำเภอด้วยระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OA), เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ระบบ skype มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อความสะดวกรวดเร็ว, โปรแกรมติดต่อระยะไกล (Teamviewer) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ในพื้นที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว, ใช้ e-mail และ msn ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
                   6. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล ที่หลากหลายนอกจากเอกสาร เช่น ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เช่น upload โปรกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ, โปรแกรม Tamviewer และโปรแกรมอื่นๆ บนเว็บไซด์ เพื่อความสะดวกในการนำโปรแกรมไปใช้งานของผู้ปฏิบัติงาน


กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง : ตรวจสอบดูว่ามีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง แนวคิด ทฤษฎีที่สามารถอ้างอิงได้บ้างหรือไม่

                   1. การทำงานแบบมีส่วนร่วม


ชื่อผู้บันทึกความรู้     นางสาวโสภี  บุญศิริ       ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
                             สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 081-7856090

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น