วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สรุปหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคล กรมการพัฒนาชุมชน

**สรุปหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคล กรมการพัฒนาชุมชน
1. การย้ายข้าราชการ
* พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 57,63,132,137

* หนังสือ ที่ นร 0708/ว 9 ลว.12 พ.ค.35

* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 12 ลว.11 ธ.ค.33

* หนังสือ ที่ นร 1011/ว 13 ลว.11 ธ.ค.51

* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 7 ลว.6 มี.ค.52

* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 8 ลว.9 มี.ค.52

* หนังสือ ที่ นร 1008.3.1/403 ลว.4 พ.ย.52

* หนังสือ ที่ นร 1008/ว 40 ลว 30 ก.ย.53

2. การแต่งตั้งให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่ง
* พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 68

3. การแต่งตั้งให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
* พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 47

* คำสั่งกรมการพัฒนาชุมชน ที่ 516/2552 ลว.18 พ.ย.2552

4. การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่/ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่ง
* พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 57,32 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.แผ่นดิน พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 5)

5. การลาออกจากราชการ
* พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 57,109,132

* ระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยวันออกจากราชการ พ.ศ.2535

* ระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยการลาออกจากราชการ พ.ศ.2551

* หนังสือ ที่ นร 1011/ว 13 ลว.11 ธ.ค.2551

6. การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
* หนังสือ ที่ นร 1004/ว 19 ลว.2 มิ.ย.2553

* กฎ ก.พ.ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ.2553

* พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 59

* ประกาศกรมการพัฒนาชุมชน ลงวันที่ 30 ก.ย.2553

* คำสั่งกรมการพัฒนาชุมชน ที่ 428/2553 ลว.30 ก.ย.2553

7. การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้สอบได้ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
7. 1 กรณีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งประเภทวิชาการของส่วนราชการเดิม
* พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 57,63,132,137

* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 16 ลว.22 มิ.ย.2552

* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 12 ลว.11 ธ.ค.2551

* หนังสือ ที่ นร 1011/ว 13 ลว.11 ธ.ค.2551

* หนังสือ ที่ นร 0708.4/ว 5 ลว.13 พ.ค.2536

7. 2 กรณีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งประเภทวิชาการของส่วนราชการเดิม
* หนังสือ ที่ นร 1004.1/ว 4 ลว.18 มี.ค.2548

8. การย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น (ย้ายเปลี่ยนสายงาน)
8. 1 กรณีที่ 1 เป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งซึ่งอยู่ในสายงานของกรมการพัฒนาชุมชน
* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 16 ลว.22 มิ.ย.2552

* หนังสือ ที่ นร 0711/ว 12 ลว.1 ต.ค.2533

8. 2 กรณีที่ 2 เป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งที่ไม่มีในสายงานของกรมการพัฒนาชุมชน
* หนังสือ ที่ นร 1006/ว 15 ลว.28 มิ.ย.2547

9. การให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามวุฒิ (กรณีปรับวุฒิในตำแหน่งเดิม)
* หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 20 ลว.27 ธ.ค. 2555

* กฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ.2551

ประวัติและข้อมูลอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

คำขวัญอำเภอสุคิริน  หลายประเพณี  ที่สร้างตน  ต้นลำธาร  หวานผลไม้  ใต้เหมืองทอง

ประวัติความเป็นมา            
อำเภอสุคิริน เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้น พ.ศ. 2474 ชื่อ "กิ่งอำเภอปาโจ" ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโมะ (อำเภอแว้งในปัจจุบัน) กิ่งอำเภอนี้จัดตั้งเพราะมีชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาขอสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณเทือกเขาลีซอ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโต๊ะโมะ มีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้พิจารณาจัดตั้งกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเพื่อสะดวกในการปกครอง ดูแลผลประโยชน์ของทางราชการในการจัดเก็บภาษีอากรและให้บริการประชาชน โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 2ตำบล คือ ตำบลโต๊ะโมะ และตำบลมาโมง            
ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น ชาวฝรั่งเศสเจ้าของกิจการเหมืองแร่ทองคำได้หนีภัยสงคราม จึงทิ้งเหมืองแร่ทองคำ ดังนั้นรัฐบาลไทยโดยกรมโลหะกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้ง พระอุดมธรณีศาสตร์ มาเป็นผู้ดำเนินการเหมืองแร่ทองคำดังกล่าวแทน ประมาณปีเศษเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในบริเวณเหมืองแร่ทองคำ และต่อมาได้ล้มเลิกกิจการไป คนไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ได้อพยพออกหมด            
ต่อมาใบปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจนและไม่มีที่ดินทำกินของตนเองจากท้องที่ต่าง ๆ เข้ามาประกอบอาชีพ  โดยมีอาณาเขตท้องที่สองอำเภอ คือ อำเภอสุคิรินและอำเภอจะแนะ  เนื้อที่ประมาณ  510,000 ไร่ และได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 16ธันวาคม พ.ศ.2517 เขตนิคมคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอสุคิริน และอำเภอจะแนะ            
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอสุคิริน ขึ้นประกอบด้วย 2ตำบล คือ ตำบลมาโมง และตำบลสุคิริน และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอสุคิริน เป็นอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน              คำว่า "สุคิริน" เป็นชื่อตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเมื่อคราวเสด็จมาประทับแรม เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งหมายความว่า "พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม" ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยป่าและภูเขา มีพรรณไม้นานาชนิดขึ้นอยู่อย่างงดงาม

ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต            
อำเภอสุคิรินตั้งอยู่ทางตอนล่างด้านใต้สุดของจังหวัดนราธิวาส มีสภาพเป็นป่าและภูเขาโอบล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 517 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 319,849ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงดังนี้            
ทิศเหนือ      ติดต่อกับ อ.จะแนะ อ.ระแงะ และ อ.สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส            
ทิศใต้         ติดต่อกับ อ. เจอลี รัฐกลันตัน และ อ.กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย            
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.สุไหงปาดี และ อ.แว้ง จังหวัดนราธิวาส            
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส อ. กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย                  

ประชากร            
ประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร์ ชาย 10,830 คน หญิง 9,910 คน รวม20,740 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 40.11 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนหลังคาเรือน6,016 หลังคาเรือนความหนาแน่นของบ้านต่อพื้นที่ 11.64 หลังคาเรือน/ตร.กม.                
ลักษณะภูมิประเทศ            
สภาพพื้นที่ทั่ว ๆ ไปเป็นภูเขาสูงชันและป่าทึบ มีที่ราบระหว่างภูเขาบ้างเล็กน้อย ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขามีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่   เทือกเขาตูแว กั้นพรมแดนระหว่างอำเภอสุคิรินกับอำเภอจะแนะ และอำเภอสุไหงปาดี   เทือกเขาบาตูกาเตาะ กั้นพรมแดนระหว่างอำเภอสุคิรินกับประเทศมาเลเซีย   เทือกเขาบาลา กั้นพรมแดนระหว่างอำเภอสุคิรินและอำเภอแว้ง และประเทศมาเลเซียเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำสุไหงโกลก  มีแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำสายบุรี และมีคลองที่สำคัญ 12 สาย ลำธารสายสำคัญ 7 สาย

ลักษณะภูมิอากาศ            
อำเภอสุคิริน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรอินเดีย ประกอบกับพื้นที่ทั่วไป เป็นภูเขาสูงชันและป่าทึบจึงทำให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน ช่วงร้อนที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30 C ปริมาณน้ำฝน 50 มม.  ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม ฝนจะตกชุกในเดือนกันยายน - ธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 20 C ปริมาณน้ำฝน 265 มม.         พื้นที่การใช้ประโยชน์               พื้นที่ทั้งหมด 319,849 ไร่ เป็นพื้นที่ป่า 246,129 ไร่ พื้นที่ถือครองทางการเกษตรจำนวน 81,648 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรจริง 72,256 ไร่ โดยการถือครองที่ดินในอำเภอสุคิริน ส่วนใหญ่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ โดยจะมีเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ของทางนิคมสร้างตนเอง และทางนิคมได้ออกเอกสารสิทธิ ซึ่งได้นำมาเปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้ว มีจำนวนเพียง 156 แปลงเท่านั้น

สภาพเศรษฐกิจ        
1. การเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 81,648 ไร่ ครอบครัวเกษตร 3,623 ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ได้แก่            
- ยางพารา มีพื้นที่ปลูกประมาณ 57,455 ไร่            
- เงาะ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 4,538 ไร่            
- ลองกอง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 39,173 ไร่          
- ทุเรียน มีพื้นที่ปลูกประมาณ 3,242 ไร่            
- มังคุด มีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,346 ไร่          
 - สะตอ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 877 ไร่        
2. การปศุสัตว์ ได้แก่การเลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน        
3. การพาณิชย์            
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ - แห่ง          
- มีธนาคาร 1 แห่ง คืิอ ธนาคารออมสิน          
- มีสหกรณ์จำนวน จำนวน 5 แห่ง


สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม            
มีสถานทีท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่        
1. เหมืองทองคำโต๊ะโมะ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลภูเขาทอง        
2. ศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลภูเขาทอง        
3. ตำหนักสุคิริน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลสุคิริน        
4. น้ำตกธารหินงาม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลเกียร์        
5. ต้นกระพงยักษ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง        
6. น้ำตกศรีทักษิณ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง              
งานประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ เนื่องจากอำเภอสุคิริน อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสุคิริน ประชาชนเคลื่อนย้ายมาจากต่างภูมิภาค ต่างถิ่น ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคใต้ ซึ่งมีประเพณีและวัฒนธรรมหลากหลายคือ        
1. วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยพุทธ เช่น ประเพณีสงกรานต์ , การทำบุญบั้งไฟ , ประเพณีบวชนาค , การทำบุญวันสาร์ท , การละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น        
2. วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยมุสลิม เช่น ประเพณีถือศีลอด, ประเพณีมาแกปูโล๊ะ, งานเมาลิด, การเข้าสุนัต

การปกครอง        
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 5ตำบล 41 หมู่บ้าน ดังนี้
1.  ตำบลสุคิริน มี 13 หมู่บ้าน
2.  ตำบลมาโมง มี 10 หมู่บ้าน
3.  ตำบลเกียร์ มี 5 หมู่บ้าน
4.  ตำบลภูเขาทอง มี 8 หมู่บ้าน
5.  ตำบลร่มไทร มี 5 หมู่บ้าน
มีองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง คือมีเทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลสุคิริน        
เทศบาลตำบลสุคิรินมีองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง คือ
องค์การบริหารส่วนตำบลมาโมง
องค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน
องค์การบริหารส่วนตำบลเกียร์
องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง
องค์การบริหารส่วนตำบลร่มไทร

มีโรงพยาบาลชุมชน 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง มีสถานีอนามัยจำนวน 9 แห่ง

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส จนถึงปี ๒๕๕๗

บ้านเกียร์ หมู่ที่ ๑ ต.เกียร์
บ้านไอตีมุง หมู่ที่ ๔ ต.มาโมง
บ้าน สว.ใน หมู่ที่ ๘ ต.มาโมง
บ้านไอกาบู หมู่ที่ ๑ ต.สุคิริน
บ้าน สว.นอก หมู่ที่ ๒ ต.สุคิริน
บ้านราษฎร์ผดุง หมู่ที่ ๘ ต.สุคิริน (บ้านน้อง) ปี ๒๕๕๗
บ้านซอยปราจีน หมู่ที่ ๑๑ ต.สุคิริน
บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒ หมู่ที่ ๑๓ ต.สุคิริน

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

WHY “THE PHILIPPINES”?

By Arch. Celso C. Nieves, fuap, caaif
http://www.philippinestoday.net/archives/2162

Spain named our country “Las Islas Filipinas”. When occupied by the Americans, it was translated to English as “The Philippine Islands”. When they departed, we renamed it “The Philippines”.

The name “Filipinas” is a tribute to the king of Spain during that time. He was Felipe II, who reigned from 1556 to 1598. It means that the islands are the king’s territorial property. In English, Felipe is Philip. King Philip II did not show himself a good ruler as a king. Some even say he was a tyrant. Furthermore, Philip is a Greek word meaning Lover of Horses; and we don’t have anything about loving horses. It’s even very rare that people make horses their pets.

When it was changed by removing the word “Islands”, why was the article “The” retained? If it is only “Philippines”, it should have become a proper noun, like Japan, China or Spain. But the article “The” being there may mean that the name “The Philippines” is still the property of King Philip II, and therefore remains a colonial name.

Many countries changed their names from their colonial names to their native languages to show their nationalism. Indonesia was once East Indies which has the same meaning in their language. Formosa, which means “beautiful” in Portuguese, is now Taiwan.

West Pakistan was once a part of India whose language is Pak. When it pulled out from its motherland India, they called themselves Pakistan, translated as “Fatherland of the Pak Nation”. East Pakistan became Bangladesh, and Ceylon became Sri Lanka. Both are also former India’s provinces or states.

Added to these, some countries also changed their capital cities’ names like Bombay, a Portuguese name. To their local language, it is now Mumbai, meaning Good Bay. Saigon, because of a new form of government, is now Ho Chi Mhin City.

Others renamed theirs for a new beginning. Thailand, proud to be called “Land of the Free” was once Siam; and recently Myanmar from Burma.

Peking, which is now Beijing, was changed only because Peking is an old spelling and Beijing is a new transcription in Chinese. There are also many countries from the continent of Africa who changed theirs, like Zimbabwe from Rhodesia; and the now Tanzania from Tanganyika.

Is it not time that our country’s name, “The Philippines”, which is definitely a colonial name, be also changed to our own native tongue so that we can call this beloved country truly our own? We are still one of the rare countries still clinging to our old alien name.

Former President Ferdinand E. Marcos proposed a change but for some reason, it did not push through. He wants it called Maharlika, and the citizens Maharlikans, a good and fitting name. A maharlika is a respected and courteous calling to a noble man or women by our ancestors, even before the Spanish regime. It may mean mahal kita or mahal na nilikha. Whatever it is, the mahal, meaning “love”, is there. If other nations address their kings and queens Your Highness or Your Excellency, our ancestors called theirs Inyong Kamahalan. If other nations changed their countries’ name to depict freedom or beauty or independence, ours would be love if we chose Maharlika. Filipinos really are loving people especially to their compatriots. Our Edsa revolution is a very unique example, the first of a kind ever in the history of mankind. Instead of violence, it was a revolution of love. Others tried it but failed. This is a far cry being named from tyrant Philip II.

There are some who want it rename as Rizal, a tribute to our national hero, Dr. Jose P. Rizal. Some say it should be as is because it is already there and what for is the change. Others who agree for the change may have other suggestions.

The name of our capital city “Manila” has no direct meaning. It is probably a mispronunciation by the early Americans of “Maynilad”. We should go back to “Maynilad” or “Maynila”, properly named because the place was once full of plants called Nilad, and which is our own.Our country’s and cities’ names decided by our once conquerors, should be changed to our native language’s names to show our love, nationalism and patriotism to our beloved country; and that this, our endearing homeland, is truly our very own.

Ref.: