วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดในการพัฒนา

การพัฒนา (Development) หมายถึง การที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น สังคมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มมากขึ้น รายได้ต่อหัวของประชาชนเพิ่มขึ้น และมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ เช่น สุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งประชาชน
มีจริยธรรมดีขึ้น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ระบบการเมืองดีขึ้น (วรทัศน์, 2548)
                การพัฒนามุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในอนาคต ความสามารถของบุคคลในการช่วยเหลือตนเอง และความสามารถในการควบคุมตัวเขาเอง
                รูปแบบการพัฒนา
                1.    การพัฒนาแบบเสรี (Free Development) เปิดโอกาสให้เอกชนสร้างความเจริญและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางประชาธิปไตยและระบบการแข่งขันโดยเสรี (Democracy and Enterprise)
                2.    การพัฒนาแบบบังคับ (Forced Development) รัฐบาลเป็นผู้กำหนดควบคุมดูแลการพัฒนาทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ประเทศที่มีระบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์
                3.    การพัฒนาแบบผสมผสาน, แบบมีแผน (Planed Development) จะมีการพัฒนาอย่างมีระบบแบบแผนที่แน่นอนในหน่วยงานราชการและพนักงานของรัฐ และเปิดโอกาสให้เอกชนดำเนินกิจการต่างๆ อย่างเสรี
                ระดับการพัฒนา
                1.    ประเทศด้อยพัฒนา (Under Development Countries) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ระมัดระวัง คือ นำเอาทรัพยากรในประเทศส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
                2.    ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ
มาแปรรูปและส่งออกยังต่างประเทศ
                3.    ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) เป็นประเทศอุตสาหกรรม ไม่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ส่วนใหญ่จะนำเข้าทรัพยากรธรรมชาติจากต่างประเทศมาแปรรูปแล้วส่งจำหน่ายในรูปสินค้าอุตสาหกรรม
             
ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ
                1.     ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับขั้น (The Stages of Economic Growth Theory)
                        Rostow กล่าวว่า ทฤษฎีนี้จะเน้นการพัฒนาในระบบเศรษฐกิจ โดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลำดับขั้น โดยพัฒนามาจากระบบสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งมี 5 ขั้น คือ
        1. ขั้นสังคมดั้งเดิม (Tradition Society Stage)
        2. ขั้นเตรียมพัฒนา (Precondition for Take – off Stage)
        3. ขั้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนา (Take – off Stage)
        4. ขั้นทะยานเข้าสู่ภาวะของความอุดมสมบูรณ์ (Drive to Maturity Stage)
        5. ขั้นอุดมสมบูรณ์ (High Mass Consumption Stage)
      2.      ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า (Trickle Down Effect Theory)
                        ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า คนในสังคมมีหลายระดับชั้น แต่ละระดับชั้นมีความสามารถในการพัฒนาไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงควรพัฒนาชนชั้นที่มีความพร้อมในสังคมก่อนแล้วค่อยกระจายไปสู่
ชนชั้นล่างต่อๆ ไป เนื่องจากงบประมาณทรัพยากรในประเทศมีอยู่อย่างจำกัด
                3.     ทฤษฎีการกระจายรายได้และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Redistribution with Economic Growth Theory)
                        ทฤษฎีนี้เน้นการกระจายรายได้ควบคู่กับการระดมทุน และขึ้นอยู่กับมาตรการต่างๆ ทางด้านประชากร ความเท่าเทียมกันทางสังคม ทฤษฎีนี้นำมาใช้กับงานพัฒนาชุมชน
                4.     ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory)
                        ทฤษฎีนี้เน้นความทันสมัยในเชิงการผลิต การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านค่านิยมทางจิตใจ และด้านสังคม โดยทฤษฎีนี้จะเชื่อมโยงกับทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม คือ มีการยอมรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน
                5.     ทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพา (Underdevelopment and Dependency Theory)
                        ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากช่องว่างในการแบ่งประเทศออกเป็น 3 ระดับ คือ ประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ระดับที่สำคัญคือ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา อยู่ภายใต้ขอบข่ายของอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจและเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ รายได้ และจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ให้กับประเทศที่พัฒนาแล้ว เรียกว่าการพึ่งพา (Dependence) ทั้งทางด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ไม่ได้มีแนวทางพัฒนาเป็นของตนเอง ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและทุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว          
                6.     แนวความคิดของการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง (The Concept of Another Development)
                        แนวความคิดนี้ได้เปลี่ยนจากการพัฒนาที่ยึดถือการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเป็นการยึดถือคนเป็นหลัก โดยถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด สามารถนำเอาศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของคนมาใช้ในการพัฒนา โดยมีหลักพื้นฐานคือ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประเทศยากจนและประเทศที่ร่ำรวยต้องมีความสำคัญเท่ากัน ต้องมีการจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างมีระบบ กระบวนการพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาจากภายใน ระบบและวิธีการพัฒนา
ที่เกิดขึ้นต้องเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศที่ด้อยพัฒนา
                7.     ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs Theory)
                        ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากการพัฒนาเพื่อการจ้าง การกระจายรายได้ควบคู่กับการเจริญเติบโตและการพัฒนาอีกวิธีหนึ่ง โดยเชื่อว่าการพัฒนานั้นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 4 ด้าน คือ ความมั่นคงปลอดภัย (Security Needs) สวัสดิภาพของชีวิต (Welfare Needs) เอกลักษณ์ (Identity) และเสรีภาพ (Freedom) ดังนั้น การพัฒนาจึงควรมุ่งเน้นไปที่การลดอัตราการว่างงาน การเพิ่มผลผลิตให้ถึงระดับความต้องการพื้นฐาน การกระจายบริการสาธารณูปโภคด้านสาธารณสุข การศึกษา แหล่งน้ำ บ้านเรือน สุขาภิบาลให้เพียงพอ ประเทศไทยได้นำแนวความคิดนี้มาปรับใช้
โดยกำหนดเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Minimum Needs Indicators) หรือ “จปฐ” นำมาใช้ครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)
    8.      ทฤษฎีความสมดุลและนิเวศวิทยา (Equilibrium and Ecological Theory)
                        แนวคิดทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาสังคมโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและชนบทอย่างชาญฉลาด ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ และให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) 



จากแนวคิดทฤษฎีและทฤษฎีในการพัฒนาที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ 3 แนวคิด ดังนี้

แนวคิดที่ 1
แนวคิดที่ 2
แนวคิดที่ 3
- ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  (Economic Growth)
- ความเป็นตะวันตก
  (Westernization)
- ความทันสมัย
  (Modernization)
- ฝนหล่นจากฟ้า
  (Trickle Down Effect)
- ความพึ่งพิง
  (Dependency)
- การกระจายรายได้
  (Distribution Income)
- ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ)*
  (Basic Needs)
- การพัฒนาสังคม
  (Social Development)  
- การพัฒนามนุษย์
  (Human Development)
- ช่วยเหลือตนเอง
   (Self Help)
- เชื่อมั่นในตนเอง
  (Self Reliance)
- มันสมองของชนบท
  ภูมิปัญญาชาวบ้าน
  (Local Wisdom)
- ไม่พึ่งพิงใคร
  (Independency)
คุณภาพของชีวิต (Quality of Life)
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)

ภาษาอังกฤษ ที่ใช้กับท้องถิ่น โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย


สถานที่ ภาษาอังกฤษ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด Provincial Administrative Organization (PAO)
เทศบาล Municipality
เทศบาลนคร City  Municipality
เทศบาลเมือง Town Municipality
เทศบาลตำบล Subdistrict Municipality
สำนักงานเทศบาล Office of the ....Municipality
องค์การบริหารส่วนตำบล Subdistrict Administrative Organization (SAO)
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล Office of the SAO   /   SAO Office
ที่ว่าการอำเภอ ....District Office
ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ....Minor District Office
ตำแหน่ง ภาษาอังกฤษ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด Chief Executive of the PAO
รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด Deputy  Chief Executive of the PAO
ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด Chief Administrator of the PAO
รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด Deputy Chief Administrator of the PAO
นายกเทศมนตรี Mayor
รองนายกเทศมนตรี Deputy Mayor
ปลัดเทศบาล Municipal Clerk
รองปลัดเทศบาล Deputy Municipal Clerk
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล Chief Executive of the SAO
รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล Deputy Chief Executive of the SAO
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล Chief Administrator of the SAO
ที่มา :
1. นามสงเคราะห์ส่วนราชการและตำแหน่ง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2548
2. นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย 2546-2547
3. คู่มือการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับข้าราชการและบุคคลทั่วไป มหาดไทย

อ้างถึง: http://www.thaimayor.com/teera/index.php/2011-06-21-04-04-22/99-2011-06-23-14-58-06

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Narathiwat Model

1. แผนปฏิบัติงาน
2. ข้อมูลพัฒนาชุมชน
3. VDR/TDR
4. การปฏิบัติประจำวัน
5. นวัตกรรม
6. เวทีประชาคม
7. PA/IPA
8. ยุทธศาสตร์
   - จังหวัด
   - กรมฯ
9. KM
10. งานที่ได้รับมอบหมาย