วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

GMP, HACCP และ ISO 22000

ข้อมูลจาก
http://www.masci.or.th/services_otherlist_th.php?servicesid=3&otherid=67

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร และระบบการจัดการสุขลักษณะที่ดีในสถานประกอบการ
ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) เป็นระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต ซึ่งระบบดังกล่าว ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยตลอดในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังลดการกีดกันทางการค้าของประเทศนำเข้าอีกด้วย ระบบ HACCP ยึดหลักเกณฑ์ตามโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ซึ่งสามารถป้องกันอันตราย หรือสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ เคมี และกายภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการควบคุมพนักงานและ / หรือเทคนิคการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและลดความ สำคัญของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย

GMP พื้นฐานที่ดีสู่ HACCP
หลักการที่จะนำ HACCP มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างมีประสิทธิผลนั้น โรงงานจำเป็นจะต้องมีการจัดทำโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะการผลิตอาหาร : Pre-requisite programme หรืออีกนัยหนึ่งคือ GMP (Good Manufacturing Practices) ของโรงงานมีความสะดวกต่อการดำเนินการให้มีประสิทธิผล ดังนั้น โรงงานที่ยังไม่ได้นำระบบ HACCP มาใช้ควรเตรียมการเสียแต่เนิ่น ๆ ส่วนโรงงานที่มีการนำระบบ GMP มาใช้ในโรงงานอยู่แล้ว จะสามารถนำระบบ HACCP ไปประยุกต์ใช้ให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น

หลักการของระบบ HACCP
หลักการที่ 1 การดำเนินการวิเคราะห์อันตราย
หลักการที่ 2 หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
หลักการที่ 3 กำหนดค่าวิกฤต
หลักการที่ 4 กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม
หลักการที่ 5 กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่ อยู่ภายใต้การควบคุม
หลักการที่ 6 กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP
หลักการที่ 7 กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติและบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ ที่ เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้

ประโยชน์ที่ได้รับ
  • เกิดผลดีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
  • ลดการสูญเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดการกีดกันทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด
  • เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์
  • เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอการรับรองได้
  • เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001
ISO 22000:2005 Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร
ระบบการจัดการตัวใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรม อาหารและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 จะครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP และข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร มาตรฐานดังกล่าวเน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของ อาหารให้มีความชัดเจน โดยจะเป็นที่รวมของข้อกำหนดในมาตรฐานต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นที่การสื่อสารร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประกันว่ามีการกำหนดรายละเอียดการตรวจสอบเพื่อความ ปลอดภัยของอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม และมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน โดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อาหารทุกราย ให้ข้อมูลและหลักฐานตามความต้องการของลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายในด้านความเป็น ไปได้ ความจำเป็น และผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายโดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่าง ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย

Good Manufacturing Practice / GMP


ข้อมูลมาจาก
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0352/good-manufacturing-practice-gmp


Good Manufacturing Practice (GMP)
Good Manufacturing Practiceเรียกย่อว่า GMP คือการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติในการผลิตอาหาร เพื่อให้ เกิดความปลอดภัย
และมั่นใจต่อการบริโภค หลัก การของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
ทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค
มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene)




GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) และ
ISO 9000 อีกด้วย
การผลิตอาหาร ให้ถูกหลัก GMP
การผลิตอาหาร ให้ถูกหลัก GMP จะต้องมีการกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
1.1 สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย โดย
1.1.1 สถานที่ตั้งตัวอาคารและบริเวณโดยรอบสะอาด ไม่ปล่อยให้มีการสะสมสิ่งที่ไม่ใช้แล้ว หรือสิ่งปฏิกูลอันอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลง รวมทั้งเชื้อโรค
ต่างๆ ขึ้นได้
1.1.2 อยู่ห่างจากบริเวณหรือสถานที่ที่มีฝุ่นมากผิดปกติ
1.1.3 ไม่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่น่ารังเกียจ
1.1.4 บริเวณพื้นที่ตั้งตัวอาคารไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก และมีท่อระบายน้ำเพื่อให้ไหลลงสู่ทางระบายน้ำสาธารณะในกรณีที่สถานที่ตั้ง ตัวอาคาร ซึ่งใช้ผลิตอาหารอยู่ติดกับ
บริเวณที่มีสภาพไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตามข้อ 1.1.1-1.1.4 ต้องมีกรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดสัตว์รบกวน (pest) และสัตว์นำโรค ตลอดจนฝุ่นผง
และสาเหตุของการปนเปื้อน และการปนเปื้อนข้าม (cross contamination)
1.2 อาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะที่ง่ายแก่การทะนุบำรุงสภาพ รักษาความสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน โดย

1.2.1 พื้น ฝาผนัง และเพดานของอาคารสถานที่ผลิต ต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน เรียบ ทำความสะอาด และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา

1.2.2 ต้องแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับที่อยู่อาศัย
1.2.3 ต้องมีมาตรการป้องกันสัตว์และแมลงไม่ให้เข้าในบริเวณอาคารผลิต
1.2.4 จัดให้มีพื้นที่เพียงพอที่จะติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้ เป็นไปตามสายงานการผลิตอาหารแต่ละประเภท และแบ่งแยกพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วน
เพื่อป้องกันการปนเปื้อนอันอาจเกิดขึ้นกับอาหารที่ผลิตขึ้น
1.2.5 ไม่มีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตอยู่ในบริเวณผลิต
1.2.6 จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานภายในอาคารผลิต
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต
(ดู hygienic designed equipment ด้วย)
2.1 ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่พื้นผิวสัมผัสอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารอันอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
2.2 โต๊ะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่พื้นผิวสัมผัสอาหาร ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย และไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่อาจเป็นอันตราย
แก่สุขภาพของผู้บริโภค โดยมีความสูงเหมาะสมและมีเพียงพอในการปฏิบัติงาน
2.3 การออกแบบติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร ที่ใช้เหมาะสมและคำนึงถึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งสามารถทำความสะอาดตัวเครื่องมือ
เครื่องจักร และบริเวณที่ตั้งได้ง่ายและทั่วถึง
2.4 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีตั้งแต่การ ตรวจรับวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร การขนย้าย การจัดเตรียม การผลิต
การบรรจุ การเก็บรักษาอาหาร และการขนส่ง
3.1.1 วัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภค ต้องล้างหรือ
ทำ ความสะอาดตามความจำเป็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรก หรือสิ่งปนเปื้อนที่อาจติดหรือปนมากับวัตถุนั้นๆ และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนได้
โดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และมีการหมุนเวียนสต๊อกของวัตถุดิบและส่วนผสมอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ

3.1.2 ภาชนะบรรจุอาหารและภาชนะที่ใช้ในการขนถ่ายวัตถุดิบและส่วนผสมในการผลิตอาหาร ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ในการนี้ ต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสมและไม่ทำให้
เกิดการปนเปื้อนกับอาหารในระหว่างการผลิต
3.1.3 น้ำแข็งและไอน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องน้ำแข็งและน้ำบริโภค และการนำไปใช้
ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
3.1.4 น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร ต้องเป็นน้ำสะอาดบริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค และการนำไปใช้ในสภาพ
ที่ถูกสุขลักษณะ
3.1.5 การผลิต การเก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องป้องกันการปนเปื้อนและป้องกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย
3.1.6 การดำเนินการควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด ให้อยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
3.2 จัดทำบันทึกและรายงานอย่างน้อยดังต่อไปนี้
3.2.1 ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
3.2.2 ชนิดและปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์และวันเดือนปีที่ผลิต โดยให้เก็บบันทึกและรายงานไว้อย่างน้อย 2 ปี
4. การสุขาภิบาล
4.1 น้ำที่ใช้ภายในโรงงาน ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็น
4.2 จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่างครบถ้วน และต้องแยกต่างหากจากบริเวณผลิต
หรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
4.3 จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอและมีอุปกรณ์การล้างมืออย่างครบถ้วน
4.4 จัดให้มีวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลงในสถานที่ผลิตตามความเหมาะสม
4.5 จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
4.6 จัดให้มีทางระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหาร

5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
5.1 ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพสะอาดถูกสุขลักษณะโดยสม่ำเสมอ
5.2 ต้องทำความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาดทั้งก่อนและหลังการผลิต สำหรับชิ้นส่วนของเครื่องมือ
เครื่องจักรต่างๆ ที่อาจเป็นแหล่งสะสมจุลินทรีย์ หรือก่อให้เกิดการปนเปื้อนอาหาร สามารถทำความสะอาดด้วยวิธีที่เหมาะสมและเพียงพอ
5.3 พื้นผิวที่สัมผัสกับอาหาร (food contact surface) ของเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต ต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
5.4 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต ต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ
5.5 การใช้สารเคมีที่ใช้ล้างทำความสะอาด (cleaning agent) ตลอดจนเคมีวัตถุที่ใช้เกี่ยวข้องกับการผลิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัย และการเก็บรักษาวัตถุดังกล่าว
จะต้องแยกเป็นสัดส่วนและปลอดภัย
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน (personal hygiene)
6.1 ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่ารังเกียจตามที่ กำหนดโดยกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
6.2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในขณะที่ดำเนินการผลิตและมีการสัมผัสโดยตรง กับอาหาร หรือส่วนผสมของอาหาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพื้นที่ผิวที่อาจมีการสัมผัส
กับอาหาร ต้อง
6.2.1 สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน กรณีที่ใช้เสื้อคลุมก็ต้องสะอาด
6.2.2 ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และหลังการปนเปื้อน
6.2.3 ใช้ถุงมือที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสะอาดถูกสุขลักษณะ ทำด้วยวัสดุที่ไม่มีสารละลายหลุดออกมาปนเปื้อนอาหารและของเหลวซึมผ่านไม่ได้ สำหรับจับต้องหรือ
สัมผัสกับอาหาร กรณีไม่สวมถุงมือต้องมีมาตรการให้คนงานล้างมือ เล็บ แขนให้สะอาด
6.2.4 ไม่สวมใส่เครื่องประดับต่างๆ ขณะปฏิบัติงาน และดูแลสุขอนามัยของมือและเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ
6.2.5 สวมหมวก หรือผ้าคลุมผม หรือตาข่าย
6.3 มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไปในการผลิตอาหารตามความเหมาะสม
6.4 ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ปฏิบัติตามข้อ 6.1-6.2 เมื่ออยู่ในบริเวณผลิต
Reference

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รายชื่อกำนันในอำเภอสุคิริน

๑. นายพันธ์ ตั้งอยู่ ต.ภูเขาทอง มี ๘ หมู่บ้าน
๒. นายสมพร ไชยมณี ต.เกียร์ มี ๕ หมู่บ้าน
๓. นายสุทัศน์ ทองดี ต.สุคิริน มี ๑๓ หมู่บ้าน
๔. นายยาลี มูดอ ต.มาโมง มี๑๐ หมู่บ้าน
๕. นายมะยูโซ๊ะ อาแว ต.ร่มไทร มี ๕ หมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยในการเป็นนักพูด

1. องค์ประกอบในการส่งเสริมการพูด
1. บุคลิกลักษณะ 
2. ภาษากาย
3. น้ำเสียง
4. ภาษาพูด
บริติชเคาน์ซิล กรุงเทพฯ ได้สรุปสิ่งที่ผู้พึงกระทำไว้ในเอกสารอบรมเรื่องการพูดต่อที่ชุมนุมชน (2002) ดังนี้



ควรทำ

- ใช้ประโยคง่าย ๆ ที่เป็นคำพูดของผู้พูด พูดกับผู้ฟังโดยตรง (direct sentence)
- ใช้กริยาที่บอกการกระทำ (active verb เพราะเข้าใจง่าย
- ใช้สรรพนาม I, you, we ตามความเหมาะสมเพื่อให้ดูเป็นกันเองกับผู้ฟัง
- ใช้คำคุณศัพท์ประกอบนามเพื่อบอกลักษณะให้ชัดเจน
- ฝึกซ้อมพูด เพื่อมิให้ออกเสียงผิดหรือตะกุกตะกัก

ไม่ควรทำ

- ใช้ศัพท์ทางวิชาการหรือศัพท์เฉพาะซึ่งยากแก่การเข้าใจ
- พูดไม่เข้าประเด็น
- พูดละเอียดหรือกว้างเกินไป
- เขียนบทพูดอย่างละเอียดทุกคำพูด
- พูดยกย่องตนเองหรือดูถูกผู้ฟัง
- เลียนแบบผู้อื่น ทั้งน้ำเสียงและกิริยาท่าทาง

5. วิธีพูด
6. อารมณ์ขัน
7. สื่อและอุปกรณ์โสตทัศน์

Honorable Deputy Prime Minister His Excellency Mr. (ชื่อ นามสกุล)

Her Excellency Mrs. (ชื่อ นามสกุล), Minister to the Prime Minister’s Office,

His Excellency Mr. (ชื่อ นามสกุล), Executive Secretary of ESCAP,

Mr. (ชื่อ นามสกุล), Governor of the Tourism Authority of Thailand.

Excellencise,

Ladies and Gentlemen,

You Royal Highness, the Duke of Kent,

The Honorable Ambassador of the United Kingdom to the Kingdom of Thailand,

The President of Mahidol University,

Distinguished Gests, Ladies and Gentlemen,

Mr. (ชื่อ นามสกุล) ASIAN Representative, Distinguished Members of the Delegation, Ladies and Gentlemen.

Your Honorable, the Lord Mayor of Los Angeles, Ladies and Gentlemen.

Professor (ชื่อ นามสกุล) President of AIC, Excellencies, Distinguished Guests, Members of the 57th Graduating Class Ladies and Gentlemen.


คำพูดที่ใช้เรียกขานบุคคลตามหน้าที่ / ตำแหน่ง

หน้าที่ / ตำแหน่ง = คำเรียกขาน
The Audience ผู้ฟัง
Participants ผู้เข้าร่วมประชุม/สัมมนา
Delegate (s) ผู้แทนองค์กร
Chairperson/Chair / Mr. Chairman/Madam Chairwoman ประธานในพิธี
The Lecturer/Speaker ผู้บรรยาย/องค์ปาฐก
The Panelist (s) ผู้อภิปรายในการอภิปรายกลุ่ม
The Moderator ผู้ดำเนินรายการในการอภิปราย
Mr.Mayor/Madam MayorYour Honorable, The Lord Mayor of (ชื่อเมือง) นายกเทศมนตรี
Mr. President/Madam President ประธาน/อธิการบดี
Mr. Dean/ Madam Dean คณบดี
My Lord ผู้พิพากษาศาลสูง
Judge/Mr. Justice ผู้พิพากษา
Your Excellency / Excellencies รัฐมนตรี
Your Excellency / Your Honorable เอกอัครราชทูต
Mr. Governor/ Your Excellency ผู้ว่าราชการจังหวัด
Distinguished Guests แขกผู้มีเกียรติ
Ladies and Gentlemen สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี

หมายเหตุ 1. ใช้ Your นำหน้าคำเรียกขานที่แสดงความเคารพคือ Excellency หรือ Honorable เมื่อพูดกับผู้นั้นโดยตรง และใช้ His (ชาย) / Her (หญิง) นำหน้าคำเรียกขานดังกล่าวเมื่อเอ่ยถึงบุคลผู้นั้นในฐานะบุคคลที่สาม
2. จะไม่ใส่ Your/His/Her นำหน้า Excellency / Honorable ก็ได้
3. จะใช้ Honorable / Excellency ควบกับตำแหน่งหรือชื่อนามสกุลของบุคคลนั้นก็ได้ เช่น
The Honorable Miss Eva kraut
Your/His Excellency the Minister of Finance


โครงเรื่องและขั้นตอนในการพูด
 
โครงเรื่อง
ใช้เวลาพูด
ขั้นตอน
1. บทนำบอกผู้ฟังว่าจะพูดอะไร
(Tell them what you are going to tell them)
10%
กล่าวคำปฏิสันถารหรือ
ทักทายผู้ฟัง (greeting)

อารัมภบท (Introduction)

บอกหัวข้อต่าง ๆ ที่จะพูด (outline)

บอกช่วงเวลาที่ผู้ฟังจะถาม (questions)

2. เนื้อเรื่อง
พูดเนื้อหา
Tell them
85%
พูดเนื้อเรื่องทีละหัวข้อ (main part)

3. บทสรุป
บอกผู้ฟังอีกครั้งว่าได้พูดอะไรไปแล้ว
Tell them what you have told.
5%
พูดทบทวนเนื้อเรื่องโดยย่อ (summary)

สรุป (conclusion)

กล่าวคำลงท้าย (ending)


วิธีเชื่อมโยงขั้นตอนการพูดให้ต่อเนื่องด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ(Signposting)

หน้าที่ / ความหมาย และถ้อยคำที่เชื่อมโยง
1. บอกการเริ่มต้นพูด
(บอกชื่อเรื่อง)
- I’d like to talk to you today about______
- I’m going to talk about_______
- My talk today will be in______
2. บอกวัตถุประสงค์ในการพูด
- The aim of my talk is _____
- My purpose today is______
3. บอกการแบ่งหัวข้อ
- I’d like to break my talk into the following topics. First. I’ll talk about_____ Next, I’ll come to _____. After that, I deal with _____ Lastly, I’ll focus on _____
- I’ll divide my talk into ____ parts. Frist of all, I’ll give you an overview of _____. Then I’ll move on to_____. Finally, I’ll focus on _____ before concluding with some recommendations.
- To start with, I’ll describe______ Then I’ll mention____. After that I’ll consider_____. Finally, I’ll summarize my presentation.
4. บอกช่วงเวลาที่ผู้ฟังจะถามได้
- Please feel free to interrupt me if you have any questions. Otherwise, there’ll be time for discussion at the end.
- I’ll try to answer any of your questions after the presentation.
- I would be happy to answer your questions after the discussion.
5. เริ่มพูดทีละหัวข้อตามลำดับ
- Let’s start with the first topic______
6. จบหัวข้อย่อย
- Well, I’ve told you about____
- That’s all I have to say about_____
- To summarize this point, I’ve mentioned______



หน้าที่ / ความหมาย และ ถ้อยคำที่เชื่อมโยง
7. เริ่มหัวข้อใหม่
- Now, I’ll move on to _____
- Next _____
- I’d like now to discuss about_____
- Let’s look now at _____- This leads to the next point
8. ขอย้อนกลับไปหรือให้ฟังต่อไป
- As I mentioned earlier about_____
- We’ll come back to this point later.
- I’ll talk about this in the next part.
9. ตรวจสอบความเข้าใจของผู้ฟัง
- Is that clear?
- Are there any questions?
- Does that answer your questions?
10. ให้ดูสื่อประกอบการพูด
- This transparency shows____- If you look at this graph, you can see____
- I’d like to draw your attention to this chart
- As you can see from this graph,______
11. อ้างอิงสิ่งที่ทุกคนรู้
- As you know____- I’m sure you’re aware of ____
12. เน้นจุดเด่น
- particularly
- in particular
- especially
13. จะเปลี่ยนเรื่องพูดหรือแสดงการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลเก่ากับข้อมูลใหม่
- Well/By the way / Now
- I’d like now to move on to_____
- Turning now to _____
- Let’s consider_____
- Let’s move to _____


หน้าที่ / ความหมาย และ ถ้อยคำที่เชื่อมโยง
14. อ้างอิงไปถึงคำพูดของผู้ฟัง
- You said that_____
- You mentioned____
- Could I go back to the point you made about____?
15. - เชิญให้ผู้ฟังถาม
- ผู้ฟังขอถาม
- Are there any questions from the floor?
- Can I interrupt you at this point?
Sure (ตอบอนุญาต)
- Do you mind telling me about____?
Of course not (เชิญถามได้เลย)
16. แสดงการรับรู้และสนใจคำถามที่ผู้ฟังถาม
- That’s interesting.
- That’s a good question.
- I’m glad you raised that point.
17. ขอให้ถามใหม่เพราะไม่เข้าใจ
- I didn’t quite catch that.
- Could you go over your question again?
- Could you expand on that question?
18. บ่ายเบี่ยงยังไม่ตอบคำถามของผู้ฟัง
- Can I get back to you on that later?
- I’ll come back to this question later.
- I’m afraid I don’t know the answer.
- I’m sorry, that information is confidential.
- Can we discuss about it after this session?
- I don’t have any information at present.
- I’m afraid that’s not my field.
19. แสดงความไม่เห็นด้วย
- I’m afraid I don’t agree with your point.
- I think it isn’t quite right.
- Yes, but_______
20. เสนอแนะ
- Why don’t we____- I’d like to make a suggestion.
- I recommend that_____


หน้าที่ / ความหมาย และถ้อยคำที่เชื่อมโยง
21. ย่อเรื่อง
- To sum up.____
- I’d like to sum up now.
- Let me summarize what I’ve said
- Finally, let me remind you of some of the main points.
22. สรุป
- In conclusion, my recommendations are_____
- I would propose the following strategies.
23. ขอบคุณผู้ฟัง
- Thank you for your attention.
- May I thank you all for being such an attentive audience.
24. จบการพูด
- So, that brings me to the end of my presentation.
- That completes my talk.

การเชื่อมข้อความระหว่างประโยคหรือภายในประโยค
คำหรือวลีบางประเภทสามารถนำมาเชื่อมโยงเนื้อหาให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันได้ดังนี้
1. ใช้คำสันธาน (conjunction) เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน
(1) Coordinating conjunction ใช้เชื่อมประโยคอิสระ 2 ประโยคเข้าเป็นประโยค
เดียวกันเรียกว่า compound sentence
(2) Subordinating conjunction ใช้เชื่อมประโยคขยายหรืออนุประโยคเข้ากับประโยคหลักให้เป็นประโยคความซ้อน (complex sentence)
2. ใช้คำเชื่อมที่เป็นกริยาวิเศษณ์ (conjunctive adverb) วางไว้ในประโยคที่ต้องการเตือนผู้ฟังล่วงหน้า ว่าข้อความในประโยคนั้นจะสื่อความหมายไปในทำนองใด เช่น จะเป็นตัวอย่าง อธิบายซ้ำข้อความเดิม บอกลำดับขั้นก่อนหลัง ฯลฯ
- Somtam, in other words, spicy papaya salad is now available in many first class hotels.
ส้มตำ หรืออีกนัยหนึ่ง สลัดมะละกอรสเผ็ด มีขายแล้วตามโรงแรมชั้นหนึ่งหลายแห่ง (เชื่อมข้อความที่อธิบายซ้ำคำเดิมโดยใช้ conjunctive adverb)
- We must stop smoking now because the number of people who die of lung cancer is considerably increasing
เราต้องเลิกบุหรี่ ณ บัดนี้ เพราะจำนวนคนที่ตายด้วยโรคมะเร็งปอดกำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย (บอกสาเหตุโดยใช้ Subordinating conjunction)
ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงคำเชื่อมต่าง ๆ และการสื่อความหมาย ซึ่งผู้พูดควรนำไปใช้เชื่อมโยงข้อความที่พูด เพื่อให้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น
ตารางเปรียบเทียบ conjunctive adverb และ conjunction
ความหมาย
Conjunctive
adverb
Conjunctions
Coordinating
Subordinating
บอกลำดับขั้นตอน
first, etc, at first, next, now, last, then, after

after, before, while, when
ลำดับความสำคัญ
above all, significantly, primarily, more, most important


ตัวอย่าง
for example,
for instance


สาเหตุ

for
Because, as since
ผล
therefore, hence, for this reason, as a result, consequence, consequently, thus
so

ขัดแย้ง


even though, although
ตรงกันข้าม
on the other hand.
instead, however,
nevertheless, still, in contrast, on the contrary
but, yet
Whereas, while
ความเหมือน
likewise, also, similarly, too, in the same way
both-and, neither-nor,
not only-but also
as, just as
อธิบายซ้ำ
in other words, that is


เน้น
indeed, in fact


เพิ่มความ
in addition, moreover, also, furthermore, besides
and, nor

เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
otherwise
or
if, unless
สรุป
all in all, in brief, in short, in summary, in conclusion


ตัวอย่างขั้นตอนคำปราศรัยที่มีการเชื่อมโยงคำพูด
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสำนวนที่ปรากฏในแต่ละขั้นตอน ของคำปราศรัยของผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เรื่องความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศในปัจจุบัน เนื่องในการประชุมสัมมนาของผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ที่กรุงเทพฯ
1. ทักทายผู้ฟัง
(greeting) บทนำ
Mr. Chairman, Distingquished Delegates, Ladies and Gentlemen,
ท่านประธาน ท่านผู้แทน ท่านสุภาพบุรุษและท่านสุภาพสตรี
It is a great pleasure to be here and to welcome you all to amazing Thailand. Thank you for giving me the opportunity
to address you on the subject of public-private partnership in tourism development in Thailand today, Let me also express my thanks to the World Tourism Organization and UN ESCAP for their strong support in organizing this regional seminar.

ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่เป็นผู้กล่าวต้อนรับท่านสู่ “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” ขอขอบคุณที่ได้ให้โอกาสผลกล่าวปราศรัยในหัวข้อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ผมต้องขอขอบคุณองค์การท่องเที่ยวโลก และเอสแคปแห่งสหประชาชาติ ที่ได้ช่วยสนับสนุนการจัดประชุมระดับภูมิภาคในครั้งนี้

2. บอกหัวข้อเรื่อง
(topic) หรือวัตถุประสงค์
(objective) The them of this seminar is public – private partner ship in
tourism development in Thailand today.

หัวข้อการสัมมนาครั้งนี้คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาค
เอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปัจจุบัน


3. บอกโครงเรื่องหรือหัวข้อย่อย
(Outlining) I will divide my talk into three parts namely Thai travel tourism,
public sectors’ participation, and private sectors’ participation.
ผมขอแบ่งหัวข้อการพูดเป็น 3 ตอนได้แก่ การท่องเที่ยวใน
ประเทศไทย การมีส่วนร่วมของภาครัฐ และการมีส่วนร่วมของ
ภาคเอกชน
4. เริ่มต้นหัวข้อแรก
(first section) 
เนื้อเรื่อง
So, let’s start with Thai travel tourism.
ผมขอเริ่มพูดในหัวข้อแรก 8อ การท่องเที่ยวในประเทศไทย

5. ย่อเรื่องที่พูดใน
หัวข้อแรก
(summarizing)
To summarize there were six major reasons for Thailand’s
Tourism success in 2001-2002
ขอสรุปว่า มีสาเหตุอยู่ 6 ประการ ที่ทำให้การท่องเที่ยวของ
ประเทศไทยประสบความสำเร็จระหว่างปี ค.ศ. 2001-2002

6. เริ่มพูดด้วยหัวข้อที่สอง/ สาม (moving
To new section)

Now, let’s move on to public sectors’ participation….
ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของภาครัฐ....

This leads to the third point private sectors’ participation.
มาถึงตอนที่สามคือ ความร่วมมือของภาคเอกชน

7. ย้อนกลับไปอ้างถึงเรื่องที่พูดไปแล้ว
(referring backwards)
As I mentioned earlier, development in our 9th five year
Development plan will take effect from October next year.
ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้ว แผนพัฒนาห้าปีครั้งที่ 9 จะมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีหน้าเป็นต้นไป

8. ให้ดูสื่อประกอบ referring to visuals)
If you look at this chart, you can see TATs Board of Directors.
ถ้าท่านดูแผนภาพนี้ ท่านจะเห็นผังการบริหารของคณะกรรมการ
บริหารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

9. เท้าความถึงสิ่งที่ผู้ฟังทุกคนรู้/เข้าใจ
(referring to common
knowledge)
I’m sure you’re aware of the importance of partner-ship.
ผมมั่นใจว่าท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงความสำคัญของการเป็น
หุ้นส่วนกัน


บทสรุป
10. ย่อเรื่องที่พูดมาแล้วทั้งหมด
(summarizing)
To summarize, I’ve told you about the success of Thailand’s
Tourism in 2001-2002
ขอทบทวนเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างย่อ ๆ คือผมได้พูดถึง
ความสำเร็จของการท่องเที่ยวของไทยในช่วงปี ค.ศ. 2001-2002

11. การสรุป
(concluding)
In conclusion, the Thai tourism industry now needs to rise
to the challenge of management….

สรุปคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในปัจจุบันจำเป็นต้อง
12. ให้ผู้ฟังซักถาม
(dialing with questions)
มีการบริหารจัดการที่เฉียบคม....

Are there any questions?
มีปัญหาจะถามบ้างไหมครับ


13. ขอบคุณผู้สนับสนุนและผู้ฟัง (thanking)


Once more, allow me to thank the WTO for its initiative in
organizing this seminar and for allowing me to address you
today. Thank you for your time.
ขอขอบคุณองค์การท่องเที่ยวโลกที่ได้กระตุ้นให้มีการจัดสัมมนา
ครั้งนี้ และทำให้ผมได้มีโอกาสปราศรัยกับท่านทั้งหลาย ณ ที่นี้
ขอขอบคุณที่ท่านมาร่วมประชุม

14. อวยพรผู้เข้าร่วมสัมมนา (expressing wish)


I wish you all a successful seminar and a pleasant stay in
Thailand. Sawasedd khrap?
ผมขออวยพรให้การสัมมนาประสบผลสำเร็จ และขอให้ทุกท่านมี
ความสุขขณะอยู่ในประเทศไทย สวัสดีครับ

By กัญณภัทร นิธิศวราภากุล

อ้างถึง: http://kannaphat-n.blogspot.com/2009/08/blog-post.html