วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจเกิดขึ้น และมีผลทำให้องค์กรเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หมายถึง วิธีการบริหารจัดการที่เป็นไปเพื่อการคาดการณ์ และลดผลเสียของความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัญหา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและมักจะส่งผลในทางลบ เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายการดำเนินการ จำเป็นต้องมีการแก้ไข เพราะมิเช่นนั้น ปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมาได้

ปัจจัยหรือประเภทที่ทำให้เกิดความเสี่ยง (Risk Factors) ตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of The Treadway Commission)*  มี ๔ ประการ
๑. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: S) คือ ความเสี่ยงเนื่องจากกลยุทธ์/การเมืองเศรษฐกิจ/ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน/การบริหารสินทรัพย์และการลงทุนหรือเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจผิดพลาดหรือนำการตัดสินใจนั้นมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง
๒. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk: O) คือ ความเสี่ยงเนื่องจากระบบขององค์กร/กระบวนการ/เทคโนโลยี/บุคลากร/ความเพียงพอของข้อมูลส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจ
๓. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) คือ ความเสี่ยงเนื่องจากขาดการจัดหาข้อมูล การวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุม และการจัดทำรายงาน เพื่อนำมาใช้ในการบริหารการเงินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่ทันต่อสถานการณ์ จึงส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินขององค์กร หรือเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์กร เช่น อัตราแลกเปลี่ยน/อัตราดอกเบี้ย/สภาพคล่อง/งบประมาณ/สินค้า (Commodities)/ความสามารถในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือทางการเงิน (Credit Risk)
๔. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/กฎระเบียบ (Compliance Risk: C) คือ ความเสี่ยงเนื่องจากการฝ่าฝืนหรือไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนดของทางการ หรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน รวมทั้งไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบาย และวิธีการปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดขึ้น

ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
- ระบุและบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญได้ทันเวลา
- ทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
- ทำให้ลดอุปสรรคหรือสิ่งที่ไม่คาดหวัง
- ทำให้การกำหนดแผนกลยุทธ์และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- ทำให้จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO ประกอบด้วย ๔ วัตถุประสงค์ ๘ องค์ประกอบ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง
๑) ด้านกลยุทธ์ (Strategic: S) เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายในระดับสูง ซึ่งต้องเป็นแนวทางเดียวกันและต้องสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กร
๒) ด้านการดำเนินงาน (Operation: O) การใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
๓) ด้านการรายงาน (Reporting: R) การรายงานขององค์กรมีความเชื่อถือได้
๔) ด้านการปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ (Compliance: C) องค์กรได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือกฎหมายที่ใช้บังคับองค์กร

องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง
๑. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการกำหนดกรอบบริหารความเสี่ยง เช่น วัฒนธรรมองค์กร นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติงาน บุคลากร กระบวนการทำงาน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น
๒. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) ต้องให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม โดยใช้วิธี SMART คือ
- Specific: มีความเฉพาะเจาะจง
- Measurable: สามารถวัดได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
- Achievable: สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลได้
- Relevant: มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
- Timely: มีกรอบระยะเวลาที่แน่นอน

๓. การระบุเหตุการณ์ (Event Identification) เป็นการรวบรวมเหตุการ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งในส่วนของ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น นโยบายบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ กฎหมาย ระบบบัญชี ภาษีอากร ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้บริหารสามารถพิจารณา กำหนดแนวทาง และนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

๔. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เป็นการจำแนกและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการประเมินจาก
- ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood Score) โดยพิจารณาถึงความถี่ของการเกิดขึ้นในอดีต และคาดการณ์โอกาสที่จะเกิดในอนาคต
- ระดับผลกระทบของความเสี่ยง (Consequence Score) โดยพิจารณาทั้งผลกระทบทางการเงิน และที่ไม่ใช่ทางการเงิน

๕. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) เป็นขั้นตอนกำหนดวิธีการจัดการเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งมีวิธีจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย ๔ กลยุทธ์ หรือกลยุทธ์ 4T (Take, Treat, Transfer,  Termination) เพื่อการบริหารความเสี่ยง
- ยอมรับ (Take) คือ (๑) ยอมรับความเสี่ยง (๒) กำหนดงบประมาณรองรับเหตุการณ์ความสูญเสีย (๓) ดูแลติดตามความเสี่ยงเป็นประจำ
- ลด/บรรเทา (Treat) คือ (๑) กำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานใหม่ (๒) การเพิ่มการควบคุม (๓) การวางระบบงานใหม่ (๔) การฝึกอบรมเพิ่มทักษะเจ้าหน้าที่/พนักงาน (๕) การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน
- โอน/แบ่ง (Transfer) คือ (๑) ทำประกัน (๒) การร่วมทุนหรือหาพันธบัตร (๓) จ้างผู้ให้บริการภายนอกดำเนินการ (๔) การกระจายการลงทุน
- หยุด/หลีกเลี่ยง (Termination) คือ (๑) หยุดกิจกรรมธุรกิจ (๒) ลดสัดส่วนการลงทุน (๓) ปรับเปลี่ยนเป้าหมายทางธุรกิจ (๔) ออกแบบปรับปรุงกระบวนการหรือระบบ (๕) ลดขนาดการลงทุน  

๖. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) การกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร มี ๕ ขั้นตอน
- การสอบทางงาน (Reconciliation and Review)
- การดูแลป้องกันทรัพย์สิน (Security of Assets)
- การควบคุมระบบสารสนเทศ (IT Control)
- การทำหลักฐานเอกสารอ้างอิง (Documentarian)
- การอนุมัติ (Authorization and Approvals)

๗. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) คือ องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิรภพี่ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบ และขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด ได้แก่
- ข้อมูลมีเนื้อหาสาระเหมาะสม
- ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันเวลา
- มีความถูกต้องสมบูรณ์
- การจำกัดการเข้าถึงอย่างเหมาะสม
- ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้
- มีระบบการรักษาความปลอดภัย

๘. การติดตาม (Monitoring) คือ องค์กรจะต้องมีการติดตามผล เพื่อให้ทราบถึง ผลการดำเนินการว่า มีความเหมาะสมและสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (Ongoing Monitoring) และการประเมินผลการปฏิบัติงานเฉพาะ (Separate Evaluation) เพื่อให้
- แผนจัดการความเสี่ยงถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- ทราบถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้แผนจัดการความเสี่ยง
- สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานกากรณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือกรณีที่แผนเดิมไม่มีประสิทธิภาพ
- มีการรายงานผลต่อผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เครื่องแกงบ้านลีนานนท์

พระรูปสมเด็จพระเทพฯทรงโปรดและมีกระแสรับสั่งให้พัฒนาเครื่องแกงให้ได้เครื่องหมาย อย.









สรุปประชุมวันนี้ ๑๒ มี.ค.๕๘
ผู้เข้าประชุม ได้แก่ เกษตรอำเภอสุคิริน, น้องเคหกิจเกษตร (Food science), พัฒนาการอำเภอสุคิริน, มะสาฮารี ยะโก๊ะ, น้องปู (อบต.สุคิริน), ผู้ใหญ่หวัด, สมาชิกกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรสู่อุตสาหกรรม ประมาณ ๑๐ คน ประเด็นหารือพอสรุปได้ ดังนี้
๑. การแปรรูปเครื่องแกงยังต้องการผลิตเป็นเครื่องแกงแบบเปียก แต่จะใช้การถนอมอาหารด้วยเครื่อง Vacuum คิดว่าสามารถถนอมเครื่องแกงได้เป็นปี โดยไม่ต้องใส่สารกันบูด ไม่ต้องการผลิตแบบผง เพราะขั้นตอนยุ่งยากและคุณค่าทางอาหารลดลง
๒. ต้องมีการปรับปรุงโรงงานให้ได้มาตรฐาน Primary GMP ตามคำแนะนำของหมอน็อต และปรับปรุงศาลาที่ประชุมให้สามารถใช้เป็นที่ประชุมและเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ต้องปรึกษาหมอน็อตกับช่าง อบต.
๓. มอบให้เกษตร/พัฒนา/น้องปู สืบราคาเครื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ได้แก่
--๓.๑ เครื่องบรรจุภัณฑ์แบบ Vacuum ทั้งขนาดจะใช้กับเครื่องแกงบรรจุ ๑ กก. ๑/๒ กก. และ ๓x๔ ซม.
--๓.๒ ตะกร้าตาเล็ก ๑๐ อัน เพื่อใช้สะเด็ดน้ำ
--๓.๓ กะลามัง stainless
--๓.๔ ชั้นวางของ
--๓.๕ พัดลมโรงงาน
--๓.๖ ถุง Vacuum ๓ ขนาด ๑ กก. ๑/๒ กก. และ ๓x๔ ซม.
--๓.๗ Sticker (ราคาประมาณ ๓๐-๕๐ สตางค์/แผ่น), การคิดตรา, Logo
--๓.๘ ที่ปั้มวันที่ ๒ อัน
--๓.๙ ถังพลาสติดใส ๑๐ ใบ เพื่อใส่วัตถุดิบ
--๓.๑๐ Silica กันชื้น
--๓.๑๑ ปล้องดูดอากาศ
--๓.๑๒ เครื่องบรรจุถุง
--๓.๑๓ เครื่องอบแห้ง สำหรับอบพริก
--๓.๑๔ ตู้โชว์
--๓.๑๕ โต๊ะเก้าอี้ สำหรับใช้เป็นที่บรรจุภัณฑ์
--๓.๑๖ Sink

























ขณะนี้ มีการผลิตเดือนละ ๒ ครั้งๆ ละ ๑๐๐ กก. และมีเงินทุนหมุนเวียนจากป่าไม้และ อบต.สุคิริน ๕๐,๐๐๐ บาท และอาจมีการเพิ่มเติมอีก ๕๐,๐๐๐ บาท
การผลิตเครื่องแกงแล้ว ๓ อย่าง
๑. เครื่องแกงส้ม ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง กระเทียม (ปลูกได้เฉพาะหน้าหนาว) ขมิ้น เกลือ
๒. เครื่องแกงกะทิ ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง (ซื้อจากพัทลุง) กระเทียม ขมิ้น (ซื้อจากพัทลุง) พริกไทยดำ ตะไคร้หยวก เกลือ
๓. เครื่องแกงผัดเผ็ด ประกอบด้วย พริกขี้หนูแห้ง กระเทียม ขมิ้น พริกไทยดำ ข่า เกลือ

ส่วนต้องการผลิตเพิ่มอีก ๑ อย่าง คือ เครื่องแกงเขียวหวาน ส่วนผสมเหมือนเครื่องแกงกะทิ แต่ใช้พริกสดเขียวแทนพริกขี้หนูแห้ง

สรุปประเด็นหารือ คือ กระบวนการผลิต (อุปกรณ์การผลิต/บรรจุภัณฑ์) การปรับปรุงเรือนโรงที่เป็นโรงงานผลิต และโรงเก็บวัถตุดิบและผลิตภัณฑ์/แสดงและจำหน่ายสินค้า/ประชุม

เบื้องต้นให้จดทะเบียนพานิชย์ที อบต.ยื่นสูตร กรรมวิธีการผลิตส่งมาก่อนก็ได้

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างได้ประสานช่างในหมู่บ้านร่วมกับช่าง อบต. ช่วย ประเมิน ราคา เกี่ยว กับงาน ช่าง เช่น กระเบื้อง ปูพื้น เพดาน มุ่งลวด อ่างล้างวัตถุดิบ แท่น วางเครื่องจักร

หมอน็อตนัด จนท อย จาก สสจ.นธ พบกลุ่มเครื่องแกงเพื่อการอนุญาตให้ได้ อย. ในวันที่ 31 มี.ค.58

ให้กลุ่มฯ ขอบ้านเลขที่สถานที่ผลิตที่ว่าการอำเภอสคิริน และให้กลุ่มฯจดทะเบียนการค้า ที่ อบต สุคิริน นัดช่างคำณวนการปรับปรุงอาคารเพื่อจัดทำ primary GMP  ตามคำแนะนำของ สสจ.นธ.

พี่ยุภานี พี่สมชาย ผช เกษตรศอ.บต. มาสุคิริน และ ไปดุกลุ่มเครื่องแกงวันจันทร์...ที่23มีค.ได้พบกลุ่มและให้เตรียมจัดทำโครงการตามแบบฟอร์ม ศอ.บต. และแนะนำให้ไปดูงานกลุ่มทำเครื่องแกงที่เกาะสะบ้า เข้าฝึกอบรมการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ มอ ปน.

สภาพโรงงานที่ต้องปรับปรุง







แผนผัง  Line การผลิตมาตรฐานตามคำแนะนำของ สสจ.นธ. ให้ปรับสถานที่ตามความเหมาะสมตามคำแนะนำ




วันที่ 31 มีนาคม 2558 เจ้าหน้าที่จาก สสจ.นธ. และอาจารย์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มนร. มาประชุมกลุ่มและได้แนะนำการผลิตเครื่องแกงตามหลักการที่ถูกต้องเพื่อให้ได้มาซึ่ง อ.ย.