วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

การค้ามนุษย์ (Human Traffiking)

ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์
ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

        การค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญในระดับสากล เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และวิถีชีวิตของผู้คนและสังคมในหลายระดับ เกิดขึ้นและมีความเกี่ยวพันกับหลายประเทศทั่วภูมิภาคของโลก มีผู้คนนับแสนนับล้านคนโดยเฉพาะเด็กและสตรี ต้องถูกแสวงหาประโยชน์และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย สูญเสียและได้รับความเสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ โอกาสและอนาคต ความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงเกิดความสูญเสียและเสียหายต่อบุคคลรอบข้าง ชุมชน และสังคม ซึ่งอาจไม่สามารถประเมินมูลค่าได้เป็นตัวเงิน โดยการค้ามนุษย์นั้นโดยมากปรากฎให้เห็นในรูปแบบที่ผ่านนายหน้าหรือเอเย่นต์ และผ่านการบริการทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้าประเวณีและเพื่อการค้าแรงงาน
        ปัจจุบันพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกื้อหนุนให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อ แสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ปัจจัยนี้ส่งผลให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียมีความซับซ้อน มีประชาชนของแทบทุกประเทศล้วนตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ LPN พบว่า แนวโน้มจำนวนของแรงงานข้ามชาติที่ถูกหลอกนั้น มากขึ้นทุกที
สถานการณ์ปัญหาการค้ามนุษย์มีความซับซ้อน หลากหลายมิติ อาทิ การบังคับใช้แรงงานทาสในสถานประกอบการ บนเรือประมง การแสวงหาประโยชน์ บังคับขอทาน กักขังหน่วงเหนี่ยว ทำร้ายทุบตี ข่มขืน บังคับให้ขายบริการทางเพศ หลายกรณีมักพบเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องและแสวงหาประโยชน์ เปิดบริสุทธิ์เด็ก รับ สินบน มีส่วนร่วมในการปลอมแปลงเอกสาร ปกปิดพยานหลักฐานและมีลักษณะการกระทำที่เป็นการสนับสนุนกระบวนการค้ามนุษย์ จนยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาการค้ามนุษย์มีขอบข่ายกว้างขวางและเป็นปัญหาที่รุนแรง ดังนั้นการพัฒนางานในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการคัดแยกผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ การสัมภาษณ์ผู้เสียหายที่ต้องใช้นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เข้าร่วม เพื่อสืบหาที่มาของปัญหา และดำเนินการกับผู้กระทำผิดตามกฎหมาย  ก่อนที่จะผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้กลับประเทศ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ ในการดูแล คุ้มครอง และฟื้นฟู ผู้เสียหายอย่างเป็นระบบ

การค้ามนุษย์คืออะไร
                ใน พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ระบุความหมายของการค้ามนุษย์ไว้ว่า
การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบ อื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจ ควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงประโยชน์ การแสวงประโยชน์ อย่างน้อยที่สุด ให้รวมถึงการแสวงประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่น หรือการแสวงประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระทำอื่นเสมือนการเอาคนลงเป็นทาส การทำให้ตกอยู่ใต้บังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจากร่างกาย ให้ถือว่าการจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อความมุ่งประสงค์ในการ แสวงประโยชน์ เป็นการค้ามนุษย์ แม้ว่าจะไม่มีการใช้วิธีการใด ๆ ที่ระบุไว้
ในพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า การค้ามนุษย์โดยตรง แต่ในมาตรา 5 ระบุ ดังนี้
ใน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าหญิงหรือเด็ก ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด รับ หน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง ซึ่งหญิงหรือเด็ก หรือจัดให้หญิง หรือเด็กกระทำการหรือยอมรับการกระทำใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าหญิงหรือเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน หรือพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้
ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2540เพื่อ ให้สอดคล้องกับ พิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบขนย้ายผู้ย้ายถิ่นทางบก ทะเล และอากาศ อันเป็นพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายไว้ว่า
ผู้ ใดกระทำต่อบุคคลอื่นดังต่อไปนี้ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ + จัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปที่ใด หน่วงเหนี่ยว กักขัง จัดให้ อยู่อาศัยหรือรับไว้ซึ่งบุคคลใด + ด้วยวิธีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือโดยอาศัยความอ่อนด้อยประสบการณ์หรือความรู้ของบุคคล หรือโดยการ ให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น เพื่อให้รับความยินยอมของผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลบุคคลนั้น และ + โดยเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ในกรณีที่เป็นการกระทำต่อเด็ก ให้ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ และแม้เด็กนั้นจะยินยอมก็ตาม
การ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ หมายความว่า การแสวงหาประโยชน์จากการค้า ประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศใน รูปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการเอาคนลงเป็นทาส ตัดอวัยวะออกจาก ร่างกาย ให้เด็กกระทำการที่ผิดกฎหมายอาญา หรือการกระทำอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน หรือที่รุนแรงกว่านั้น
สรุปการค้ามนุษย์คือ การ กระทำและความพยายามใด ๆ ในการหา ขนส่ง ลำเลียง ซื้อ ขาย ส่งต่อ รับ กักขัง หน่วงเหนี่ยวคนเพื่อให้คนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย ยอมทำในสิ่งไม่อยากทำหรือตกอยู่ในสภาพที่ลำบากโดยถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกแสวงหาประโยชน์

ประเภทการค้ามนุษย์
อันดับหนึ่งของธุรกิจ "ค้ามนุษย์" ร้อยละ 79 เป็นการใช้ประโยชน์ทางเพศ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งรูปแบบที่พบเห็นเป็นประจำ เช่น
               -การบริการทางเพศ(การค้าบริการทางเพศ)
             -การใช้แรงงานเยี่ยงทาส(การค้าทาส)
             -การรับจ้างแต่งงาน
             -การขอทาน
             -การตัดอวัยวะออกจากร่างกาย

สาเหตุของปัญหาการค้ามนุษย์
          ปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ โดยมีสาเหตุจากกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดภาวะโลกไร้พรมแดน ความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เกิดเครือข่ายธุรกิจผิดกฎหมาย และกระบวนการค้ามนุษย์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น จนกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
           สาเหตุของการเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์ มี 3 ปัจจัย คือ
           1. ปัจจัยที่ผลักดัน ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เมื่อ 10-20 ปี ที่ผ่านมา ความยากจนอาจเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้หญิงและเด็กตกอยู่ในสภาพถูกค้า แต่ภายหลังพบว่า ความยากจนโดยตัวของมันเองไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เกิดการค้าหญิง แต่มักจะเป็นความยากจนรวมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การขาดโอกาสได้รับการศึกษา การเข้าไม่ถึงบริการของรัฐการขาดทักษะอาชีพหรือความไม่รู้ โดยเฉพาะความไม่รู้เท่าทันถึงวิธีการหลอกลวง ตั้งแต่หลวกลวงเรื่องค่าจ้างลักษณะงาน ความไม่รู้เรื่อง หนี้สิน อันเกิดจากนายจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปจนถึงวิธีการปลอมแปลงเอกสารสำคัญต่าง ๆ
          นอกจากนี้สภาพความเลวร้ายในครอบครัวก็มีส่วนผลักดันให้หญิงและเด็กต้องแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า โดยไม่ทันคำนึงถึงอันตรายต่าง ๆ
          2. ปัจจัยที่ดึงดูด คือความต้องการเงินเพื่อยังชีพ ส่งให้บิดามารดาหรือซื้อของที่ต้องการอันเนื่องมาจากค่านิยมเชื่อมโยงกับ บริโภคนิยมและวัตถุนิยม
          3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติและค่านิยม ได้แก่ การมีค่านิยมที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการมองว่าผู้หญิงและเด็กมีความด้อยด้าน เพศและอายุ ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอกลวงและถูกบังคับได้ง่าย
           เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
          1. เด็กและหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
          2. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทย ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
          3. เด็กและหญิงต่างด้าวที่เข้าประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมายแต่ภายหลังตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
          4. เด็กและหญิงที่มิได้มีสัญชาติไทย แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
                     
สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทย
           ในปัจจุบันปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและหญิง เป็นปัญหาระดับโลกและได้แพร่ขยายมากขึ้น ซึ่งในระยะแรก ๆ มุ่งไปที่การเอารัดเอาเปรียบทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีต่อเด็ก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจบริการทางเพศ ต่อมาปัญหาได้ขยายตัวเป็นการใช้แรงงานรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การบังคับขู่เข็ญ การทำร้ายร่างกาย จิตใจ การทำให้เสียอิสระภาพและศักดิ์ศรีของการเป็นมนุษย์ ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นการ "ค้าทาส" ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
           ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์และตกอยู่ในสถานะ 3 สถานะ คือ
           -เป็นประเทศต้นทาง มีการนำคนจากพื้นที่ชนบทชุมชนชาวไทยภูเขา หรืออื่น ๆ ส่งไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
           -เป็นประเทศทางผ่าน ขบวนการค้ามนุษย์ใช้เป็นทางผ่านพาคนจากประเทศพม่า ลาว จีน เขมรฯลฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ
            -เป็นประเทศปลายทาง มีการนำคนจากที่อื่นเข้ามาพักและแสวงหาประโยชน์ 

ซึ่งในปี2547  มีนโยบายรัฐบาล   โดยนายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ให้การค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ และมอบนโยบายด้านการค้ามนุษย์ 6 ข้อ คือ
                        -การเสริมสร้างศักยภาพ
                        -การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                        -การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายด้านการค้ามนุษย์
                        -การรณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นปัญหาอย่างแท้จริง
                        -การฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
                        -การปรับระบบความคิด ทัศนคติของคนในสังคม
และประเทศไทยบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาตั้งแต่ปี 2551 แต่ประเทศไทยถูกลดระดับความน่าเชื่อถือในสถานการณ์การค้ามนุษย์จาก Tier II เป็น Tier II Watch List  หรือบัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ ในรายงานระบุว่า แม้กระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จะพัฒนาขึ้นอย่างมีลำดับ แต่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยยังคงล้มเหลว มีการดำเนินการอย่างมีข้อจำกัด เกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย การเพิกเฉยต่อการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการแสวงหาผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับกระบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างจริงจัง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2549  ที่ผ่านมา ก็มีคดีฐานความผิดค้ามนุษย์หลายกรณีที่ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐ อาทิ  คดีสุไหโกลก คดีรัญญาแพ้ว คดีประภาสนาวี คดีอโนมา คดีแสมสาร คดีกันตัง คดีลพบุรี และคดีย่อยๆ อีกจำนวนมาก  ซึ่งคดีเหล่านี้บางคดียังไม่สามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้

ชมคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการค้ามนุษย์



ทางกลุ่มได้แบ่งประเด็นการค้ามนุษย์ออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ในการนำเสนอคือ

1.    การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ



การ แสวงหาผลประโยชน์จากเด็ก หมายถึง การบังคับ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใด ให้เด็กกระทำการใด หรือไม่กระทำการใด อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กมีการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ อันป็นการกระทำผิดกฏหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกฏหมายอาญา เช่น
เป็นธุระจัดหาเด็ก เพื่อการค้าประเวณี
ประสงค์แห่งการค้า ทำ ผลิต เผยแพร่ จำหน่าย นำเข้า สื่อลามกอนาจารเด็ก
การรับเด็ก ทำงานในสถานประกอบการต้องห้ามตามกฏหมาย เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหนัก สถานบันเทิงกลางคืน เป็นต้น 

 การค้ามนุษย์เพื่อบริการทางเพศ คือ

การค้ามนุษย์เพื่อบริการทางเพศหมายถึง การจัดหา การให้ที่พักพิง การขนส่ง หรือการนำตัวบุคคล มาเพื่อจุดประสงค์ของการมีเพศสัมพันธ์เชิงพาณิชย์
การมีเพศสัมพันธ์ในเชิงพาณิชย์หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ซึ่งทำให้มีผู้ใดก็ตามให้หรือรับสิ่งใดที่มีมูลค่าจากการกระทำดังกล่าว

การท่องเที่ยวเพื่อบริการทางเพศกับเด็กคืออะไร
แต่ ละปีจะมีเด็กกว่า 1 ล้านคนที่ถูกแสวงประโยชน์ในการค้าบริการทางเพศในโลก การท่องเที่ยวเพื่อการบริการทางเพศกับเด็ก (Child Sex Tourism - CST) หมายความถึงการที่คนเดินทางจากประเทศของตนเองไปยังอีกประเทศหนึ่งและมีเพศ สัมพันธ์เชิงพาณิชย์กับเด็ก ๆ CST เป็น การทำร้ายศักดิ์ศรีของเด็กอย่างน่าละอาย และเป็นการกระทำทารุณเด็กอย่างรุนแรงรูปแบบหนึ่ง การแสวงประโยชน์ทางเพศกับเด็ก ๆ จะมีผลกระทบที่ตามมาซึ่งเป็นความเสียหายอย่างมาก นักท่องเที่ยว ซึ่งเกี่ยวข้องกับ CST ส่วนใหญ่จะเดิน ทางไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อจะได้ไม่มีใครรู้จักและเป็น ประเทศที่มีโสเภณีเด็กอยู่แล้ว สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาชญากรรมมักจะได้แก่การบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ การคอร์รัปชั่น อินเตอร์เน็ต การเดินทางที่สะดวกขึ้น และความยากจน ผู้ที่กระทำผิดทางเพศเช่นนี้จะมาจากภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทุกรูป แบบ และอาจจะอยู่ในตำแหน่งซึ่งผู้คนไว้วางใจ

กลุ่มเป้าหมาย
เด็ก ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการถูกนำมาแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของเด็กเร่ร่อนที่อาศัยพื้นที่สาธารณะหลับนอน โดยกลุ่มมิจฉาชีพจะเข้าไปตีสนิทและชักชวนเด็กๆ โดยการเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น เงิน เกมส์ ของเล่น หรืออาหารให้ เพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กเชื่อใจ แล้วจึงชักชวนเด็กไปทำงาน
นอก จากนี้ยังพบว่า มีเด็กในครอบครัวที่ตกเป็นเหยื่อเช่นเดียวกัน คือ เด็กที่อยู่ในร้านเกมส์ หรือโต๊ะสนุ๊กเกอร์ โดยพวกมิจฉาชีพจะรู้ว่าเด็กต้องการเงินไปเล่นเกมส์ ก็มักจะเข้ามาตีสนิทและเสนอเงินให้เด็ก จากนั้นจึงชักชวนเด็กไปทำงาน โดยเด็กกลุ่มเสี่ยงมีอายุตั้งแต่ 10 – 18 ปี ทั้งชายและหญิง ตลอดจนเด็กที่มีความเบี่ยงเบนทางเพศ 
พื้นที่เสี่ยงในการล่อลวงเด็กไปแสวงหาผลประโยชน์ ได้แก่
สนามหลวง
บริเวณสะพานพุทธ
วงเวียนใหญ่
สถานีรถไฟหัวลำโพง
สวนลุมพินี
ย่านสีลมเป็นต้น

ทำไมผู้หญิงจึงตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์



             -สังคมเชื่อว่า ผู้ชายมีแรงขับธรรมชาติทางเพศมาก จำเป็นต้องได้รับการตอบสนอง ทางเพศอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การใช้บริการทางเพศจากหญิงขายบริการเป็นเรื่องปกติและต้องการเพิ่มมากขึ้น
             -ผู้หญิงถูกกำหนดให้เชื่อว่าตนเองไม่มีสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย มีหน้าที่ตอบสนอง เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินตรา จึงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย
            -ธุรกิจลามกอนาจาร การค้าบริการทางเพศ สื่อสิ่งพิมพ์แพร่หลายอยู่ทั่วไปและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
                -ค่านิยมด้านวัตถุนิยมแพร่หลาย ความต้องการเงินเพิ่มขึ้น  ผู้หญิงบางกลุ่มยอมทำทุกวิธีทางเพื่อให้ได้เงินมาสนองค่านิยมวัตถุนิยม
                -ด้วยปัญหาทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจ ผู้หญิงบางกลุ่มเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบครอบครัว บางคนเมื่อถึงทางตัน มีวิธีไหนที่จะได้เงินมาเลี้ยงดูครอบครัวก็ยอมทำทุกอย่างแม้จะเป็นการขายตัว ขายศักดิ์ศรีก็ตามเป็นต้น

ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์
          -ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง และส่งเสริมบทบาทครอบครัว โรงเรียนชุมชน และประชาชนทั่วไปในการป้องกันและเฝ้าระวัง
           -สร้างความตระหนักในบทบาทหญิงชาย ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน จนถึงระดับประเทศเพื่อขจัดปัญหาการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
          -เสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้หญิงและเด็กในทุกๆด้าน
          -สร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย และพัฒนาอาชีพให้ตรงตามความต้องการของตลาด
          -รณรงค์ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียง ลดค่านิยมในการบริโภควัตถุนิยม
          -รณรงค์ให้สังคมเลิกสนับสนุนบริษัท สื่อ หรือองค์กรที่มีการกระทำใดที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

หลักปฏิบัติที่ต้องจดจำในการช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์
          คนที่ตกเป็นเหยื่อ ล้วนตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ทุกข์ทรมาน อยู่ในสภาพเสียเปรียบ ขาดที่พึ่ง ไม่มีใครที่ช่วยเหลือเขาได้ หรือถูกหยามเหยียด จึงควรดำเนินการดังนี้
          -สนับสนุนช่วยเหลือเขาเหล่านั้นให้ตัดสินใจที่จะจัดการกับชีวิตของตนด้วยตนเอง
          -เคารพและยอมรับในความคิดเห็นของเขา
          -ช่วยสร้างความมั่นใจและนับถือตนเองให้กับเขา
          -เก็บรักษาความลับโดยไม่นำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
          -อย่าให้คำสัญญาใด ๆ ในสิ่งที่กระทำไม่ได้



รูปแบบใหม่การค้าบริการ
แฉ นวดแผนไทยพร้อมขายเซ็กซ์กำลังเป็นที่นิยมในยุโรป ทั้งฝรั่งเศส เดนมาร์ก เยอรมัน หวั่นทำภาพพจน์นวดไทยเสื่อมเสียทั่วโลก เผยหญิงไทยระดับเรียนจบปริญญาราชภัฏแห่ไปทำกันเพียบ รวมถึงเด็กปวส.-ปวช. เพราะรายได้ดีมาก จนต้องกลับมาเรียนนวดวัดโพธิ์เพื่อให้ได้ใบรับรองกลับไปทำงาน เผยขณะทำงานสาวไทยจะใส่เสื้อคลุมตัวเดียว โดยบริการรู้กันว่ามีแบบนวดธรรมดา แบบนวดน้ำมันและแบบร่วมเพศ ระบุแม้แต่สาวใต้ทั้งปัตตานี นครฯ สุราษฎร์ฯ ก็นิยมไปขายบริการแบบนี้
 จาก ข้อมูลที่ได้รับในการเข้าไปแก้ปัญหาการค้ามนุษย์พบว่า มีขบวนการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบแบบมืออาชีพในการปลอมแปลงเอกสารและหนังสือ เดินทาง ส่วนนายหน้ามีทั้งเพื่อนและญาติสนิท ที่น่าห่วง คือ คนไปขายบริการทางเพศนับวันมีการศึกษาสูงขึ้น ตั้งแต่ปวส.-ปริญญาตรี
เนื่อง จากการตรวจสอบคนเข้าเมืองของต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นมีความเข้มงวด มากขึ้น ขบวนการค้ามนุษย์ต้องใช้วิธีการสลับซับซ้อน นายหน้าจึงมุ่งไปหาเหยื่อที่มีความรู้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ และยอมรับว่าหญิงไทยบางส่วนก็ไปทำงานด้วยความสมัครใจ ได้มีการรับข้อมูลจากเครือข่ายช่วยเหลือหญิงไทยที่ถูกหลอกไปขายบริการ ทางเพศว่า มีหญิงไทยจำนวนหนึ่งถูกกักขังที่ประเทศมาเลเซีย โดยคนที่หลบหนีมาได้ให้ข้อมูลว่ายังมีเพื่อนคนไทยอีกหลายคนที่ถูกส่งขายไปมา เลย์ และถูกนำไปซ่อนตัวไว้ในสถานที่มิดชิดจนคนภายนอกไม่รู้ โดยมีขบวนการทำงานสลับซับซ้อนมาก
รายงาน ข่าวจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยว่า ยังมีหญิงไทยที่ถูกหลอกไปค้าบริการทางเพศที่มาเลเซียอย่างต่อเนื่อง โดยหญิงไทยจะถูกพาไปซ่อนตัวไว้ในโรงแรมขนาดใหญ่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ และยะโฮบารู เป็นโรงแรมหรูระดับห้าดาวใจกลางเมือง ซึ่งจะมีห้องลับอยู่ชั้นใต้ดินไว้ซ่อนผู้หญิง เพื่อหลบเลี่ยงการจับกุมขณะตำรวจมาเลย์เข้ามาตรวจ ทำให้ยากในการเข้าไปช่วยเหลือและจับกุม ทั้งนี้ผู้หญิงที่ไปขายบริการที่มาเลย์มีทั้งถูกหลอกและไปแบบสมัครใจ
บางรายจบปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ก็ยังไป ส่วนเด็กที่ถูกหลอกไปขายอายุต่ำกว่า 18 ปี มีจำนวนมาก อายุน้อยสุดเพียง 13 ปี
งาน ฝ่ายเอเชียอาคเนย์ ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ปัญหาหญิงไทยไปขายบริการที่เยอรมัน โดยเฉพาะเมืองฮัมบูร์ก พบว่ามีรูปแบบใหม่โดยการแอบแฝงมากับการนวดแผนไทยและสปาซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ของชายชาวยุโรป ทั้งในเยอรมัน ฝรั่งเศส ส่วนในเดนมาร์กมีมานานแล้ว โดยในเยอรมันมีการโฆษณาผ่านทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งนายหน้าหรือเจ้าของสถานที่จะจัดเช่าห้องอพาร์ตเมนต์ให้ผู้หญิงไปนั่ง แล้วให้ผู้ชายเข้าไปเลือก การนวดมีทั้งนวดธรรมดา นวดน้ำมันและบริการพิเศษที่รู้กันว่า คือ การขายบริการทางเพศ โดยผู้หญิงจะสวมเสื้อคลุมตัวเดียวแล้วนวด ซึ่งมีทั้งการร่วมเพศโดยตรงและการใช้มือ ส่วนค่าบริการรวมขายบริการทางเพศด้วยชั่วโมงละ 70 ยูโร ผู้หญิงจะได้รับส่วนแบ่ง 40 ยูโร "หญิงไทยที่ไปทำงานส่วนใหญ่เป็นคนจากภาคอีสาน ภาคกลางตอนเหนือ ภาคเหนือ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วง 4-5 ปี มานี้มีหญิงไทยจากภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและปัตตานี ไปขายบริการมากขึ้น เนื่องจากทำงานที่ภูเก็ตไปรู้จักชาวเยอรมันจึงตามกันไป หรือรู้จักทางอินเตอร์เน็ต
นอก จากนี้หญิงไทยที่ไปพบว่าจบปริญญาตรี จากราชภัฏเยอะมาก นอกจากนั้นก็มีปวช. ปวส. การให้บริการแฝงดังกล่าวทำให้ภาพพจน์การนวดแผนไทยเสื่อมเสีย คนต่างชาติกำลังมองว่าถ้านวดแผนไทย คือ การขายบริการทางเพศไปแล้ว จึงอยากให้รัฐเข้าไปตรวจสอบและควบคุมเรื่องนี้โดยเร็ว เนื่องจากขณะนี้มีการส่งหญิงไทยกลับมาเรียนนวดที่วัดโพธิ์ 3-5 วัน ก็ได้รับใบประกาศ จึงจะได้ทำงาน  ทุกวันนี้การหลอกลวงหญิงไทยไปค้าโดยใช้วิธีบังคับทารุณแทบไม่เห็นแล้ว จะมีก็เป็นการหลอกลวงเรื่องรายได้และเวลาการทำงานที่ต้องทำงานตั้งแต่เวลา 10.00 -22.00 น. และห้ามมีแฟนเพราะจะทำให้รู้มาก เมื่อวีซ่าขาด นายหน้าจะแนะนำให้จ้างชายชาวเยอรมันมาแต่งงาน โดยผู้หญิงต้องจ่ายเงินประมาณ 2,000 ยูโร จึงอยู่ทำงานต่อได้ จนกว่าจะครบ 2 ปี ถึงจะสามารถอยู่ในประเทศได้อย่างถาวร
ระหว่าง นี้หากมีปัญหานายหน้าก็จะไม่ให้สามีชาวเยอรมันต่อวีซ่าให้ ผู้หญิงก็ต้องถูกส่งกลับประเทศ มีหลายรายที่ยอมทำศัลยกรรมหน้า เปลี่ยนชื่อนามสกุล เพื่อให้กลับไปทำงานที่เยอรมันได้อีก เจ้าหน้าที่สถานทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า มีผู้หญิงไปขายบริการที่ญี่ปุ่นจำนวนมาก ทั้งหญิงไทย ฟิลิปปินส์และโคลัมเบีย โดยใช้เอกสารและพาสปอร์ตปลอมในการเดินทาง
ชมคลิปวีดีโอ




2.    ธุรกิจเด็กขอทาน


ขอทาน
หมาย ถึง การขอเงินหรือสิ่งของเลี้ยงชีวิต แต่ข้อเท็จจริงจากการศึกษาและสำรวจข้อมูลดังกล่าวพบว่า การขอทานได้ถูกหยิบยกมาเป็นวิธีการหาเงินโดยใช้เด็กเป็นเครื่องมือ ซึ่งมีผลประโยชน์ตอบแทนสูงให้แก่กลุ่มบุคคล หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวของเด็กคนนั้นเอง เป็นผลให้เกิดการขยายตัวจนมีการเคลื่อนย้ายเด็กเข้าสู่ขบวนการขอทานเพิ่ม ยิ่งขึ้น จึงทำให้นิยามของการขอทานเพื่อเลี้ยงชีพเริ่มเข้าสู่ภัยเงียบของ ธุรกิจเด็กขอทาน นั่นเอง
เด็กขอทาน ประติมากรรม ด้านมืดของสังคม ที่แสดงถึงความตกต่ำของจิตใจมนุษย์ในการนำเด็กมาแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบ ที่เลวร้ายที่สุด เมื่อสังคมเริ่มตั้งคำถามต่อหน่วย งานภาครัฐในการจัดการและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ภาพของเด็กขอทานที่นั่งอยู่ตามข้างถนนก็บางตาลง แต่เมื่อใดที่รัฐละเลยประติมากรรมเหล่านั้น ก็กลับมา ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น


เด็กขอทานมาจากไหน
หากพิจารณาจากพื้นที่ภูมิศาสตร์ทำเลทองในการขอทาน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อาจกล่าวได้ว่า กว่า 90% คือ ขอทานที่มาจากประเทศกัมพูชา ด้วยระยะทางที่ไม่ไกลนักเพียงสองร้อยกว่ากิโลเมตร จากชายแดนด้านอำเภออรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว เข้ามาถึงเมืองหลวงของประเทศไทย คงมิใช่เรื่องยากที่ขบวนการค้ามนุษย์จะลำเลียง เด็กเพื่อมาเป็นแรงงานทาสในธุรกิจขอทาน
เด็ก ที่ถูกนำมาเป็นขอทานมีอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึงประมาณ 10 ปี หากโตเกินกว่านั้นแล้ว ย่อมหมดความน่าสงสาร ไม่อาจทำรายได้ให้แก่ธุรกิจขอทานแต่อย่างใด
เกือบทุกครั้ง เรามักเห็นว่า เด็กขอทาน มีหญิงขอทานที่กล่าวอ้างตัวเองว่าเป็น แม่ คอยนั่งอยู่ใกล้ๆ หรือ นั่งขอทานห่างไปอีกสักมุมสะพานลอยอยู่เสมอ นั่นอาจเป็นแม่ของเด็กขอทานหรือมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับเด็กคนนั้นจริงๆ
แต่ อีกส่วนหนึ่งเราพบว่าหญิงและเด็กที่นั่งอยู่ด้วยกันนั้นไม่มีความสัมพันธ์ ทางสายเลือดและเด็กถูกนำมาขอทานด้วยวิธีการที่ไม่ต่างจากสินค้า คือ การเช่า และซื้อ มาจากครอบครัวของเด็กเอง!!! ถึงที่สุดแล้วไม่ว่าเด็กจะมาจากวิธีการก็ตาม พวกเขาต้องได้รับการการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันกับเด็กทั่ว โลก และชีวิตของพวกเขาไม่ควรเรียนรู้โลกกว้างจากข้างถนนโดยเด็ดขาด

วิธีการในการนำเข้าเด็กขอทาน
เส้นทางในการนำเด็กและขบวนการขอทานเข้า สู่ประเทศไทย ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนหรือยุ่งยากแต่อย่างใด เพราะมีวิธีนำพาเด็กมุ่งเข้าสู่ เมืองหลวงของประเทศไทยได้หลากหลายวิธีทางรถยนต์เป็นวิธีการยอดนิยม อีกวิธีการหนึ่งที่ขบวนการค้าคน จะขนส่งสินค้ามนุษย์เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย โดยสนนราคาที่ 1,500-3,000 บาทต่อหญิงและเด็ก 1 คู่
ซึ่ง หากพิจารณาถึงสภาพการตรวจตราที่เข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ในเส้นทางจากตลาดโรงเกลือถึงจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีขบวนการขนคนรอดสายตาไปได้ แต่ยุทธวิธี กองทัพมด ที่จอดรถเดินเท้าอ้อมผ่านด่านตรวจ ก็ยังคงเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ และใช้ได้เสมออย่างไม่น่าเชื่อเช่นกัน
ทาง รถไฟ... เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะสามารถขนคนเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก ทั้งๆ ที่บนขบวนรถไฟมีเจ้าหน้าที่รถไฟ และตำรวจรถไฟ คอยตรวจตราอย่างเข้มงวด
หญิง ขอทานคนหนึ่ง เธอเปิดเผยว่า สามารถซื้อตั๋วรถไฟจากช่องจำหน่ายตั๋วได้ด้วยตัวเอง เธอยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า เต้องเตรียมเงินจำนวนหนึ่งไว้จ่ายค่าผ่านทางบนรถไฟสอดคล้องกับเจ้าหน้าที่ จำหน่ายตั๋วที่สถานีรถไฟอรัญประเทศที่กล่าวว่า ใครมีเงินมา ซื้อ ก็ขายทั้งนั้น
รถ โดยสาร...รถโดยสารประจำทางที่แล่นจากอรัญประเทศเข้ากรุงเทพมหานคร ต้องหยุดตรวจค้นและแสดงบัตรประชาชนของผู้โดยสารทุกครั้ง แต่มีรถโดยสารประเภทหนึ่งที่วิ่งรับนักท่องเที่ยวจากบ่อนคาสิโนเข้ามายัง กรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องหยุดตรวจ และรถโดยสารดังกล่าวไม่เฉพาะนักเล่นการพนันเท่านั้นที่สามารถขึ้นได้ แต่ทุกคนที่มีเงินจ่ายค่าโดยสาร ก็สามารถเดินทางมากับรถ โดยสารคันนี้ได้ทั้งนั้น ทุกอย่างเหมือนรถโดยสารประจำทาง แต่สิ่งที่ต่างกันคือ รถโดยสารเหล่านี้ไม่ต้องหยุดตรวจที่ด่านตรวจ

เด็กเครื่องมือในการขอทาน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเมื่อใดก็ตามที่ท่านพบเห็นเด็กขอทานนั่ง หน้าตาใสซื่อ หรืออยู่ในอ้อมกอดของคนที่พาเขามาขอทาน ความสงสารและความเห็นใจจะคืบคลานเข้าสู่สามัญสำนึก ของเราๆ ท่านๆ และหลังจากนั้น คงต้องถึงเวลาตัดสินใจว่า จะยอมใจแข็งเดินจากไป หรือ ควักเศษเงินตอบแทนความน่าสงสารเบื้องหน้า
ด้วยความน่าสงสารและน่าเห็นใจนี่เอง ที่ทำให้เด็ก ต้องกลายมาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ และการขอทาน ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำเงินให้แก่ผู้อยู่เบื้องหลังได้ไม่น้อยทีเดียว
ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ได้ลงพื้นที่ติดตามขบวนการต่างๆ ที่นำเด็กมาขอทาน พบว่า เด็กบางรายต้องออกมาขอทานตั้งแต่ 7 โมงเช้า จนกระทั่งเวลา 5 ทุ่ม กว่าจะได้กลับบ้านพักผ่อน ระยะเวลาในการขอทานช่างเนินนานนัก เมื่อเทียบกับคุณภาพชีวิตแบบข้างถนนที่เด็กไม่สมควรจะได้รับ ซ้ำร้ายเด็กเหล่านี้ขาดโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้น เมื่อเด็กเติบโตขึ้น ทางเลือกในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวก็ลดน้อยลง ผลักดันให้เด็กกลุ่มนี้อาจเติบโตในภาวะของเด็กเร่ร่อนและอาจก่ออาชญากรรม เพื่อประทังชีวิตในอนาคต
ไม่ ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม หากคนในสังคมยังมองภาพการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กอย่างตื้นเขิน ไม่ตั้งคำถามถึงที่มาที่ไป หรือ สงสัยต่อคุณภาพชีวิตที่เด็กทุกคนควรจะมีและควรได้รับการปกป้องคุ้มครอง"เด็กขอทาน" ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ขายได้ และเป็นจะภาพชินตาของคนในสังคมต่อไป


บทบาทรัฐในการแก้ไขปัญหา
รัฐ คง มิอาจบ่ายเบี่ยงและปฏิเสธความรับผิดชอบในปัญหาเด็กขอทานไปได้ ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กไทยหรือเด็กสัญชาติใดก็ตาม เพราะรัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนที่อยู่บนพื้นแผ่นดินไทย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คงต้องยืดอกออกมาร่วมรับผิดชอบในฐานะเจ้าภาพอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์และการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
การเอาจริงเอาจังในการช่วยเหลือ เด็กขอทานและปราบปรามขบวนการค้ามนุษ์ ที่นำเด็กมาขอทาน เมื่อสักประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ปัจจุบันหน่วยงานรัฐที่คอยจับชีพจรปัญหาของสังคมกระทรวงนี้ อาจว่างเว้นและละเลยต่อ ปัญหาการนำเด็กมาขอทาน จึงทำให้ เด็กขอทาน เริ่มถูกนำกลับมาแสวงหาผลประโยชน์และผุดเต็มทั่วทุกพื้นที่อีกครั้ง
บทบาทสำคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่สำคัญอีก ประการหนึ่งในการเปิดศูนย์ฮอทไลน์ ชื่อว่า ศูนย์ประชาบดี คอย ทำหน้าที่รับแจ้งปัญหาสังคมต่างๆ รวมทั้งเรื่องเด็กขอทาน ควรมีบทบาทเชิงรุกมากกว่าการรับแจ้งเพื่อประสานงานไปยังตำรวจท้องที่เกิด เหตุอีกต่อหนึ่ง ซึ่งนั่นแทบเป็นการโยนข้อมูลของพลเมืองดีทิ้งลงถังขยะจนแทบไม่มีประโยชน์ ที่ต้องกล่าวเช่นนั้นเพราะว่า กระบวนการของตำรวจท้องที่เมื่อได้รับแจ้งจากศูนย์ประชาบดี ส่วนใหญ่จะลงพื้นที่ไปตรวจสอบและไล่ให้เด็กไปนั่งขอทานที่อื่นนอกพื้นที่รับ ผิดชอบของ หรือบ่อยครั้งที่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาดูที่เกิดเหตุเลย ซึ่งลักษณะการดำเนินการแบบนี้แทบไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย การปราบปรามขบวนการขอทานจำ เป็นต้องทำการสืบสวนเก็บข้อมูลมาขยายผลเพื่อเชื่อมโยงคนบงการใหญ่ มิใช่เพียงไล่เด็กให้พ้นหูพ้นตาแล้วนั่งภูมิใจว่าไม่มีขอทานในพื้นที่ที่รับ ผิดชอบ

รายงานสถานการณ์เด็กขอทานรอบปี 2554
ในปีรอบปี 2554 นี้ ถือได้ว่าสภาพปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานมีความรุนแรงมากกว่า ปีที่ผ่านมา ปรากฎจากข่าวการช่วยเหลือเด็กขอทานที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก รวมเกือบ 20 ข่าวตลอดทั้งปี ซึ่งในแต่ละครั้งนอกจากจะสามารถช่วยเหลือเด็กขอทานได้เป็นจำนวนมากแล้วยัง กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ อาทิเช่น จังหวัดชลบุรี , ระยอง , เชียงใหม่ ,สุรินทร์ , สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น โดยมีทั้งที่เป็นลักษณะของขบวนการค้ามนุษย์รวมถึงการลักพาตัวเด็กไปตระเวนขอ ทานยังพื้นที่ต่างๆ อีกด้วย
จาก การดำเนินบทบาทในการเป็นศูนย์รับแจ้งเบาะแสการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการ ขอทานของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา มีสถิติการรับแจ้งนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 พฤศจิกายน 54 สูงถึง 118 ราย โดยนอกจากพื้นที่ที่มีข่าวการกวาดล้างเด็กขอทานตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีจังหวัดภูเก็ต , สุราษฎร์ธานี , อยุธยา , จันทบุรี , ลำพูน และราชบุรี ซึ่งมีพลเมืองดีแจ้งเบาะแสเข้ามาเช่นเดียวกัน นั่นยอมแสดงให้เห็นว่าปัญหาเด็กขอทานกระจายตัวออกไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ไทยแล้ว
สำหรับ ภูมิภาคที่เป็นปลายทางที่สำคัญของขบวนการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทาน นั้น ต้องยกให้กับภาคตะวันออก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นเมืองเศรษฐกิจ ประกอบกับการกวาดล้างเด็กขอทานอย่างหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครต่อเนื่องจาก ปี 2553 ที่ ผ่านมาด้วยจึงทำให้กลุ่มเด็กขอทานหลั่งไหลเข้าพื้นที่ดังกล่าวในที่สุด ซึ่งจากการลงพื้นที่ของโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา เพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหาเด็กขอทานจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทำให้ทราบว่ามีนายหน้าที่คอยเรียกรับผลประโยชน์จากขอทานที่จะเข้าไปขอทานใน พื้นที่ถนนคนเดินพัทยาใต้ (walking street) และ บริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งนายหน้าบางคนยังใช้วิธีการหาเด็กจากประเทศกัมพูชามาปล่อยเช่า โดยจะนำเด็กพร้อมครอบครัวมาจากประเทศกัมพูชา จากนั้นก็จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจับกุม ซึ่งนายหน้าจะเก็บเด็กไว้เพื่อไม่ให้ถูกจับไปด้วย และนำเด็กมาปล่อยเช่า ซึ่งการคิดราคานั้นก็กำหนดตามอายุ เช่น หากเด็กอายุ 7 ปี ก็จะมีค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท แต่ถ้าอายุ 10 ปี ก็จะคิดค่าเช่า 10,000 บาท เป็นต้น
แต่ อย่างไรก็ตามในพื้นที่ภาคตะวันออกก็มีการออกมาตรการณ์ในการกวาดล้างเด็กขอ ทานอย่างหนักเช่นเดียวกัน ภายหลังจากเกิดกรณีการลักพาตัว ด.ญ.ศิรินทิพย์ สำอาง หรือ น้องพอมแพมไป จากครอบครัวที่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนที่จะมีพลเมืองดีไปพบขณะกำลังเดินขอทานอยู่ในตลาดแห่งหนึ่งในจังหวัด ชลบุรี จึงทำให้เกิดกระแสการกวาดล้างเด็กขอทานอย่างต่อเนื่องโดยหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งมิใช่เพียงแค่ในจังหวัดชลบุรีเท่านั้นแต่ที่จังหวัดระยองก็มีข่าวคราว เกี่ยวกับการจับกุมนายหน้าชาวกัมพูชาที่ลักลอบนำเด็กเข้ามาเป็นเครื่องมือใน การขอทานเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการเช่าห้องพักเพื่อให้กลุ่มขอทานพักอาศัยอยู่รวมกัน โดยนายหน้าจะพาเด็กออกไปขอทานตามตลาดนัดต่างๆ ในจังหวัดระยอง และมีการเรียกรับผลประโยชน์จากกลุ่มขอทานเพื่อเป็นค่าเดินทางเข้าสู่ประเทศ ไทย รายละ 3,500 บาท ซึ่งหากใครไม่มีนายหน้าจะหักจากเงินที่ขอทานสามารถหาได้ในแต่ละวัน วันละ 400 บาท โดยการจับกุมในครั้งนี้สามารถช่วยเหลือขอทานที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ได้รวม 15 คน และจับกุมนายหน้าได้ทั้งสิ้น 4 คน ด้วยกัน และนอกจากนี้โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ก็ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์สร้างความ ตระหนักรู้ต่อคนในสังคมให้เข้าใจถึงวิธีการช่วยเหลือเด็กขอทานอย่างถูกวิธี อีกด้วย เนื่องจากเห็นว่าการนำเด็กมาขอทานในประเทศไทยสามารถทำได้อย่างง่ายดายและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามเด็กขอทานละเลยในการปราบปรามผู้กระทำ ความผิดอย่างจริงจัง
ใน ส่วนของปัญหาการนำเด็กมาเป็นเครื่องมือในการขอทานที่เข้าข่ายเป็นลักษณะ กลุ่มขบวนการค้ามนุษย์นั้น โครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา ก็พบกรณีการนำเด็กชายอายุ 12 ปี ที่ร่างกายมีความพิการตาบอดจากประเทศกัมพูชาเข้ามาขอทานในพื้นที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจากการสัมภาษณ์เด็กขอทานคนดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือออกจากข้างถนนแล้ว ทำให้ทราบว่าเด็กคนดังกล่าวเคยถูกนำไปขอทานถึงประเทศมาเลเซียมาแล้วก่อนที่ จะเข้ามาขอทานในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละวันจะถูกนายหน้าค้ามนุษย์ชาวกัมพูชา 2 คนที่เป็นสามี - ภรรยากัน พาตระเวนออกไปขอทานตามตลาดต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง โดยจะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่ 5.00 น. – 14.00 น. และช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 21.00 น. โดยนายหน้าจะใช้วิธียืนขายลูกโป่งบังหน้า เพื่อเฝ้าเด็กขณะนั่งขอทาน อีกทั้งนายหน้าคนดังกล่าวยังให้ข้อมูลว่าตนเองถูกจ้างวานต่อมาอีกทอดหนึ่ง โดยในแต่ละเดือนจะได้ค่าตอบแทนประมาณ 6,000 บาท ส่วนรายได้จากการขอทานทั้งหมดจะต้องส่งให้กับผู้จ้างวาน
นอก จากกรณีการนำเด็กที่มีร่างกายพิการตาบอดจากประเทศกัมพูชาเข้ามาขอทานแล้ว ยังมีกรณีการลักลอบนำเด็กจากประเทศพม่าเข้ามาขอทานในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่อีกด้วย โดยในคดีนี้สามารถช่วยเหลือเด็กขอทานทั้งชายและหญิงได้มากถึง 7 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 3 – 14 ปี โดยมีนายหน้าค้ามนุษย์เป็นชาวพม่าทั้งหมด 3 คน ซึ่งเด็กแต่ละคนจะถูกนายหน้าตระเวนขอทานตั้งแต่เวลา 06.00 – 00.00 น. เป็นประจำทุกวัน หากวันใดไม่สามารถขอทานได้ถึง 500 บาท จะถูกบังคับให้ขอทานต่อจนถึงเวลา 04.00 น. นอกจากนี้เด็กบางคนยังถูกนายหน้าล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย ทั้ง 2 กรณี นี้ สะท้อนให้เห็นว่าในประเทศไทยมีขบวนการนำเด็กจากประเทศเพื่อนบ้านมาเป็น เครื่องมือในการขอทานอยู่จริง อีกทั้งยังมีสภาพปัญหาที่มีความรุนแรงอย่างมาก ซึ่งทางโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงาคาดว่า ยังมีเด็กขอทานที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในลักษณะดังกล่าวนี้อีกเป็นจำนวน มากและยังรอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อ กล่าวถึงสถานการณ์เด็กขอทานในจังหวัดต่างๆ แล้ว ก็คงต้องกล่าวถึงพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งจากการดำเนินบทบาทในการเป็นศูนย์รับแจ้งเบาะแสเด็กขอทานของโครงการ รณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา พบว่าพื้นที่เขตปทุมวันมีสถิติการรับแจ้งสูงที่สุดที่ 14 ราย รองลงมา คือ พื้นที่สุขุมวิท มีทั้งสิ้น 9 ราย ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่ นี้ล้วนเป็นเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวในเวลากลางคืนจึงทำให้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และสามารถพบเห็นเด็กขอทานได้ตลอดทั้งวัน
สำหรับ เส้นทางในการเดินทางเข้ามาของขอทานจากประเทศกัมพูชานั้น ยังคงเป็นเส้นทางด่านชายแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เช่นเดิม เนื่องจากมีการพาหนะในการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยได้อย่างสะดวก ซึ่งเส้นทางนี้มักปรากฏข้อเท็จจริงตามข่าวการกวาดล้างเป็นอยู่ประจำ แต่ก็มิค่อยมีหน่วยงานใดที่ทำการขยายผลมาจับกุมนายหน้าหรือวางมาตรการณ์ใน การสกัดกั้นการเข้ามาของขอทานจากประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด จึงทำให้การแก้ไขปัญหาเด็กขอทานในประเทศไทยไม่คืบหน้าไปเท่าที่ควร เนื่องจากขอทานที่ได้รับการช่วยเหลือมักเดินทางกลับเข้ามาขอทานในประเทศไทย อีกหลายต่อหลายครั้ง
               จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะยังคงประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในระดับ 2.5 (Tier 2 watch list) เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีสภาพปัญหาการค้ามนุษย์ที่รุนแรงอยู่นั่นเอง
หาก มองถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กขอทานโดยตรงอย่างกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์แล้ว ในปีนี้ถือว่าทางกระทรวงฯ เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานน้อยจนน่าใจหาย เนื่องจากไม่มีการจัดประชุมเพื่อวางแผนหรือกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็ก ขอทานแต่อย่างใด มีเพียงการจัดทำสื่อรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อคนในสังคมเกี่ยวกับ การช่วยเหลือเด็กขอทานเพียงประการเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนใหม่ จึงทำให้การทำงานในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานไม่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปี 2554 นี้ ทางโครงการรณรงค์ยุติธุรกิจเด็กขอทาน มูลนิธิกระจกเงา คาดว่าสถานการณ์เด็กขอทานในปี 2555 จะ ยังคงมีสภาพปัญหาที่มีความรุนแรงเช่นเดิม ซึ่งมีประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์จะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานอย่างเป็นรูปธรรมมากน้อย เพียงใด นอกจากนี้หน่วยงานที่ทำการปราบปรามเด็กขอทานจะมีการเพิ่มงานรณรงค์เพื่อ สร้างความตระหนักรู้แก่คนในสังคมเข้ามาในภารกิจของหน่วยงานบ้างหรือไม่ เนื่องจากการปัญหาเด็กขอทานมีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวพันกับรายได้ของเด็ก ขอทานที่มีมูลค่าสูงมากในแต่ละวัน ดังนั้นการเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมให้เปลี่ยนพฤติกรรมการให้เงินกับเด็ก ขอทานเป็นการแจ้งเบาะแสแทน จึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาเด็กขอทานได้อย่างยั่งยืนที่สุด

ชมวีดีโอคลิป





ท้าย สุดแล้ว การจัดการปัญหาเด็กขอทาน เป็นภารกิจและหน้าที่ของทุกคน ที่จะช่วยกันปกป้องเด็กของสังคมมิให้ต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้ใหญ่ใจร้าย ที่คอยแต่จะกัดกินผลประโยชน์จากชีวิตน้อยๆ อยู่ร่ำไป

3.การค้าแรงงานทาส (ประมง) 



                     การลักพาตัวและล่อลวงเพื่อบังคับใช้แรงงานในธุรกิจประมงนอกน่าน
การประมงถือ ว่าเป็นธุรกิจภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล เป็นผลให้ความต้องการจำนวนแรงงานเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจประมงและ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง มีเพิ่มสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สภาพการทำงานของอุตสาหกรรมประมงถือว่าเป็นงานที่หนัก$$และ เสี่ยงอันตราย ประกอบกับต้องออกทะเลเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน จึงทำให้แรงงานไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะปฏิเสธงานในลักษณะดังกล่าว เป็นผลให้ส่วนใหญ่ธุรกิจประมงนอกน่านน้ำเกิดวิกฤติขาดแคลนแรงงาน จึงต้องอาศัยการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งแบบมีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและแบบหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งตรงจุดนี้เองทำให้ธุรกิจดังกล่าวมีการเอาเปรียบแรงงานในเรื่องของค่า จ้างและการใช้ความรุนแรงในการบังคับใช้แรงงาน โดยที่แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะต้องทนจำยอมและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
                 นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการดำเนินงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิ กระจกเงา พบว่ามีการหายตัวไปของคนในสังคมหลายกรณีที่เชื่อมโยงกับการล่อลวงและลักพา ตัวเพื่อนำมาขายและบังคับเป็นแรงงานทาสบนเรือประมง โดยข้อเท็จจริงจากปากคำของผู้เสียหายให้ข้อมูลตรงกันว่า ถูกบังคับให้ต้องทำงานบนเรือประมงในลักษณะงานที่หนัก และพักผ่อนมาเป็นเวลา โดยเมื่อไม่สามารถปฏิบัติงานหรือทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมเรือได้ ก็จะถูกทำร้ายและทุบตีอย่างทารุณ ตลอดจนการทำงานบนเรือประมงหลายลำไม่มีสวัสดิการดูแลเมื่อเจ็บป่วยและไม่มี ความปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ ผู้เสียหายในกรณีดังกล่าว ให้ข้อมูลตรงกันว่า ยังมีแรงงานเยี่ยงทาสบนเรือประมงที่ถูกล่อลวงและลักพาตัวอีกจำนวนมากที่ไม่ สามารถหนีรอดออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือได้ อันเป็นผลให้เกิดการตั้งข้อสมมุติฐานว่าปริมาณของแรงงานประมงที่ถูกล่อลวง ลักพาตัว และไม่สมัครใจในการทำงานนั้น น่าจะมีเป็นจำนวนมาก และขบวนการค้ามนุษย์ดัง กล่าว น่าจะมีลักษณะของการทำงานในแบบเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน โดยเริ่มจากนายหน้า ผู้นำพา และผู้ประกอบการที่รับซื้อแรงงานเหล่านี้เพื่อบังคับใช้งาน ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสาธารณะในอันที่จะได้รับการ แก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
                สภาพปัญหาการล่อลวงและลักพาตัวแรงงานในธุรกิจแรงงานทาสบนเรือประมงนั้น มีหลายหน่วยงานที่ควรมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข ปัญหาดังกล่าว ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการหยิบยกเป็นประเด็นทาง สังคมในวงกว้าง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและ ไม่สามารถเข้าถึงการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายได้

ลักษณะการล่อลวงแรงงานในธุรกิจประมง
 • การล่อลวง
              ลักษณะการล่อลวงคนเพื่อมาบังคับใช้เป็นแรงงานในเรือประมงนอกน่านน้ำนั้น ส่วนใหญ่จะมีนกต่อหรือนายหน้าเข้ามาตีสนิทกับเหยื่อ ส่วนใหญ่จะมาเสนองานให้ทำโดยมีค่าตอบแทนสูงเพื่อเป็นสิ่งจูงใจโดยจะเริ่มจาก การเข้ามาชวนพูดคุยเรื่องทั่วไปและจึงชักชวนไปทำงานซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็น ชั่วโมงในการหว่านล้อม นอกจากนี้ยังมีวิธีการออกอุบาย เช่น นายหน้ามักจะทำทีโทรศัพท์มือถือคุยกับพรรคพวกของตนเอง โดยอ้างกับเหยื่อว่ากำลังคุยกับนายจ้างที่จะพาไปฝากงาน และให้เหยื่อคุยโทรศัพท์เพื่อตกลงราคาค่าจ้างกันด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เหยื่อไว้วางใจและยอมที่จะเดินทางไปด้วย หรือไม่นายหน้าจะมาลักษณะของรถรับจ้างสาธารณะ ที่จะหลอกพาผู้เสียหายไปสมัครงานตามที่ต่างๆ เพื่อแลกกับค่าหัวคิวที่จะได้รับจากขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ หลายกรณีนายหน้ามักสนทนากับผู้เสียหายด้วยภาษาถิ่นเดียวกันเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อใจว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน
               นอกจากนี้การล่อลวงแรงงานในธุรกิจประมงยัง มีการใช้กลวิธีติดประกาศรับสมัครงานตามสถานีขนส่งและสวนสาธารณะต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้ หากเหยื่อติดต่อกลับไปเพื่อสมัครงาน จะพบว่า งานที่ระบุไว้ในประกาศจะเต็มแล้ว โอกาสนี้เองที่ขบวนการค้ามนุษย์จะชักชวนว่า มีงานอื่นๆ ที่รายได้ดี เหมือนกัน และจะล่อลวงเหยื่อลงเรือประมงในที่สุด

การลักพาตัว/ทำให้หมดสติ
                   ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากปากคำของผู้เสียหายมีกรณีการป้ายยา/โปะยาสลบ ในห้องน้ำบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (ขาเข้า) โดยกลุ่มมิจฉาชีพ จะเดินตาม และเดินสวนทางกันในห้องน้ำ จากนั้น เหยื่อจะสลึมสะลือ และหมดสติลง ตื่นขึ้นมาอีกทีจะอยู่บนเรือประมงแล้ว
                   อีกกรณีเป็นการใช้สารเสพติดประเภทสุราและยานอนหลับผสมกาแฟ หรือเครื่องดื่ม ให้เหยี่อดื่มแล้วหมดสติ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าทำทีมาตีสนิทกับผู้เสียหาย จากนั้นจะชักชวนผู้เสียหายให้ดื่มน้ำ หรือสุรา หรืออาหารที่เตรียมมา เมิ่อผู้เสียหายรับประทานเข้าไปจะหมดสติ และถูกนำไปขายต่อให้เรือประมงในที่สุด   ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าเหยื่อโดยยาชนิดไหน และวิธีการอย่างไร เพราะเหยื่อไม่ได้สติ

ร้านคาราโอเกะ
                ข้อมูลจากในพื้นที่จังหวัดสงขลา พบว่ามีการล่อลวงผู้เสียหาย ให้เข้าไปใช้บริการใน ร้านคาราโอเกะ จากนั้น ให้ผู้เสียหายดื่มกินสุราและใช้บริการจากหญิงบริการได้อย่างเต็มที จนในที่สุดเมื่อผู้หายเมาจนหมดสติ จะถูกจับขังไว้บนร้านคาราโอเกะ เพื่อส่งต่อลงเรือประมง หรืออีกกรณีจะให้ผู้เสียหายดื่มกินสุราและใช้บริการจากหญิงบริการได้อย่าง เต็มที่เช่นกัน แต่เมื่อมีการคิดเงินค่าใช้บริการทั้งหมด จะมีราคาสูงเกินจริงเป็นหมื่นๆ บาท ทำให้เมื่อผู้เสียหายไม่มีเงินจ่าย ก็ต้องลงเรือประมงเพื่อใช้หนี้

กลุ่มเป้าหมาย
                เหยื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของขบวนการค้ามนุษย์ใน ลักษณะนี้ ส่วนใหญ่ มิจฉาชีพจะเลือกเหยื่อที่เพิ่งเคยเดินทางมากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งอาจจะเข้ามาหางานทำ หรือไม่มีจุดหมายปลายทางในการเดินทาง โดยจะเลือกเหยื่อที่นั่งอยู่ในสถานีขนส่งเป็นเวลานาน เพราะไม่มีที่ไป เป็นต้น
เหยื่อ ที่ท่าทางซื่อ และไม่คุ้นเคยกับสถานที่ จะทำให้มิจฉาชีพเข้ามาตีสนิทและชักชวนไปทำงานได้ง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่เดินทางมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
เหยื่อที่จะถูกล่อลวงหรือลักพาตัวไปจะมีอายุตั้งแต่ 15 – 45 ปี ทั้งหมดเป็นเพศชาย

สถานที่ควรเฝ้าระวังในการถูกล่อลวง
-สถานีขนส่งหมอชิต
-สถานีขนส่งสายใต้ใหม่
-สถานีรถไฟหัวลำโพง
-สนามหลวง
-วงเวียนใหญ่

พื้นที่ควรเฝ้าระวังในการนำเข้าแรงงานประมง
-ปากน้ำ สมุทรปราการ
-ท่าเรือมหาชัย สมุทรสาคร
             -ท่าเรือเมืองสงขลา
             -ท่าเรือปัตตานี 


 ชมคลิบวีดีโอ





แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์(จากความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่ม)
ตนเอง
                -ต้องดูแลตัวเอง รักในศักดิ์ศรีของความเป็นคน ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
-ต้องคิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผลก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป ต้องเข้าใจตนเองให้มากที่สุด
-ผู้หญิงจะต้องรักนวลสงวนตัว รู้เท่าทันภัยใกล้และไกลตัว รู้จักวิธีการป้องกันต้องเองจากภัยอันตราย
-จะต้องไม่เชื่อคนง่าย ไม่หูเบา จะฟัง จะเชื่อ จะคิดอะไรจะต้องคิดถึงผลที่จะตามมาด้วยเสมอ
-ผู้ชายจะต้องให้เกียรติผู้หญิง ต้องมีจิตสำนึกในความเป็นสุภาพบุรุษ
-ควรจะเลือกสนใจในค่านิยมที่ดีดีไม่ผิดต่อศีลธรรมจรรยา และถูกต้องตามกฎข้อบังคับของสังคม

ครอบครัว
-ต้อง ดูแลเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัว ให้ความรักความอบอุ่นและพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาให้แก่กันและกันโดยไม่ตำหนิ ติเตียนดุด่าหากคนใดคนหนึ่งทำผิดพลาดไป ควรจะเปลี่ยนจากคำดุด่าเป็นคำแนะนำและกำลังใจให้แก่กันและกัน
-สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับทั้งในฐานะสมาชิกในครอบครัวและสังคม จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
-ควรจะยึดถือวัฒนธรรม “การมีผัวเดียวเมียเดียว” เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว
สถานศึกษา
-ควรมอบการศึกษาให้แก่ผู้เรียนอย่างถูกต้อง เต็มที่ และเท่าเทียมกัน
-ควรดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนให้รู้จัก ผิดถูกชั่วดี ในการใช้ชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรม
-ควรแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกศีลธรรมจรรยา และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคม
-ควร แนะนำการประกอบอาชีพที่สุจริต ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมืองและจะต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้แก่ผู้เรียนที่ เกิดปัญหาในชีวิตได้อย่างถูกต้อง
-ควร ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้แก่ผู้เรียน ควรจะสร้างจิตสำนึกในการเคารพสิทธิของผู้อื่นให้เกิดขึ้น รวมถึงการสร้างให้เกิดจิตสำนึกในเรื่องการให้เกียรติเพศตรงข้าม  การเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นโดยการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

ศาสนา
-ขัดเกลาจิตใจของประชาชนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ
-ปลูกฝังจิตสำนึกประชาชนให้เกิดการเห็นคุณค่าของเพื่อนมนุษย์ทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน
-น้อมนำให้ประชาชนในสังคมใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล โดยยึดหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ควรเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่บุคคลที่ประสบปัญหาชีวิตได้ โดยการใช้ธรรมะในการบำบัด

หน่วยงานของรัฐ
-ในด้านมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รัฐบาลมีการออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ 2551 โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้กับการค้ามนุษย์เป็นการเฉพาะ และมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองบุคคลที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และปราบปรามองค์กรอาชญากรรมที่แสวงหาผลประโยชน์จากมนุษย์ด้วยกัน
-รัฐ จะต้องใช้นโยบายการบริหารประเทศที่ทำให้การครองชีพการเป็นอยู่ของประชาชน ทุกระดับชั้นในสังคมมีมาตราฐานและดีขึ้นรวมถึงการเข้มงวดในด้านกฎหมายอย่าง เคร่งครัดไม่ปล่อยให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายที่จะทำให้เกิดการทำผิดกฎหมาย
-รัฐ จะต้องสนับสนุนการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันในทุกระดับชั้นของประชาชนใน สังคมจะต้องสอดส่องดูแลความต้องการในปัจจัยพื้นฐานชีวิตของประชาชนในทั่วทุก ภาคโดยกระจายให้เกิดความกินดีอยู่ดีอย่างเท่าเทียมเพื่อไม่ให้เกิดการเลื่อม ล้ำ

                -กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องตระหนักและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังโดยจะต้องไม่ปล่อยให้ เกิดช่องว่างในการควบคุมป้องกัน และจะต้องยึดกฎหมายเป็นสำคัญ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการค้ามนุษย์


คัดจาก: http://daranee-ruangjan.blogspot.com/2012/01/blog-post.html?showComment=1396085863501#c2634683637277057890

กฎหมายที่ควบคุมการส่งผ่าน นำผ่านราชอาณาจักร

1. พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507    
2. พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธ พ.ศ. 2490  
3. พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 
4. พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525
5. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 
6. พ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ.2495
7. พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518    
8. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 
9. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
10. พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
11. พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518
12. พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530

List of Abbreviations

1993 SNA                 System of National Accounts, 1993
ABSs                          asset-backed securitizations
ADB                           Asian Development Bank
ADSLs                       Asymmetric Digital Subscriber Line systems
AITIC                        AITIC is an independent organization, based in Geneva, whose goal is to help less-advantaged countries (LACs)
AMCs                        Asset Management Companies
ASEAN                      Association of Southeast Asian Nations
BATNA                     Best Alternative to an Agreement
BOC                           Bank of China
BD3                           3rd edition of the OECD Benchmark Definition of Foreign Direct Investment
BOP                           Balance of Payments
BPM5                        5th edition of the Balance of Payments Manual (IMF)
BTA                           Basic Telecommunications Agreement
CARICOM               Caribbean Community and Common Market
CBRC                        China Bank Regulation Commission
CCB                           China Construction Bank
CEPA                         Closer Economic Partnership Arrangement
CIRC                         China Insurance Regulatory Commission
COMESA                  Common Market for Eastern and Southern Africa
CPC Ver. 1.0            Central Product Classification, Version 1.0
CSME                        Single Market and Economy
CSRC                        China Securities Regulatory Commission
DR-CAFTA              U.S.–Central America–Dominican Republic Free Trade Agreement
EBOPS                      Extended Balance of Payments Services Classification
ENTs                          economic needs tests
EPA                            Economic Partnership Agreement
EU                              European Union
Eurostat                    Statistical Office of the European Communities
FATS                         Foreign Affiliates Trade in Services
FCC                           Federal Communications Commission
FDI                             Foreign Direct Investment
FSA                            Financial Services Agreement
FTA                            Free Trade Area
GATS                         General Agreement on Trade in Services
GATT                        General Agreement on Tariffs and Trade
GDDS                        General Data Dissemination System (IMF)
GDP                           Gross Domestic Product
GNS/W/120              services sectoral classification list
ICAIS                        International Charges for Access to Internet Services
ICANN                      Internet Corporation for Assigned Names and Numbers
ICBC                         Industrial and Commercial Bank of China
ICE                            Costa Rican Institute of Electricity—‘‘ICE’’
ICFA ISIC                Categories for Foreign Affiliates
ICSE-93                    International Classification of Status in Employment
ICT                            Information and Communication Technology
ILO                            International Labour Organization
IMF                            International Monetary Fund
IPO                             Initial Public Offering
IPRs                          intellectual property rights
ISCO-88                    International Standard Classification of Occupations
ISIC                           International Standard Industrial Classification
ISP                             Internet service provider
IT                               Information Technology
ITE                             Internet traffic exchange
ITRS                          international transactions reporting system
ITU                            International Telecommunications Union
KT                              Korea Telecom
KTF                            a subsidiary of KT
LACs                         less-advantaged countries
LDCs                         least developed countries
LLDCs                       landlocked developing countries
M&A                         mergers and acquisitions
MBS                          mortgage-backed securitization
MERCOSUR            South American Common Market
MFN                          Most-Favored Nation
MIC                           Ministry of Information and Communication
MSITS                       Manual on Statistics of International Trade in Services
MVNOs                     mobile virtual network operators
NAFTA                      North American Free Trade Agreement
n.a.                             not available
NCA                           National Communications Authority (Ghana)
n.i.e.                           not included elsewhere
NGO                           non-governmental organization
NPL                            Non-performing Loan
NTB                           Non-Tariff Barrier
OECD                        Organisation for Economic Co-operation and Development
QFII                           Qualified Foreign Institutional Investor
PCS                            digital cell phone network
PTO                            public telecommunications operator
PTT                            Post-Telephone-Telegraph
RIS                             Research and Information System (for the Non-Aligned and Other Developing Countries)
RTA                           Regional Trade Agreement
SDDS                         Special Data Dissemination Standards (IMF)
SET                            Secured Electronic Transactions
SMEs                         small and medium enterprises
SNA                           System of National Accounts
TM                             temporary movement of natural persons; temporary labor mobility or migration
TRAINS                    TRade Analysis and INformation System
TRIPS                        Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights
UBO                           ultimate beneficial owner
UN                              United Nations
UNCTAD                  United Nations Conference on Trade and Development
UN-ESCAP               United Nations—Economic and Social Commission for Asia and Pacific
UN ECLAC              UN Economic Commission for Latin America and the Caribbean
UN ESCWA              UN Economic and Social Commission for Western Asia
UNSD                        United Nations Statistics Division
UNU                           United Nations University (UNU)
USA                           United States of America
USAID                       U.S. Agency for International Development
USD                           United States dollar
USTR                         U.S. Office of the Trade Representative
VAT                           value-added-tax
VoIP                          voice over the Internet
WIPO                         World Intellectual Property Organization
WTO                          World Trade Organization