วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยามความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
3.1ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3.3การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
4. เงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
4.1เงื่อนไขความรู้ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2549 กระทรวงพลังงานร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในหัวข้อ "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นวิทยากร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
"พลังงานเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องใกล้ตัว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้เราเข้านอนด้วยสภาพจิตใจไม่ค่อยปกติ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อตื่นขึ้นมาค่าน้ำมันจะขึ้นไปอีกหรือเปล่า พรุ่งนี้ลิตรละเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้ เมื่อเริ่มเข้าทำงานราชการนั้น น้ำมันลิตรละ 3-4 บาทเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าหลังเกษียณมาหกเจ็ดปี ราคาน้ำมันจะขึ้นมา 4 ลิตร 100 บาทแล้ว.....
แต่เดิมหลักชาวพุทธเราเคยกล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตคือปัจจัยสี่ แต่พอมาเหลียวดูทุกวันนี้ ไม่ว่าการก่อสร้างบ้านอยู่อาศัย อาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ล้วนแต่ใช้พลังงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เราบริโภคก็ต้องอาศัยพลังงานในการปรุงแต่งทำให้เราได้สิ่งที่เป็นความสะดวกสบายต่างๆ....
ธรรมชาติให้เราอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็มาสร้างบ้านหลบเสีย ปิดม่าน เปิดไฟฟ้า เปิดแอร์ ตั้งสติสักนิดเถอะครับ ผมคิดว่าเราใช้ชีวิตอย่างสิ้นเปลืองมากๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาให้เลือกใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตบ้าง ไม่ใช่ให้ไปปลูกถั่ว ปลูกงาอย่างที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่รัดเข็มขัดจนกลับไปเป็นคนยากจน พระองค์ท่านเพียงอยากให้เรามีชีวิตโดยใช้ปัญญา อย่าให้กิเลสตัณหาเป็นตัวนำอยู่ตลอดเวลาเพระกิเลสตัณหานั้นผลักดันให้เรามีความต้องการมากเกินเหตุที่ควรจะเป็นในชีวิตจริงๆ เสียด้วยซ้ำ"
แก๊สโซฮอล์ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือ ที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (ETHYL ALCOHOL) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ และเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5 % โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95 ส่วนที่เรียกแก๊สโซฮอล์นั้น ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า GASOLINE และ ETHANOL รวมกันเป็น GASOHOL สำหรับการผสมแอลกอฮอล์ในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ MethyL-Tertiary-ButyL-Ether (MTBE) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านต่อปี
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (GASOHOL) ทุกวันนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ลิตรละเกือบ 30 บาท ได้ทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยและกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในทุกวงการได้พูดคุยถกเถียงกันหนาหู ถึงราคาที่ปรับขึ้นจนใกล้เข้าสู่จุดวิกฤตอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วยประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด และยังคงต้องพึ่งพิงน้ำมันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทนในประเทศมาใช้แทนน้ำมัน และหาแนวทางการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไบโอดีเซล คือการนำน้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์หรือแม้แต่น้ำมันที่ใช้แล้วอย่างน้ำมันที่ทอดไก่ หรือปาท่องโก๋มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจแบ่งไบโอดีเซลตามประเภทของน้ำมัน ที่นำมาใช้ได้ออกเป็น 3 ประเภท
1. น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ไบโอดีเซลประเภทนี้ก็คือน้ำมันพืชแท้ๆ (เช่น น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วลิสง, น้ำมันถั่วเหลือง) หรือน้ำมันจากไขมันสัตว์(เช่น น้ำมันหมู) ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ได้เลยกับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ต้องผสม หรือเติมสารเคมีอื่นใด หรือไม่ต้องนำมาเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันให้เปลืองเวลา เปลืองทรัพยากรอีก
2. ไบโอดีเซลแบบลูกผสม ไบโอดีเซลชนิดนี้เป็นลูกผสมระหว่างน้ำมันพืช (หรือสัตว์) กับ น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล หรืออะไรก็ได้เพื่อให้ไบโอดีเซลที่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลให้มากที่สุด อย่างเช่น โคโคดีเซล (coco-diesel) ที่ อ.ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันก๊าด หรือปาล์มดีเซล (palm-diesel) เป็นการผสมระหว่างน้ำมันปาล์มกับน้ำมันดีเซล
3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ชนิดนี้เป็นความหมายของไบโอดีเซลที่แท้จริงที่เมืองนอกเขาใช้กันทั่วไป อย่างเช่น ในเยอรมัน สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่มาเลเซีย ดังนั้น ถ้าพูดถึงคำว่า “ไบโอดีเซล” ในความหมายของสากลจะหมายถึง ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) นั่นคือ การนำเอาน้ำมันพืชหรือสัตว์ที่มีกรดไขมันไปทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์โดยใช้กรดหรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เอสเทอร์ โดยจะเรียกชนิดของไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา
ไบโอดีเซลชนิดเอสเทอร์นี้มี คุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด ทำให้ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ เราสามารถนำมาใช้กับรถยนต์ได้ แต่ปัญหาที่จะมีก็คือต้นทุนการผลิตที่แพงนั่นเอง
ข้อดีข้อเสียของไบโอดีเซล (เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล) ไบโอดีเซลแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลปกติดังนี้
1. น้ำมันพืชหรือสัตว์ พวกน้ำมันพืชหรือสัตว์มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากคุณสมบัติของมันต่างกับดีเซลค่อนข้างมาก อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เลยมีปัญหาเรื่องการสันดาปไม่สมบูรณ์ เครื่องสะดุด มีผลต่อลูกสูบและวาล์ว มีตะกรันขาวอยู่ในถังน้ำมัน และหนืด ความหนืดสูงที่อุณหภูมิต่ำลงทำให้ จากที่สตาร์ตไม่ค่อยจะติดอยู่แล้วกลายเป็นไม่ติดไปเลยในที่อากาศเย็นๆ แต่มีข้อดีก็คือมีราคาถูก พอใช้ได้กับเครื่องยนต์รอบต่ำ แต่ก็ไม่ค่อยนิยมใช้กัน
2. ไบโอดีเซลลูกผสม เนื่องจากไบโอดีเซลประเภทนี้เกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำมันพืชและน้ำมันปิโตรเลียม ทำให้ลดปัญหาเรื่อง ความหนืดลงไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีปัญหาตอนที่อากาศเย็น และปัญหาเรื่องการอุดตันของเครื่องยนต์คือ ไส้กรองจะอุดตันเร็วกว่าปกติ สำหรับปัญหาอื่นๆไม่มี คุณสมบัติส่วนมากจะเหมือนกับน้ำมันดีเซล เครื่องจะเดินเรียบไม่มีปัญหาเรื่องสะดุดกุกกักเหมือนแบบแรก เครื่องสตาร์ตติดง่าย (แต่ควรมีการอุ่นน้ำมันนิดนึงก่อน) เหมาะสำหรับการใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร
3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ข้อดีอันดับแรกคือค่าซีเทน (cetane ค่าดัชนีการจุดติดไฟ) สูงกว่าน้ำมันดีเซล นั่นคือจุดติดไฟได้ง่ายกว่าน้ำมันดีเซล ทำให้การจุดระเบิดทำได้ดี การสันดาปสมบูรณ์ คาร์บอนมอนอกไซด์ก็เลยน้อย ไม่มีควันดำและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซ้ำเติมสิ่งแวดล้อม ความหนืดคงที่ จึงตัดปัญหาเรื่องความหนืดออกไปได้ แต่ข้อเสียคือต้นทุนสูงกว่าไบโอดีเซลแบบอื่นๆ เครื่องยนต์ให้กำลังต่ำกว่าน้ำมันดีเซล มีการสร้างแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เพิ่มขึ้น แล้วก็อาจต้องดัดแปลงส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่เป็นยาง (rubber) ซึ่งอาจถูกทำลายโดยไบโอดีเซล แต่ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์นี้ใช้กับเครื่องยนต์รอบสูงอย่างรถยนต์ได้
ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก

ASEAN Overview





ESTABLISHMENT
The Association of Southeast Asian Nations, or ASEAN, was established on 8 August 1967 in Bangkok, Thailand, with the signing of the ASEAN Declaration (Bangkok Declaration) by the Founding Fathers of ASEAN, namely Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand.
Brunei Darussalam then joined on 7 January 1984, Viet Nam on 28 July 1995, Lao PDR and Myanmar on 23 July 1997, and Cambodia on 30 April 1999, making up what is today the ten Member States of ASEAN.
AIMS AND PURPOSES
As set out in the ASEAN Declaration, the aims and purposes of ASEAN are:
  1. To accelerate the economic growth, social progress and cultural development in the region through joint endeavours in the spirit of equality and partnership in order to strengthen the foundation for a prosperous and peaceful community of Southeast Asian Nations;
  2. To promote regional peace and stability through abiding respect for justice and the rule of law in the relationship among countries of the region and adherence to the principles of the United Nations Charter;
  3. To promote active collaboration and mutual assistance on matters of common interest in the economic, social, cultural, technical, scientific and administrative fields;
  4. To provide assistance to each other in the form of training and research facilities in the educational, professional, technical and administrative spheres;
  5. To collaborate more effectively for the greater utilisation of their agriculture and industries, the expansion of their trade, including the study of the problems of international commodity trade, the improvement of their transportation and communications facilities and the raising of the living standards of their peoples;
  6. To promote Southeast Asian studies; and
  7. To maintain close and beneficial cooperation with existing international and regional organisations with similar aims and purposes, and explore all avenues for even closer cooperation among themselves.
FUNDAMENTAL PRINCIPLES
In their relations with one another, the ASEAN Member States have adopted the following fundamental principles, as contained in the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) of 1976:
  1. Mutual respect for the independence, sovereignty, equality, territorial integrity, and national identity of all nations;
  2. The right of every State to lead its national existence free from external interference, subversion or coercion;
  3. Non-interference in the internal affairs of one another;
  4. Settlement of differences or disputes by peaceful manner;
  5. Renunciation of the threat or use of force; and
  6. Effective cooperation among themselves.
ASEAN COMMUNITY
The ASEAN Vision 2020, adopted by the ASEAN Leaders on the 30th Anniversary of ASEAN, agreed on a shared vision of ASEAN as a concert of Southeast Asian nations, outward looking, living in peace, stability and prosperity, bonded together in partnership in dynamic development and in a community of caring societies.
At the 9th ASEAN Summit in 2003, the ASEAN Leaders resolved that an ASEAN Community shall be established.
At the 12th ASEAN Summit in January 2007, the Leaders affirmed their strong commitment to accelerate the establishment of an ASEAN Community by 2015 and signed the Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015.
Please click here for the ASEAN Political-Security Community VideoDownload Video.
Please click here for the ASEAN Economic Community Video.
Please click here for ASEAN Socio-Cultural Community Video.
Please click here for ASEAN History and Purposes.
ASEAN CHARTER
The ASEAN Charter serves as a firm foundation in achieving the ASEAN Community by providing legal status and institutional framework for ASEAN. It also codifies ASEAN norms, rules and values; sets clear targets for ASEAN; and presents accountability and compliance.
The ASEAN Charter entered into force on 15 December 2008. A gathering of the ASEAN Foreign Ministers was held at the ASEAN Secretariat in Jakarta to mark this very historic occasion for ASEAN.
With the entry into force of the ASEAN Charter, ASEAN will henceforth operate under a new legal framework and establish a number of new organs to boost its community-building process.
In effect, the ASEAN Charter has become a legally binding agreement among the 10 ASEAN Member States.
Find out more about the ASEAN Charter here.

Ref: http://www.asean.org/asean/about-asean

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.

ชื่อเรื่อง การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. อย่างมีคุณภาพ
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ/ความสำเร็จเกี่ยวกับ   การบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ    ปี 2553
สถานที่เกิดเหตุการณ์      สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท


เนื้อเรื่อง : เป็นการเล่าเรื่อง ความเป็นมาเหตุการณ์ และวิธีการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ อย่างไรบ้างสะท้อนภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการปฏิบัติงานร่วม กับชุมชน โดยย่อ

                   ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) คือคุณภาพของข้อมูล ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และการยอมรับข้อมูลของผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่ข้าพเจ้าได้พบเจอมาตั้งแต่เข้ารับราชการในกรมการพัฒนาชุมชน ในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ จนถึงตำแหน่งพัฒนากรที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการจัดเก็บข้อมูลใน ตำบล จนมาถึงปัจจุบันที่ข้าพเจ้ามาดำรงตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ในกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และต้องรับผิดชอบงานเรื่อง จปฐ. โดยตรง ทำให้ยิ่งรับรู้ถึงปัญหาการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังต้องทำหน้าที่เป็นผู้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในบางครั้ง
                    และ จากปัญหานี้เองจึงทำให้มีแนวคิดที่จะบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้น ฐาน (จปฐ.) ให้มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ข้อมูล โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
                    ๑. เริ่มจากศึกษาแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ที่กรมฯ แจ้งให้จังหวัดทราบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะมีหนังสือแจ้งให้อำเภอทราบและปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อเวลาอำเภอในฐานะผู้ปฏิบัติมีปัญหา เราในฐานะผู้รับผิดชอบงานจะได้สามารถตอบคำถามและแก้ไขปัญหาให้อำเภอได้อย่าง ทันท่วงที
                   ๒. กำหนดแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ของจังหวัด ให้สอดคล้องกับแนวทางของกรมฯ โดยการจัดทำปฏิทินการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๕๓ ของจังหวัดชัยนาท
                   ๓. ออกแบบและจัดทำแบบรายงานผลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการติดตามความก้าวหน้าในการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลฯ
                   ๔. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับจังหวัด และคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ระดับจังหวัด
                   ๕. แจ้งแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ของจังหวัด ให้อำเภอ, คณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด และคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ระดับจังหวัด ทราบ
                   6. ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นช่องทางการรายงานความก้าวหน้าและติดตามผลการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ เป็นประจำทุกเดือน เพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทราบปัญหาการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลฯ ของแต่ละพื้นที่
                   7. กำหนดระยะเวลารายงานผลความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ โดยกำหนดให้อำเภอรายงานทุกวันที่ ๒๐ ของเดือน เพื่อนำผลการรายงานเข้าที่ประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย
                   8. ประชุมชี้แจงผู้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ.
                   9. นำโปรแกรมติดต่อระยะไกล (Teamviewer) มาใช้ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ให้กับพื้นที่โดยตรง
                   10. ประชาสัมพันธ์การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้บุคคลในจังหวัดชัยนาท ทราบทุกระยะ ในหลายๆ ช่องทาง เช่น การประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด, ทางสวท.ชัยนาท, ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ข่าวประชาสัมพันธ์ และระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OA)
                   ๑1. ใช้ website ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นช่องทางในการติดต่อกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น ให้ผู้บันทึกข้อมูลสามารถ download โปรแกรมบันทึกข้อมูล จปฐ. ได้ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท, เปิดกระดานถามตอบเพื่อเป็นช่องทางการติดต่ออีกทางหนึ่ง, นำระบบ OA และโปรแกรม skype มาใช้เป็นช่องทางในการติดต่อกับอำเภอ และใช้ e-mail, msn ส่วนตัวเป็นช่องทางในการติดต่อกับผู้บันทึกข้อมูล และเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ เช่น การรับไฟล์ข้อมูล จปฐ.ที่มีปัญหาไม่สามารถนำเข้าข้อมูลได้จากผู้บันทึกข้อมูล มาให้แก้ไข
                   12. ติดตามข่าวสารความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ตลอดจนข้อสั่งการเพิ่มเติมจากเว็บไซด์กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์สารสนเทศการพัฒนาชุมชน ทุกวัน
                   13. ทดลองใช้โปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ด้วยตนเองเพื่อทราบวิธีการใช้งานและปัญหาที่เกิดขึ้นกับใช้งานโปรแกรม ก่อนแนะนำวิธีการใช้และติดตั้งให้กับผู้บันทึกข้อมูล
                   14. ติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูลทุกเดือน ทั้งกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และกับผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะผู้บันทึกข้อมูล เพื่อทราบปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บันทึกข้อมูล
                   15. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จปฐ. ที่อำเภอได้รวบรวมส่งมาให้ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
                   16. นำผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด เสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด
                   17. ส่งผลข้อมูล จปฐ.ระดับจังหวัด ให้กรมฯ ทันตามกำหนดเวลา
                   18. จัดทำเอกสารรายงานผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ของจังหวัด เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน
                   19. การเพิ่มช่องทางการเข้าใช้ประโยชน์ข้อมูล จปฐ. ในหลากหลายช่องทาง เช่น เอกสารรายงานผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ., เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, บอร์ดประชาสัมพันธ์บริเวณด้านหน้าสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.ชัยนาท)
                   20. ส่งข้อมูลครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. แต่ละตัวชี้วัด ให้กับหน่วยงานเจ้าภาพหลักรับผิดชอบตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการวางแผนและแก้ไข ปัญหา
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Asets) : (นำเหตุการณ์ ประเด็น สำคัญในเนื้อเรื่องมาถอดเป็นขุมความรู้)
                    1. การสร้างความเข้าใจการปฏิบัติงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ
                   2. การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ก่อนสอนแนะผู้ปฏิบัติจริง
                   3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
                   4. การมีช่องทางหลากหลายในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล


แก่นความรู้ (Core Competency) : (นำขุนความรู้มาสกัดเป็นแก่นความรู้)

                    1. การสร้างการยอมรับในข้อมูล
                   2. การใช้ประโยชน์จากข้อมูล     


กลยุทธ์ในการทำงาน : (นำแก่นความรู้มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการทำงาน)

                   ๑. เพื่อให้เกิดการยอมรับในข้อมูลของส่วนราชการ ควรแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ร่วมเป็นคณะทำงานบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯระดับจังหวัด เพื่อให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในข้อมูลร่วมกัน
                   2. การ แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ระดับจังหวัด ควรแต่งตั้งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ทุกกลุ่ม/ฝ่ายในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เพื่อความสะดวกในการติดตามผลการติดตามของคณะทำงานติดตาม และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเอง หรือนักวิชาการพัฒนาชุมชนในกลุ่มงานสารสนเทศฯ  ควรรับผิดชอบติดตามในพื้นที่อำเภอห่างไกล เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีกับคณะทำงานด้วยกัน           ว่าเจ้าของงานรับผิดชอบพื้นที่ไกลกว่าคนอื่นๆ ส่วนนักวิชาการคนอื่นที่เป็นผู้หญิง หรือมีปัญหาในการเดินทางติดตาม ให้รับผิดชอบพื้นที่อำเภอใกล้ๆ เช่นอำเภอเมือง
                   3. การกำหนดเวลารายงานผลความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูลฯ ควรกำหนดให้รายงานก่อนวันประชุมประจำเดือนสำนักงาน เพื่อนำผลการรายงานความก้าวหน้าการบริหารการจัดเก็บข้อมูล แจ้งในที่ประชุมประจำเดือนสำนักงานทราบด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ทุกคนทราบแล้วยังเป็นการช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้เร่งติดตาม และช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่ง
                   4. ใช้เวทีการประชุมประจำเดือนพัฒนาการอำเภอ หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ร่วมกัน เช่นการแลกเปลี่ยนปัญหาการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ที่แต่ละพื้นที่ประสบปัญหาแตกต่างกัน
                   5. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดต่อกับอำเภอด้วยระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OA), เว็บไซด์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด, ระบบ skype มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อความสะดวกรวดเร็ว, โปรแกรมติดต่อระยะไกล (Teamviewer) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการใช้งานโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ. ในพื้นที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว, ใช้ e-mail และ msn ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
                   6. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล ที่หลากหลายนอกจากเอกสาร เช่น ทาง website สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เช่น upload โปรกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ, โปรแกรม Tamviewer และโปรแกรมอื่นๆ บนเว็บไซด์ เพื่อความสะดวกในการนำโปรแกรมไปใช้งานของผู้ปฏิบัติงาน


กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง : ตรวจสอบดูว่ามีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง แนวคิด ทฤษฎีที่สามารถอ้างอิงได้บ้างหรือไม่

                   1. การทำงานแบบมีส่วนร่วม


ชื่อผู้บันทึกความรู้     นางสาวโสภี  บุญศิริ       ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
                             สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท โทรศัพท์ 081-7856090