วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ประชุมเยาวชน @LDI ปัตตานี 18 Sep 2012


[งานของตัวเราเอง]

กลุ่มมะโนราห์
กลุ่มหมากแดง ทำดนตรี อนุรักษ์ธรรมชาติ เข้าวัดปฏิบัติธรรม
กลุ่มตะลิ้งปิ้ง จัดกิจกรรมให้กับเด็ก เก็บขยะ ปลูกต้นไม้
กลุ่มรักป่าและนกเหงือก จากั๊วะ
รักกูนุงนอกชาน กิจกรรมรักป่าบูโด ดูแลธรรมชาติ ผาหินกูนุงนอกชาน
เครือข่ายเยาวชนสู่อาเซียน
เยาวชนใจอาสา (๗ ปีมาแล้ว) เยี่ยมผู้ถูกกระทบจากเหตุการณ์ ปัจจุบันทำงานเล็ก ๆ  ก่อนหน้าเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้หญิงเข้ามา ตอนหลังมีผู้หญิงเข้ามาร่วมมากขึ้น ต่อมาเพื่อนที่มาช่วยก็จะกระจาย
กลุ่มต้มยำ แสดงละคร
กลุ่มนักคิดนักพัฒนา  แพทย์ หมอ ครู ตำรวจ ทหาร ลงทำงานตามชุมชน บรรยายเรื่องสุขภาพ ส่งเสริมอาชีพ ให้ชุมชนรักษาการทำงานเป็นทีม
กลุ่มบูรงบารง


๑) สภาพความเป็นเครือข่ายและการทำงานลักษณะเครือข่ายของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ ๓ จังหวัด อิงประเด็น/อิงพื้นที่
เท่าที่สังเกตกลุ่มเยาวชนสามารถทำงานใน Set ของตนเองได้ดีกว่ามาทำงานเป็นเครือข่าย
อาจเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กรของเขาที่แตกต่างกันก็เป็นไปได้

แล้วอย่าลืมว่าเครือข่ายทำงานได้ดีเพียงแค่ ๓ อย่างเท่านั้น คือ
๑) สร้างพลังในการต่อรอง ๒) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ๓) การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
สำหรับเครือข่ายแล้ว นั่นคือ เป็นการรวมตัวกันแบบหลวม ๆ เท่านั้น (
รวมจุดเหมือน สงวนจุดต่าง)

Warner: “LINK” stand for (1) Learning (2) Investing (3) Nursing) and (4) Keeping

ซึ่งไม่รู้ว่าคนอื่นเขาคิดอย่างไร ลองสอบถามหลาย ๆ คน ก็จะดี เยาวชนมีความไม่นิ่งในการรวมกลุ่มเหมือนกับกลุ่มสตรี เพราะความผูกพันกับกลุ่มมีค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสตรี
แต่กลุ่มเยาวชนที่มีความยั่งยืนต้องมีพี่เลี้ยงเป็นคนบริหารจัดการ โครงการฯหรืออื่น ๆ จึงจะอยู่รอด ลองสังเกตกลุ่มที่ยั่งยืนเหมือนฟ้าใส ก็มีคุณมาเรียม ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ …. รวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ก็จะมีผู้ใหญ่อยู่เบื้องหลังคอย Backup เกือบทั้งหมด


๒) ยุทธศาสตร์การทำงาน (วิธีการ/เครื่องมือ)
การพัฒนาเยาวชน จึงมองไปถึงการพัฒนาอาชีพ หากเป็นกีฬาหรืออื่น ๆ ก็เป็นกีฬาอาชีพ (Learning to do) หรืออะไรก็ตามที่เขาทำได้เป็นอาชีพ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง และเป็นอาชีพที่ตนเองชอบ
รัฐจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะซึมซับ (absorb) เยาวชนเข้าสู่แหล่งอาชีพหรือตลาดแรงงาน

แต่กระนั้นก็ตาม หากอาชีพที่ไม่มีความมั่นคง เขาก็มักจะเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อย ๆ
เพราะบางครั้งดูเสมือนว่า ต้องการค้นหาตัวตนว่า ทำอะไรดีและชอบ จนกว่าจะตั้งหลักปักฐาน
หากไม่สามารถซึมซับเข้าแหล่งอาชีพ เยาวชนก็ต้องอยู่ในสถาบันการศึกษา ก็เพื่อเรียนรู้ในการประกอบอาชีพอีกนั่นแหละ
มีบางคนได้พูดไว้ว่า ณ วันนี้ เยาวชนขออย่าได้ติดยาก็พอ
หากเป็นคนขี้ยาเมื่อไรแล้ว นั่นหมายถึง สมองถูกทำลาย และการพัฒนาอย่างอื่นให้เขาก็จะจบสิ้น
เยาวชน คือ อนาคตของชาติ อย่าได้ทำลายชาติด้วยการทำลายเยาวชนด้วยยาเสพติดเลย

แล้วจะทำอย่างไรกับเยาวชน “พฤติกรรมไม่ปกติ”?

๓) การบริหารจัดการโครงการในพื้นที่ความขัดแย้ง/พื้นที่เปราะบาง ปัญหา อุปสรรค
- ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ โดยผ่านอาสาสมัครในพื้นที่  (เหมือนอาเจะห์)
- ต้องสนับสนุนให้คนในพื้นที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
- การทำงานเชิงสังคมควบคู่กับการทำงานด้านเศรษฐกิจ (ปากท้อง)
- คนทำโครงการต้องมีค่าตอบแทนเหมาะสมต่อการครองชีพ
- นักกิจกรรม (ที่เก่ง ๆ ) ไม่ใช่นักบริหารโครงการ หากจะทำโครงการต้องแยกกันระหว่างคน ๒ จำพวกนี้ มิฉะนั้น งานอาจไม่เดิน... เครือข่ายต้องมี Hub 


๔) การเปลี่ยนแปลงและผลที่เกิดขั้นจากการทำงานของกลุ่มเยาวชนและเครือข่ายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
เยาวชนบางกลุ่มมีความคิดรับผิดชอบสังคมมากขึ้น เกิดจากการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม (learning to live together)
แต่บางกลุ่มเหมือนกับดิ้นรนให้กับตัวเองอยู่รอด (Learning to be) กำลังแสวงหาความเหมาะสมของชีวิต หรือไม่ก็เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ (Learning to know)


ที่ยิ้มได้ “ไม่ใช่ไม่เจ็บ” ความจริง “อักเสบ” แต่เก็บอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น