วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดในการพัฒนา

การพัฒนา (Development) หมายถึง การที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น สังคมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มมากขึ้น รายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มขึ้น และมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ เช่น สุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งประชาชน
มีจริยธรรมดีขึ้น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ระบบการเมืองดีขึ้น (วรทัศน์, 2548)
                การพัฒนามุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในอนาคต ความสามารถของบุคคลในการช่วยเหลือตนเอง และความสามารถในการควบคุมตัวเขาเอง
                รูปแบบการพัฒนา
                1.    การพัฒนาแบบเสรี (Free Development) เปิดโอกาสให้เอกชนสร้างความเจริญและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางประชาธิปไตยและระบบการแข่งขันโดยเสรี (Democracy and Enterprise)
                2.    การพัฒนาแบบบังคับ (Forced Development) รัฐบาลเป็นผู้กำหนดควบคุมดูแลการพัฒนาทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
                3.    การพัฒนาแบบผสมผสาน, แบบมีแผน (Planed Development) จะมีการพัฒนาอย่างมีระบบแบบแผนที่แน่นอนในหน่วยงานราชการและพนักงานของรัฐ และเปิดโอกาสให้เอกชนดำเนินกิจการต่างๆ อย่างเสรี
                ระดับการพัฒนา
                1.    ประเทศด้อยพัฒนา (Under Development Countries) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ระมัดระวัง คือ นำเอาทรัพยากรในประเทศส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
                2.    ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ
มาแปรรูปและส่งออกยังต่างประเทศ
                3.    ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) เป็นประเทศอุตสาหกรรม ไม่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะนำเข้าทรัพยากรธรรมชาติจากต่างประเทศมาแปรรูปแล้วส่งจำหน่ายในรูปสินค้าอุตสาหกรรม
             
ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ
                1.     ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับขั้น (The Stages of Economic Growth Theory)
                        Rostow กล่าวว่า ทฤษฎีนี้จะเน้นการพัฒนาในระบบเศรษฐกิจ โดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับขั้น โดยพัฒนามาจากระบบสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งมี 5 ขั้น คือ
        1. ขั้นสังคมดั้งเดิม (Tradition Society Stage)
        2. ขั้นเตรียมพัฒนา (Precondition for Take – off Stage)
        3. ขั้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนา (Take – off Stage)
        4. ขั้นทะยานเข้าสู่ภาวะของความอุดมสมบูรณ์ (Drive to Maturity Stage)
        5. ขั้นอุดมสมบูรณ์ (High Mass Consumption Stage)
      2.      ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า (Trickle Down Effect Theory)
                        ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า คนในสังคมมีหลายระดับชั้น แต่ละระดับชั้นมีความสามารถในการพัฒนาไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงควรพัฒนาชนชั้นที่มีความพร้อมในสังคมก่อนแล้วค่อยกระจายไปสู่
ชนชั้นล่างต่อๆ ไป เนื่องจากงบประมาณทรัพยากรในประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
                3.     ทฤษฎีการกระจายรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Redistribution with Economic Growth Theory)
                        ทฤษฎีนี้เน้นการกระจายรายได้ควบคู่กับการระดมทุน และขึ้นอยู่กับมาตรการต่างๆ ทางด้านประชากร ความเท่าเทียมกันทางสังคม ทฤษฎีนี้นำมาใช้กับงานพัฒนาชุมชน
                4.     ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory)
                        ทฤษฎีนี้เน้นความทันสมัยในเชิงการผลิต การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านค่านิยมทางจิตใจ และด้านสังคม โดยทฤษฎีนี้จะเชื่อมโยงกับทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม คือ มีการยอมรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน
                5.     ทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพา (Underdevelopment and Dependency Theory)
                        ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากช่องว่างในการแบ่งประเทศออกเป็น 3 ระดับ คือ ประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ระดับที่สำคัญคือ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา อยู่ภายใต้ขอบข่ายของอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ รายได้ และจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว เรียกว่าการพึ่งพา (Dependence) ทั้งทางด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ไม่ได้มีแนวทางพัฒนาเป็นของตนเอง ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและทุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว          
                6.     แนวความคิดของการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง (The Concept of Another Development)
                        แนวความคิดนี้ได้เปลี่ยนจากการพัฒนาที่ยึดถือการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเป็นการยึดถือคนเป็นหลัก โดยถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด สามารถนำเอาศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของคนมาใช้ในการพัฒนา โดยมีหลักพื้นฐานคือ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประเทศยากจนและประเทศที่ร่ำรวยต้องมีความสำคัญเท่ากัน ต้องมีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างมีระบบ กระบวนการพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาจากภายใน ระบบและวิธีการพัฒนา
ที่เกิดขึ้นต้องเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ด้อยพัฒนา
                7.     ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory)
                        ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากการพัฒนาเพื่อการจ้าง การกระจายรายได้ควบคู่กับการเจริญเติบโตและการพัฒนาอีกวิธีหนึ่ง โดยเชื่อว่าการพัฒนานั้นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 4 ด้าน คือ ความมั่นคงปลอดภัย (Security Needs) สวัสดิภาพของชีวิต (Welfare Needs) เอกลักษณ์ (Identity) และเสรีภาพ (Freedom) ดังนั้น การพัฒนาจึงควรมุ่งเน้นไปที่การลดอัตราการว่างงาน การเพิ่มผลผลิตให้ถึงระดับความต้องการพื้นฐาน การกระจายบริการสาธารณูปโภคด้านสาธารณสุข การศึกษา แหล่งน้ำ บ้านเรือน สุขาภิบาลให้เพียงพอ ประเทศไทยได้นำแนวความคิดนี้มาปรับใช้
โดยกำหนดเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Minimum Needs Indicators) หรือ “จปฐ” นำมาใช้ครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)
    8.      ทฤษฎีความสมดุลและนิเวศวิทยา (Equilibrium and Ecological Theory)
                        แนวคิดทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาสังคมโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและชนบทอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ และให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) 



จากแนวคิดทฤษฎีและทฤษฎีในการพัฒนาที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ 3 แนวคิด ดังนี้

แนวคิดที่ 1
แนวคิดที่ 2
แนวคิดที่ 3
- ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  (Economic Growth)
- ความเป็นตะวันตก
  (Westernization)
- ความทันสมัย
  (Modernization)
- ฝนหล่นจากฟ้า
  (Trickle Down Effect)
- ความพึ่งพิง
  (Dependency)
- การกระจายรายได้
  (Distribution Income)
- ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)*
  (Basic Needs)
- การพัฒนาสังคม
  (Social Development)  
- การพัฒนามนุษย์
  (Human Development)
- ช่วยเหลือตนเอง
   (Self Help)
- เชื่อมั่นในตนเอง
  (Self Reliance)
- มันสมองของชนบท
  ภูมิปัญญาชาวบ้าน
  (Local Wisdom)
- ไม่พึ่งพิงใคร
  (Independency)
คุณภาพของชีวิต (Quality of Life)
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น