วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเปลีี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change)

การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเวลา หรือขึ้นอยู่กับเวลา เพราะฉะนั้น การเปลีี่ยนแปลง คือ การทีี่สิิ่งใดสิิ่งหนึึ่งได้้แปรสภาพจากทีี่เคยเป็น็นอยู่ม่มาเป็น็นสภาพใหม่ โดยเป็น็นความแตกต่าง ทีี่เกิดขึึ้นต่อ่อเนืื่องกัน และมีองค์ป์ประกอบของ เวลา เป็น็นเครืื่องกำาหนดการเปลีี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) Rogers (1969 : 3) กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างและหน้าที่ในระบบสังคมMoore (1968 : 366)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโครงสร้างทางสังคม ในที่นี้คือ การเปลี่ยนแปลงแบบแผน การกระทำทางสังคม และการกระทำระหว่างกันทางสังคม รวมถึงผลที่เกิดขึ้นและการแสดงออกของโครงสร้างทางสังคมนั้นๆ ที่เกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยม ผลผลิต และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
การเปลีี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural Change) Allen (1971 : 38-40) การเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาและรูปแบบที่สร้างขึ้น และส่งผ่านกันต่อมาของค่านิยม ความคิด ความเชื่อ และระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่
เป็นปัจจัยในการขัดเกลาพฤติกรรมของมนุษย์ และสิ่งของที่ประดิษฐ์ขึ้น เรียกอีกอย่างว่า การเปลี่ยนแปลงใน “วิถีชีวิต” (Way of life) ผ่องพันธุ์ (2521 : 14) เป็นการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตชาวบ้าน หรือจารีต
ประเพณี กฎหมาย ศาสนา สิ่งประดิษฐ์ และวัตถุอื่นๆ ในวิถีชีวิตของคน โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคม ทั้งนี้ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนซึ่งเป็น
สมาชิกในสังคมนั้น
การเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Change)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม  มองที่โครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคมที่เปลี่ยนไป ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  มองที่วิถีชีวิต ระเบียบแบบแผน และระบบความคิดที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการศึกษาเรื่องของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเรื่องเดียวกัน แต่มองกันคนละแง่ โดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญในเชิง
วิเคราะห์ในรายละเอียด เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อปรากฏการณ์และพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมมากขึ้น
การวิเคราะห์ก์การเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
􀁮 จำานวนของการเปลีี่ยนแปลง 􀃆 เป็นการเน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนั้นว่าสำคัญมากหรือน้อย และดูปริมาณการเปลี่ยนแปลงว่ามีมาก หรือน้อย เป็นการวัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
􀁯 ระยะเวลาของการเปลีี่ยนแปลง 􀃆 พิจารณาจากระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นไปอย่างช้าๆ หรือฉับพลัน
􀁰 อัตราของการเปลีี่ยนแปลง 􀃆 เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณที่มีการเปรียบเทียบจากระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร
􀁱 ทิศทางของการเปลีี่ยนแปลง 􀃆 พิจารณาจากจุดมุ่งหมายที่ปรารถนา ซึ่งเมื่อเวลาเปลี่ยนไปได้บรรลุเป้าหมายมากหรือน้อย
􀁲 ระดับของการเปลีี่ยนแปลง 􀂒 การเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคมต่างๆ เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นเสมอ เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาท การใช้ภาษา เป็นต้น
􀂒 การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคม ซึ่งเกิดจากการสะสมการเปลี่ยนแปลงในระดับจุลภาค เช่น การเปลี่ยนรูปแบบความเป็นอยู่ง่ายๆ ไปเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
􀁳 ธรรมชาติของการเปลีี่ยนแปลง พิจารณาได้ 3 แบบ คือ .....
􀁾 การเปลี่ยนแปลงแบบวิวัฒนาการ เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่ค่อยมีผลต่อความรู้สึกหรือวิถีชีวิตของประชาชน ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งต้องใช้เวลานาน
􀁾 การเปลี่ยนแปลงแบบพัฒนา เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนโดยตั้งใจที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามแผนการดำเนินการที่แน่นอน
􀁾 การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันจากระบบสังคมหนึ่งไปสู่สังคมอีกระบบหนึ่ง
􀁴 มิติของการเปลีี่ยนแปลง สามารถพิจารณาได้ 3 มิติ คือ ....
􀂾 มิติเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ที่เน้นโครงสร้างทางสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีลักษณะเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เช่น สถานภาพและบทบาท การเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐาน และค่านิยม
􀂾 มิติเกี่ยวกับวัฒนธรรม เป็นการเน้นที่วัฒนธรรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อย หรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถมองได้ 3 แบบ คือ การรับสิ่งใหม่ (Innovation) การกระจายวัฒนธรรม (Diffusion) และ
การบูรณารวมหน่วย (Integration)
􀂾 มิติเกี่ยวกับการกระทำระหว่างกัน เป็นการพิจารณาการกระทำระหว่างกันทางสังคมว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
กระบวนการเปลีี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมือง (Urbanization)
การเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย (Modernization)
การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization)
การเปลี่ยนไปสู่ระเบียบบริหารแบบราชการ (Bureaucratization)
มีกระบวนการต่างๆ เกิดขึ้น ได้แก่......
􀁮 การเปลีี่ยนไปสู่วามเป็น็นเมือง เป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ได้มาอยู่รวมกันเป็นชุมชนจน กลายเป็นเมือง เกี่ยวข้องกับการกระจายอิทธิพลของสังคมเมืองไปสู่ สังคมชนบทในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านอาชีพ และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรม มาเป็นสังคมอุตสาหกรรม และการยอมรับลักษณะวิถีชีวิตความอยู่แบบเมืองมากขึ้น
กระบวนการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองในประเทศกำลังพัฒนา มีลักษณะดังนี้ ....
1) การพัฒนาการบริการและอาชีพที่ให้บริการต่างๆ เพิ่มขึ้น มากกว่าการการพัฒนาอุตสาหกรรม
2) การย้ายถิ่นของชาวชนบทเข้าสู่เมืองเป็นจำนวนมาก และ สาเหตุย้ายถิ่นมาจากปัจจัยผลักดันจากชนบทมากว่าปัจจัยดึงดูดในเขตเมือง
3) เมืองที่ชาวชนบทย้ายถิ่นเข้าไปนั้นจะกลายเป็น “เอกนคร” (Primate City) คือ เมืองที่ใหญ่โตกว่าเมืองที่มีขนาดรองลงไปอย่างมาก
􀁯 การเปลีี่ยนไปสู่ความทันสมัย เป็นแนวคิดที่เริ่มใช้กันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศทั้งหลายต่างพยายามพัฒนาตนเองให้มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) โดยเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง ที่เปลี่ยนจากสภาพดั้งเดิมไปสู่ลักษณะที่มีความ
ทันสมัยมากขึ้น ดังเช่นประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง คือ “ การพัฒนา ” Smelser (1963) การเปลี่ยนสู่ความทันสมัยของประเทศกำลังพัฒนา เกี่ยวข้องกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน ประกอบด้วย ....
􀁮 ด้านเทคโนโลยี การใช้เทคนิคง่ายๆ 􀁆 การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
􀁯 ด้านเกษตรกรรม การทำเกษตรเพื่อยังชีพ 􀁆 การทำการเกษตรเพื่อการค้า
􀁰 ด้านอุตสาหกรรม การใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์ 􀁆 การใช้เครื่องจักรเครื่องกล
􀁱 ด้านนิเวศวิทยา การตั้งถิ่นฐานในชนบท/พื้นที่เพาะปลูก 􀁆 การตั้งถิ่นฐานในเมือง
นอกจากนี้ Hoogvelt (1978 : 61) ได้สรุปลักษณะหรือสิ่งที่บ่งชี้การเคลื่อนไหวที่นำไปสู่ความทันสมัยในสังคมของประเทศกำลังพัฒนา มีด้วยกัน 11 ลักษณะที่เกิดขึ้น ดังนี้ ......
1) การเกิดขึ้นของเมือง
2) การเพิ่มขึ้นของอัตราการรู้หนังสือและการให้การฝึกอบรมวิชาชีพ
3) การขยายตัวของหนังสือพิมพ์และสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ
4) การปกครองแบบประชาธิปไตย
5) การค้าเสรี
6) การคิดแบบมีเหตุผล
7) การเคลื่อนไหวทางสังคมในอัตราที่สูง
8) ความหลากหลายในโครงสร้างอาชีพ
9) การเกิดขึ้นของการรวมกลุ่มแบบสมัครใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สมาคม สหพันธ์ ฯลฯ
10) จำนวนครอบครัวเดี่ยวที่มากขึ้น
11) ระบบความยุติธรรมที่เป็นอิสระมากขึ้น

􀁰 การเปลีี่ยนไปสูค่ค่ วามเป็น็นอุตสาหกรรม กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี หรือด้านเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนการผลิตภายในสังคมให้ให้ทั่วถึง จึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจภายในสังคม เป็นกระบวนการทำลายระบบศักดินา ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ระบบทุนนิยมที่สำคัญ และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเป็นแบบสังคมเมือง
พื้นฐานของการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรมในสังคมหนึ่งๆ จะมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้....
การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวัตถุ 􀃆 เพื่อช่วยจัดการกับทรัพยากร และนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์มากที่สุดและประหยัดที่สุด
การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร
การพัฒนาการจัดระเบียบทางสังคม 􀃆 ลักษณะของการแบ่งงานกันทำ มีผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ความเป็นอยู่ในสังคมมีลักษณะเป็นทางการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง 􀃆 เพื่อกำหนดระเบียบต่างๆ
เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมและอื่นๆ และความมั่นคงของรัฐบาล
การพัฒนาค่านิยมแบบทุนนิยม 􀃆 ประชาชนมักมีค่านิยมในการลงทุน กล้าเสี่ยง ทำงานหนัก
􀁱 การเปลีี่ยนไปสู่ร่ระเบียบบริหารระบบราชการ กระบวนการจัดระเบียบทางสังคมอย่างมีเหตุผล เพื่อที่จะปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จ และตรงเป้าหมาย
การเปลี่ยนไปสู่ระเบียบบริหารระบบราชการมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย การเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมือง และการเปลี่ยนไปสู่ความอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีรูปแบบของการ
บริหารและการติดต่อที่มีกฎเกณฑ์หรือกฎหมายอย่างมีเหตุผล รวมถึง การจัดระเบียบภายในองค์กร

ทั้งนี้ กระบวนการทั้ง 4 ที่เกิดขึ้นจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กันอย่างมาก และเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถพบได้ทั่วไปในสังคม
ของประเทศกำลังพัฒนา โดยเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้าน
ต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ......
การเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ ( Economic transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจของชุมชน โดยเฉพาะระบบการผลิตหลักของชุมชน จากการผลิตเพื่อการ
ยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าและการส่งออก ซึ่งมีกลไกระบบตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยน แปลงโครงสร้างทางสังคม จากสภาพสังคมประเพณีดั้งเดิม (Traditional society) ไปสู่ลักษณะสังคมสมัยใหม่ (Modern
society) เพื่อความเจริญและความทัดเทียมกันของสมาชิกในสังคม เช่น บริการทางการศึกษา การสาธารณะสุข ที่อยู่อาศัย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (Cultural transformation) เป็นการเข้ามามีบทบาทเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในสังคม รวมถึงจารีต ประเพณี กฎหมาย สิ่งประดิษฐ์
และวัตถุอื่น ๆ เหล่านี้ถือเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การประกอบการเพื่อสังคม: นวัตกรรมทางสังคมของผู้ประกอบการยุคใหม่

Social Entrepreneurship: A Social Innovation for New Generation Entrepreneurs
ดร. นิตนา ฐานิตธนกร
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บทคัดย่อ
แนวความคิดการประกอบการเพื่อสังคมเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ผสมผสานทักษะทางธุรกิจของผู้ประกอบการเข้ากับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสังคมซึ่งการประกอบการเพื่อสังคมมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและแสวงหาโอกาสรูปแบบและวิธีการใหม่ๆในการเปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าการมุ่งเน้นสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียวดังนั้นการประกอบการเพื่อสังคมจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ผู้ประกอบการในยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจและสังคมตลอดจนการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยรวมอย่างยั่งยืน

Abstract
The concept of social entrepreneurship is viewed as a field of social innovation aligning entrepreneurial business skills with the goal of solving social problems. Social entrepreneurship aims to develop economic and social sustainability through pursuing the opportunities, patterns, and innovative practices for those social changes rather than focusing on profitability. Therefore, social entrepreneurship is an interesting alternative especially for new entrepreneurs to succeed in today’s competitive business environment. In addition, new generation entrepreneurs should place an emphasis on business and social development, adopting an innovative approach, resolving economic and environment problems, and making a positive impact on sustainable social change as a whole.

บทนำ
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาแล้วว่านวัตกรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ประเมินแล้วว่า 50-80% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากนวัตกรรม และความรู้ใหม่ (Mair & Marti, 2006) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ ว่า “ความคิดใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการตอบสนองเป้าหมายทางสังคม” หรือหมายถึง “กิจกรรมและบริการใหม่ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลักโดยมีการพัฒนาและเผยแพร่ผ่านองค์กรเพื่อสังคม” (Mulgan, 2007) นิยามดังกล่าวได้แยกความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างนวัตกรรมทางสังคมและนวัตกรรมเชิงธุรกิจ (Business Innovation) ที่มุ่งแสวงหาผลกำไรและเผยแพร่ผ่านองค์กรที่เน้นการสร้างผลกำไรสู่องค์กรของตนเองนวัตกรรมทางสังคมมีหลากหลายรูปแบบได้แก่การออกแบบ (Design) เทคโนโลยี (Technology) การประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) นโยบายสาธารณะ (Public Policy) การพัฒนาชุมชน (Community Development) และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement)

นอกจากนี้ นวัตกรรมทางสังคมไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในธุรกิจที่ไม่แสวงผลกำไร เช่น สถาบันการศึกษามูลนิธิวัดสหกรณ์และองค์กรการกุศลต่างๆแต่นวัตกรรมทางสังคมที่มีอยู่มากมาย ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันยังถูกขับเคลื่อน โดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอาทิหน่วยงานทางการเมืองและรัฐบาล เช่น การให้บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่หน่วยงานด้านการเกษตรเช่นอาหารเกษตรอินทรีย์หน่วยงานด้านการตลาด เช่น โปรแกรมโอเพนซอร์สหน่วยงานด้านการเงินเช่นสหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยงานด้านการศึกษาเช่นรูปแบบการสอนและการอนุบาลเด็กแนวใหม่และการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มสตรีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

แนวคิดและความหมายของการประกอบการเพื่อสังคม
ทั้งนี้ นวัตกรรมทางสังคมที่กำลังได้รับการสนใจจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวางในปัจจุบันคือ การประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) (Martin & Novicevic, 2010) จากการศึกษาวิจัยทางด้านการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) ในหลาย ๆ ประเทศพบว่าการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยรวมช่วยสร้างงานสร้างรายได้และทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและยังมีผลพวงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน (Harding, 2006)
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสแตนฟอร์ดเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดได้เพิ่มสาขาการประกอบการเพื่อสังคมเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อประยุกต์ แนวความคิดสาขานี้ในการดำเนินธุรกิจพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจริงจึงทำให้แนวความคิดนี้แพร่หลายไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกโดยเชื่อว่าการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมสามารถเป็นอีกหนทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานในภาครัฐเพียงอย่างเดียว (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2550)
ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ได้รับการกล่าวถึงในครั้งแรกโดย Peter Drucker (1979) ว่าเป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่ทางด้านสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอาทิหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการของสังคมและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและ Goldenberg (2004) ได้ให้คำจำกัดความผู้ประกอบการเพื่อสังคมคือผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ในสังคมตลอดจนเป็นผู้สรรค์สร้างสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมจากการศึกษาของ Byers และคณะ (2011) ได้จำแนกประเภทของการประกอบการ (Entrepreneurial Ventures) ไว้ 5 ประเภทอย่างชัดเจนตามรายได้ขนาดลักษณะและวัตถุประสงค์ของกิจการได้แก่ธุรกิจขนาดย่อมธุรกิจเฉพาะกลุ่มธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดธุรกิจที่ไม่แสวงผลกำไรและธุรกิจที่มีผู้ประกอบการอยู่ภายในองค์กร ดังประเภทของการประกอบการ ต่อไปนี้
1.ธุรกิจขนาดย่อม (Small Business) การเติบโตของรายได้ ช้า ขนาดเล็ก ลักษณะเจ้าของคนเดียวและเป็นธุรกิจในครอบครัว
วัตถุประสงค์แสวงหาความอิสระและความมั่งคั่งให้แก่ตนเองและหุ้นส่วนโดยการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
2.ธุรกิจเฉพาะกลุ่ม (Niche) การเติบโตของรายได้ ช้า-ปานกลาง ขนาดเล็ก-ปานกลาง ลักษณะใช้โอกาสหรือตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด
วัตถุประสงค์แสวงหาการเติบโตอย่างมั่นคงของกิจการและรายได้ที่ดี
3.ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด (High Growth) การเติบโตของรายได้ เร็ว ขนาดปานกลาง-ใหญ่ ลักษณะต้องการการลงทุนสูงที่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่
วัตถุประสงค์มุ่งสร้างธุรกิจใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ที่สำคัญ
4.ธุรกิจที่ไม่แสวงผลกำไร (Nonprofit Organization) การเติบโตของรายได้ ช้า ขนาดเล็ก-ปานกลาง ลักษณะให้บริการแก่สมาชิกหรือสังคม
วัตถุประสงค์มุ่งตอบสนองความต้องการของสังคม
5.ธุรกิจที่มีผู้ประกอบการอยู่ภายในองค์กร (Corporate New Venture) การเติบโตของรายได้ ปานกลาง-เร็ว ขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นหน่วยงานอิสระขององค์กร
วัตถุประสงค์มุ่งสร้างหน่วยธุรกิจใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ที่สำคัญหรือขยายหน่วยงานขององค์กร
ที่มา:Byers,T.H.,Dorf,R.C.,&Nelson,A.J.(2011). Technology venture: From idea to enterprise, 3rd Ed. Singapore: McGraw-Hill, 180.

โดยการประกอบกิจการส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นสร้างความมั่งคั่งและความเติบโตของผลกำไรให้แก่เจ้าของกิจการและหุ้นส่วนยกเว้นธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมโดยรวมดังนั้นการประกอบการเพื่อสังคมมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการของสังคมเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไร นอกจากนี้ Dees (2001) และ Drayton (2006) ได้กล่าวถึงผู้ประกอบการเพื่อสังคมว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งสอดคล้องกับนิยามบางส่วนในรายงานของ Global Entrepreneurship Monitor: GEM ที่ศึกษากิจกรรมของผู้ประกอบการทั่วโลกได้ให้นิยามการประกอบการเพื่อสังคม หมายถึงผู้ประกอบการที่ตระหนักถึงปัญหาของสังคมและสรรหาแนวทางใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาและสร้างคุณค่าทางสังคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนที่พยายามใช้โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่หรือสรรค์สร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยมุ่งหวังเพื่อสนองความต้องการของสังคมหรือชุมชนมากกว่าการมุ่งสร้างผลกำไรในเชิงธุรกิจคืนสู่ผู้ถือหุ้น (Harding, 2006)

กล่าวโดยสรุปนิยามของการเป็นผู้ประกอบการ จะมุ่งเน้นการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนสู่สังคม (Mair & Marti,2006) การแก้ไขปัญหาสังคม (Drayton, 2006) และนิยามส่วนใหญ่ จะกล่าวเป็นนัยถึงการแสวงหาและใช้โอกาสในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าการมุ่งเน้นสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว (Zahraetal., 2009) แนวความคิดการประกอบการเพื่อสังคมจึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่อาศัยทักษะทางธุรกิจของผู้ประกอบการผสมผสานเข้ากับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนสังคมหรือสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนดังนั้นการประกอบการเพื่อสังคมจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งของผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดจนการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมและส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ยั่งยืน

ขอบเขตของการประกอบการเพื่อสังคม
แนวทางสำหรับการประกอบการเพื่อสังคมนั้นมีหลากหลายรูปแบบโดยเน้นที่การสร้างประโยชน์สู่สังคมการใช้โอกาสและแนวทางกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างรายได้และนำไปใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมเช่นการจ้างงานหรือการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นต้น (Drainmin, 2004) จากนิยามของการประกอบการเพื่อสังคมซึ่งส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่าการไม่แสวงผลกำไรเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของการเป็นผู้ประกอบการทางสังคมแต่มีนักวิชาบางกลุ่มโต้แย้งว่าการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมไม่จำเป็นต้องเน้นที่การไม่แสวงหากำไรเท่านั้นแต่การประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเป็นไปได้ทั้งประเภทที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไรโดยยึดถือการตอบแทนประโยชน์สู่สังคมเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจพยายามกระจายรายได้สู่หน่วยผลิตในกลุ่มสังคมคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเอื้อเฟื้อแบ่งปันกระจายข้อมูลข่าวสารความรู้และวิทยาการในหมู่สมาชิก รวมทั้งนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรการผลิตต่าง ๆ ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมมักจะเน้นที่คุณค่าในตัวมนุษย์แต่ละบุคคลมากกว่าฐานะรายได้ศักยภาพในการผลิตของแต่ละบุคคลจะถูกนำมาออกมาใช้งานในฐานะผู้เป็นเจ้าของหน่วยผลิตของสังคม (บริษัทโซเชียลเอ็นเตอร์ไพร์ส, 2551) การประกอบการเพื่อสังคมจึงสามารถก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองและการพัฒนาสังคมที่ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Martin & Novicevic, 2010) การประกอบการเพื่อสังคมนั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกับองค์กรการกุศลที่มุ่งช่วยเหลือสังคมแต่จะอยู่กึ่งกลางระหว่างองค์กรการกุศลที่มุ่งเน้นประโยชน์เพื่อสังคมเพียงอย่างเดียวกับองค์กรธุรกิจที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การสร้างผลกำไรโดยการประกอบการเพื่อสังคมนั้นจะมุ่งเน้นทั้งในด้านของการพัฒนาสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการทำกำไรเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป (พสุเดชะรินทร์, 2552) ตัวอย่างของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่สามารถช่วยเหลือสังคมและสร้างผลตอบแทนให้ธุรกิจอย่างยั่งยืนได้แก่ท่านโมฮัมมัดยานุสซึ่งเป็นนายธนาคารและนักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศท่านได้ก่อตั้งและบริหารธนาคารเพื่อคนจนโดยริเริ่มและพัฒนาแนวคิด“ไมโครเครดิต”หรือการให้กู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งมีผลทำให้ประชนชนผู้ยากจนในชนบทจำนวนมากได้มีโอกาสได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพทำให้มีสภาพความเป็นอยู่และฐานะที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันธุรกิจของท่านยานุสได้ขยายสาขาเติบโตไปอย่างต่อเนื่องและมีฐานลูกค้ากว่า 25 ล้านคนทั่วโลกทำให้ท่านยานุสได้รับรางวัลโนเบลในปี 2006 (Martin & Osberg, 2007) สำหรับตัวอย่างผู้ประกอบการเพื่อสังคมในประเทศไทยมีมากมายอาทิกรณีของร้านภูฟ้าที่มีเป้าหมายการดำเนินงานที่มุ่งสร้างวงจรการตลาดที่มีประสิทธิภาพระหว่างชุมชนในท้องถิ่นทุรกันดารกับผู้บริโภคพร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นพัฒนาอาชีพให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารรวมถึงการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น(พสุเดชะรินทร์, 2552) รวมไปถึงนิตยสาร BE Magazine ซึ่งเป็นนิตยสารเพื่อสังคมเล่มแรกของเมืองไทยที่มุ่งช่วยเหลือคนขาดโอกาสในสังคมโดยการสร้างอาชีพให้คนยากจนไร้ที่อยู่อาศัยสามารถรับนิตยสารไปขายเพื่อแก้ปัญหาขอทานไปจนถึงคนเร่ร่อนไร้อาชีพทั้งนี้ผู้ก่อตั้งนิตยสารดังกล่าวได้เล็งเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจเพื่อสังคมในเมืองไทยเพราะคนไทยมีเมตตานิยมช่วยเหลือเกื้อกูลและการให้และเขามีความเชื่อว่าธุรกิจเป็นระบบที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมได้รวดเร็วที่สุด (อิศรา พนาราม, 2553) การประกอบการเพื่อสังคมไม่เพียงเป็นการช่วยเหลือผู้ขาดโอกาสเท่านั้นแต่ยังเป็นการสอนให้คนเหล่านั้นรู้จักช่วยเหลือตนเองซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ แนวคิดของการประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship) มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของการประกอบการหรือการเป็นเจ้าของธุรกิจทั่วไป (Entrepreneurship) เนื่องจาก ทั้งการประกอบธุรกิจเพื่อสังคมและการประกอบการนั้นผู้ดำเนินการจะต้องเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ซึ่งเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการรู้จักมองหาและใช้โอกาสมีความมุ่งมั่น การมุ่งเน้นความสำเร็จกล้ารับความเสี่ยงมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในดำเนินธุรกิจหรือในการสร้างธุรกิจใหม่ (Sukasame & Lee, 2008) ดังนั้นแนวคิดทั้งสองจึงสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแต่การประกอบการเพื่อสังคมนั้นสามารถช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้โดยตรงในขณะที่การประกอบการจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวทางอ้อมเท่านั้นนอกจากนี้การประกอบธุรกิจเพื่อสังคมและการประกอบการมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนที่เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจโดยที่การเป็นผู้ประกอบการมีเป้าหมายในความสำเร็จอยู่ที่การสร้างความมั่งคั่งและผลกำไรสูงสุดให้แก่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นเป็นหลักในทางตรงกันข้ามการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมทั้งในส่วนที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไรต่างยึดแนวทางด้านพัฒนาสังคมเป็นหลักส่วนผลกำไรที่เกิดจากดำเนินการนั้นจะถูกนำกลับมาลงทุนเพื่อทำพันธกิจทางด้านสังคมต่อไปมากกว่าที่จะนำผลตอบแทนไปกระจายให้แก่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น (Boschee & McClurg, 2003) ทั้งนี้ การประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship: SE) และการดำเนินธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) มีเป้าหมายที่คล้ายคลึงกันกล่าวคือมุ่งที่จะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมแต่การดำเนินธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนอกจากจะพยายามสร้างการยอมรับความน่าเชื่อถือและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมแล้วยังเป็นการสร้างฐานลูกค้าของตนในอนาคตซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นขององค์กรนั่นเอง การดำเนินธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จึงสามารถนำพาองค์กรธุรกิจไปสู่ความสำเร็จด้านการเงินและผลประกอบการที่ดีในขณะที่การประกอบการเพื่อสังคมมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยที่ผลตอบแทนที่ได้มานั้นจะนำกลับไปตอบแทนสู่สังคมช่วยส่งเสริมให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การประกอบการเพื่อสังคมจึงมีขอบเขตบางส่วนที่คล้ายคลึงกับการดำเนินธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมการประกอบการและองค์กรการกุศลแต่การประกอบการเพื่อสังคมมีขอบเขตที่กว้างกว่าแนวคิดที่กล่าวมาในข้างต้นโดยครอบคลุมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นระบบทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม

บทสรุป
แนวคิดการประกอบการเพื่อสังคมทั้งในส่วนที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไรต่างยึดแนวทางด้านการพัฒนาสังคม เป็นหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ใช้โอกาสความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดความมั่งคั่งยั่งยืนดังนั้นการประกอบการเพื่อสังคมจึงเป็นนวัตกรรมทางสังคมรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานความลงตัวระหว่างการใช้ทักษะทางธุรกิจของผู้ประกอบการผนวกเข้ากับเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่เกื้อกูล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับธุรกิจเพื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน

บรรณานุกรม
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2550).เปิดตัวหลักสูตรใหม่ “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม”.ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2553, จากhttp://www.kriengsak.com/index.php?components.
บริษัท โซเชียลเอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (2551). Social Enterprise คืออะไร ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม2553, จากhttp://www.se-thailand.org/2008/index.php?option=com_content&task=view&id=1itemid=1
พสุ เดชะรินทร์ (2552) ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur). กรุงเทพธุรกิจ.วันที่ 13 มกราคม 2552.
อาศิรา พนาราม (2553). BE Magazine นิตยสารเพื่อสังคมต่อสู้ความยากไร้ด้วยการให้อาชีพค้นเมื่อ 22 สิงหาคม2553, จากhttp://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=5264
“SocialEnterprise”มิติใหม่ธุรกิจเพื่อสังคม.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์.วันที่ 6 มกราคม 2553
Boschee,J.&McClurg,J.(2003).Toward a better understanding of social entrepreneurship:
Someimportantdistinctionshttp://www.sealliance.org/better_understanding.pdf
Byers,T.H.,Dorf,R.C.,&Nelson,A.J.(2011). Technology venture: From idea to enterprise,3
Rd Ed.Singapore:McGraw-Hill.
Draimin,T.(2004). Engaging the new social entrepreneurism. Tides Canada Foundation.
Drayton,B.(2006,Winter). Everyone a change maker: Social entrepreneurship’s ultimate goal. Innovation. MIT Presswith Harvard University and George Mason University.
Drucker,P.(1979).The practice of management. London: Pan Books.
Goldenberg,M.(2004). Social innovation in Canada: How the non-profit sector serves Canadians and how it can serve them better. Canadian Policy Research Networks Inc.(CPRN).
Harding,R.(2006). Social entrepreneurship monitor: United Kingdom. Global Entrepreneurship
Monitor United Kingdom. London Business School and The Work Foundation.
Mulgan,G.(2007). Social innovation: What it is, why it matters and how it can be accelerated. The Young Foundation. London: The Basing stoke Press.
Mair, J. & Marti, I.(2006). Social entrepreneurship research: A source of explanation, prediction, and delight. Journal of World Business,41, 36-44.
Martin, J.S. & Novicevic,M.(2010). Social entrepreneurship among Kenya farmers: A case example of acculturation challenges and program successes. International Journal of Intercultural Relations. doi:10.1016/j. ijintrel.2010.05.007
Martin,R.L.&Osberg,S.(2007,Spring). Social entrepreneurship: The case for definition.
Stanford Social Innovation Review, 29-39.
Sukasame,N. & Lee, S.M.(2008). An empirical study of critical factors relating to the competitive success of e-commerce entrepreneurs in Thailand. BUA cademic Review,7(2),81-103.
Zahra, S.A., Gedajlovic, E., NeubaumD.O., Shulman, J.M.(2009). A topology of social entrepreneurs: Motives, search processes and ethical challenges. Journal of Business Venturing, 24, 519-532.

-----------------------------------------
Executive Journal, p16-p20

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=7&ved=0CFcQFjAG&url=http%3A%2F%2Fwww.bu.ac.th%2Fknowledgecenter%2Fexecutive_journal%2Foct_dec_10%2Fpdf%2Faw1.pdf&ei=8zFfUpDyF4f3rQeE04DYAQ&usg=AFQjCNEhbCsNCj5aRzzLGvf7iTpvgDDhoA&bvm=bv.54176721,d.bmk&cad=rja

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Thailand and Malaysia to Discuss Cooperation in the Border Areas (09/12/2012)

Cooperation in the border areas between Thailand and Malaysia will be highlighted at the Twelfth Joint Commission Meeting and the Third Ministerial Meeting of Joint Development Strategy for Border Areas.

The two meetings, to be held on 14-15 December 2012 at the JW Marriott Phuket Resort and Spa in Phuket province, will be co-chaired by Deputy Prime Minister and Foreign Minister Surapong Tovichakchaikul and Malaysian Foreign Minister Dato' Sri Anifah Haji Aman.

According to the Ministry of Foreign Affairs, the Joint Commission for Bilateral Cooperation was set up in 1987 as a major bilateral mechanism to promote comprehensive cooperation between Thailand and Malaysia. Thailand established its first joint commission with Malaysia, and since then it has become a model for Thailand in establishing joint commission mechanisms with other countries. At present, the Joint Commission between Thailand and Malaysia focuses on promoting cooperation in the border areas, trade and investment, energy, tourism, care for Thai workers in Malaysia, the halal industry, education, and human resources development, as well as Confidence Building Measures in the Southern Border Provinces of Thailand.

As for the Joint Development Strategy, it was established in 2004 to promote the people’s well-being, as well as economic and human resource development, in the five southern border provinces of Thailand, namely Songkhla, Satun, Yala, Pattani, and Narathiwat, and four northern states of Malaysia – Perlis, Kedah, Kelantan, and Perak (in Pengkalan Hulu only). The promotion of economic development would contribute to the enhancement of security in the border areas and the Thai government’s efforts to resolve the southern situation.

The Twelfth Joint Commission Meeting will place special emphasis on dual citizenship cooperation, promotion of trade and investment, rubber cooperation, and the convening of the Second Joint Trade Committee Meeting in March 2013 in Chiang Mai province.

The Third Ministerial Meeting of Joint Development Strategy for Border Areas will focus on physical, institutional, and people-to-people connectivity along the border areas between Thailand and Malaysia. On the issue of physical connectivity, both sides will consider expediting the proposed construction of the two bridges across Golok River, linking Narathiwat province and the state of Kelantan. They will also discuss the integration of development plans and special economic zones of customs, immigration, and quarantine between the Sadao border area in Songkhla province and Bukit Kayu Hitam in Malaysia.

Both meetings will be a venue to strengthen bilateral cooperation between Thailand and Malaysia, which will enable them to meet changes and challenges in the region and the southern border provinces of Thailand, to support national development strategies of both sides, and to enhance connectivity in the Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) and ASEAN as a whole.

The outcome of the two meetings will also help prepare groundwork for the Fifth Annual Consultation between the Prime Ministers of Thailand and Malaysia, which is scheduled for 2013 in Malaysia.

Ref: http://thailand.prd.go.th/view_news.php?id=6560&a=3

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

1.    โครงสร้างภาคใต้
1.1    ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด มีประชาชนรวม 8.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.3 ของประเทศ พื้นที่ 70,700 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของประเทศ เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางทะเล เช่น การประมง และแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ภาคใต้ยังมีลมมรสุมพัดผ่านและมีฝนตกตลอดปี ทำให้พื้นที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก ผัก ผลไม้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ตลอดจนมีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
1.2    ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่
1)      ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร และระนอง มีพื้นที่เชื่อมต่อกับอำเภอบางสะพาน ตอนใต้ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานอุตสาหกรรมเหล็กขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีระนองเป็นประตูการค้า การลงทุน ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านสหภาพพม่า บังกลาเทศ และอินเดียด้านตะวันออก
2)      ภาคใต้ตอนกลาง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่  ตรัง และพัทลุง โดยมีภูเก็ต พังงา กระบี่ และเกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักระดับโลก ในขณะที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุงเป็นพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร
3)      5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส  เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของภาคใต้และของประเทศ โดยมีวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นแตกต่างจากจังหวัดอื่นและมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม กับประเทศเพื่อนบ้าน
1.3    ระยะที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในทั้ง 3 กลุ่มพื้นที่ มีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่
ยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ


2.   พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.1  สภาพทางกายภาพ
Ÿ  จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 20,800 ตารางกิโลเมตร (13 ล้านไร่) หรือคิดเป็นร้อยละ 29.4 ของพื้นที่ภาคใต้ และร้อยละ 4.1 ของพื้นที่ประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่เกษตร ประมาณ 6.9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 52.9 ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ชุมชน อุตสาหกรรม และพื้นที่อื่นๆ ร้อยละ 47.1
Ÿ  ที่ตั้งของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ห่างไกลกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศเฉลี่ยประมาณ 1,000 กม. ซึ่งไกลกว่าภาคอื่นๆ และมีผลกระทบต่อแรงกระตุ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
2.2  โครงสร้างเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
Ÿ  โครงสร้างการผลิตในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีฐานแคบ พึ่งพาผลผลิตด้านการเกษตรไม่กี่ชนิด เช่น ยางพารา น้ำมันปาล์ม และประมง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ปี 2542 ประมาณ 158,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ของประเทศและมีสัดส่วนการผลิตในภาคเกษตรสูงถึงร้อยละ41 ของ GPP สัดส่วนในภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 10 ส่วนที่เหลือร้อยละ 49 เป็นการผลิตในภาคบริการที่มีสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวและการค้าบริการ
Ÿ  ระบบคมนาคมขนส่งสายหลักและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่เขตเศรษฐกิจหลัก  ค่อนข้างพร้อม โดยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้แผนแม่บท แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบคมนาคมและสาธารณูปโภค สาธารณูปการสายรองเพิ่มเติม ให้กระจายสู่ฐานการผลิตและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
Ÿ  ด้านการกระจายรายได้ ประชากรในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีรายได้เฉลี่ย 47,995 บาทต่อคนต่อปี ต่ำกว่ารายได้ต่อหัวเฉลี่ยทั้งประเทศ (74,675 บาท/คน/ปี)และรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของภาคใต้ (51,284บาท/คน/ปี) นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาด้านการกระจายรายได้ โดยสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัด มีประชากรมากที่สุดมีรายได้เฉลี่ยสูงสุด 59,000 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่นราธิวาสมีรายได้เฉลี่ยต่ำสุดเพียง 29,000 บาท ต่อคนต่อปี ใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยของมุกดาหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพชรบูรณ์ น่านและพะเยาในภาคเหนือ
2.3  การลงทุนภาคอุตสาหกรรม
Ÿ  ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างสูงในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางหาดใหญ่-สะเดา โดยมีจำนวนโครงการลงทุนที่ขอส่งเสริมการลงทุนโดยเฉลี่ยปีละ 40-50 โครงการ เงินลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท
Ÿ  การกระจายตัวของการลงทุนไปยังอีก 4 จังหวัดชายแดนได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ไม่มากนัก อุตสาหกรรมที่ลงทุนส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ได้แก่
อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรประเภทผลิตภัณฑ์ประมง อาหาร ยางพารา และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นต้น
2.4  สภาพสังคม
Ÿ  ประชากรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชากร 3.27 ล้านคนเป็นประชากรมุสลิม   ร้อยละ 62 และหากพิจารณาเฉพาะประชากรใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ไม่นับรวมสงขลา) จะมีประชากรมุสลิมถึงร้อยละ 82 ซึ่งมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามศาสนบัญญัติของมุสลิม ซึ่งมีผลต่อแนวคิดด้านการศึกษา การประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่
3      ประเด็นท้าทายที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
3.1    โดยที่โครงสร้างการผลิตของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีฐานแคบพึ่งพาผลผลิตด้านการเกษตรไม่กี่ชนิดโดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน และประมง ซึ่งเกือบทุกชนิดมีปัญหาด้านเสถียรภาพของราคา จึงทำให้เกษตรกรที่มีถึงร้อยละ 53 ของประชากรใน 5 จังหวัด มีฐานะยากจน ประกอบกับการมีที่ตั้งอยู่ห่างไกลกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ
ทำให้แรงกระตุ้นการพัฒนา โดยใช้สาขาเศรษฐกิจอื่นจากส่วนกลางสนับสนุน ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นการพัฒนาที่ผ่านมาจึงจำเป็นต้องใช้ศักยภาพและทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลัก
3.2    ความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนาระหว่างจังหวัดสงขลากับ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างกลุ่มคนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยกลุ่มคนใน  ภาคเกษตร มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 37,000 บาท/คน/ปี ในขณะที่กลุ่มคนนอกภาคเกษตรมีรายได้เฉลี่ยปีละ 62,000 บาท/คน/ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่ยากจน ได้แก่ นราธิวาสและยะลา เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพียง 19,000 บาท/คน/ปี
3.3    ความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างพื้นที่ฝั่งไทยกับพื้นที่ในรัฐภาคเหนือของ
มาเลเซีย ทั้งด้านรายได้เฉลี่ยของประชากรและบริการโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า นอกจากนี้
รัฐบาลมาเลเซียยังได้ประกาศนโยบายพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ติดต่อชายแดนไทย
 ได้แก่ โครงการ Friendship city ที่ Kota Persahabatan ตรงข้ามกับปาดังเบซาร์ เมือง
อุตสาหกรรมโกตาเปอร์ดานา ที่บูกิตกายูฮิตัม ตรงข้ามสะเดา และเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรขนาดใหญ่ที่ บูรงดูเรียน-ตรงข้ามกับบ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา
3.4    ภาพลักษณ์ความไม่สงบเรียบร้อยและปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาสู่พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.    ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
•        จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ตั้งอยู่ไกลจากกรุงมหานครมาก และนับเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีโอกาสโดยมีที่ตั้งอยู่ติดกับมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในขั้นดี ที่จะพัฒนาความร่วมมือและนำศักยภาพของมาเลเซียมากระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
•        นอกจากนี้ โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีฐานการผลิตแคบ จึง จำเป็นต้องเร่งพัฒนาฐานการผลิตให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ทันทีภายใต้ “ยุทธศาตร์การเชื่อมโยงเศรษฐกิจเพื่อนบ้านมากระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ประกอบด้วย 3
ยุทธศาสตร์ ดังนี้
4.1  ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่กับประเทศเพื่อนบ้าน
ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการลงทุนเฉลี่ยปีละ ประมาณ 5,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณเกือบร้อยละ 50 เป็นการลงทุนที่มีนักลงทุนมาเลเซียร่วมอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบในประเทศไทยและ/หรือใช้แรงงานไทย ดังนั้นเพื่อดึงดูดและจูงใจให้เกิดความร่วมมือการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ระหว่าง
นักลงทุนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจ      ปีนัง-สงขลา ให้เป็นเส้นเลือดหลักด้านการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงด้านพลังงานกับมาเลเซีย และนานาชาติ โดยใช้ หาดใหญ่เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจการค้าเชื่อมโยงและกระจายสู่เมืองอื่นๆ ในพื้นที่ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งองค์ประกอบการพัฒนาประกอบด้วย
1)                  พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนสะเดา-ปาดังเบซาร์ ให้เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้งด้านการค้า การคมนาคมขนส่งและเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่ไม่มีมลพิษ โดยให้สิทธิประโยชน์จูงใจภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ กฎหมายศุลกากร
(เขตปลอดอากร) พรบ. การนิคมอุตสาหกรรม (เขตการค้าเสรี) พรบ.กรมโรงงาน
อุตสาหกรรม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน และพรบ.การผังเมือง
2)                  ปรับปรุงขีดความสามารถท่าเรือสงขลา ทั้งด้านการรองรับปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นและการบริหารจัดการให้สามารถดึงดูดการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก เชื่อมโยงกับท่าเรือปีนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในระยะยาว เมื่อมีปริมาณสินค้ามากเพียงพอจึงพิจารณาก่อสร้างท่าเรือบุโบยที่จังหวัดสตูลเพื่อเชื่อมโยงให้เป็นสะพานเศรษฐกิจสงขลา-สตูลต่อไป


3)                  ปรับปรุงนิคมอุตสาหกรรมที่ฉลุงและเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือประมงปัตตานี ให้สามารถรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเป็น Cluster เช่น อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร อุตสาหกรรมอาหาร     ฮาลาลที่ใช้วัตถุดิบในพื้นที่และเชื่อมโยงกับมาเลเซีย
4)                  ส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนอุตสาหกรรมระหว่างไทย-มาเลเซีย         และประเทศที่ 3 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงการหาข้อยุติเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซ JDA โดยเร่งด่วน
5)                  กำหนดมาตราการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด    ตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจปีนัง-สงขลา-ปัตตานี โดยประสานมาตรการทางกฎหมายเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายใต้ พรบ.สิ่งแวดล้อม พรบ.ควบคุมมลพิษ พรบ.กรมโรงงานอุตสาหกรรม พรบ.ผังเมือง พรบ.ส่งเสริมการลงทุน และพรบ.การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
4.2    ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยที่ปัจจุบันการค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านบาท ผ่านด่านชายแดนหลัก ได้แก่ สะเดา ปาดังเบซาร์ เบตง สุไหงโก-ลก ตากใบ โดยเฉพาะด่านสะเดา และ
ปาดังเบซาร์ ซึ่งมีปริมาณการค้าผ่านแดนสูง ถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าชายแดนในพื้นที่ 5 จังหวัดทั้งหมด และปริมาณการค้าดังกล่าว มีผลต่อรายได้และการจ้างงานในพื้นที่ จึงควรกำหนดแนวทางส่งเสริมการขยายตัวด้านการค้าชายแดน ดังนี้
1)      พัฒนาตลาดชายแดนและเมืองชายแดน สะเดา ปาดังเบซาร์ เบตง สุไหงโก-ลกและตากใบให้เป็นเมืองการค้าชายแดนที่ทันสมัย มีการจัดระเบียบตลาด คลังสินค้า และระบบการขนส่งที่ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง สถานีพัก
สินค้า และการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ซื้อมาเลเซียและผู้ส่งออกฝั่งไทยกับผู้ผลิตในส่วนต่างๆของประเทศไทย
2)      สร้างฐานการผลิตสินค้าขึ้นภายในพื้นที่จังหวัดชายแดน โดยส่งเสริมภาคเอกชนให้ผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดมาเลเซียและสิงคโปร์ทดแทนสินค้าที่ขนส่งจากพื้นที่อื่น โดยเฉพาะนโยบายหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล โดยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ การเชื่อมโยงระบบตลาดท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดสายหลัก เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และเกิดการจ้างงานในพื้นที่


4.3    ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2544 จำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นชาวมาเลเซีย 1.7 ล้านคน รองลงมาเป็นชาวสิงคโปร์ ประมาณ 0.2 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวเมืองชายแดน ได้แก่ เมืองหาดใหญ่ เบตง สุไหงโก-ลก อย่างไรก็ดี พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายที่มีศักยภาพพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติได้ ซึ่งบางพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้เป็นจุดขายด้านการตลาดร่วมกับแหล่งท่องเที่ยวของตนเองด้วย จึงมีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1)    พัฒนาหมู่เกาะตะรุเตา อาดัง-ราวี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพเชิงนิเวศน์วิทยาระดับโลก โดยให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายเชื่อมโยงชายฝั่งสตูลและแหล่ง
ท่องเที่ยวเกาะลังกาวีของมาเลเซียและสุมาตราของอินโดนีเซีย โดยพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น การปรับปรุงขยายท่าเรือชายฝั่งตำมะลังที่สตูล การแก้ไขด้านบริการท่าเรือท่องเที่ยวที่ปากปารา (สตูล) การจัดการเชิงพื้นที่และเชื่อมโยงเศรษฐกิจ
ชุมชนกับธุรกิจการท่องเที่ยว
2)      พัฒนาโครงข่ายวงจรธุรกิจการท่องเที่ยว โดยปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีเทศกาล เช่น การสักการะเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ปัตตานี
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา พรุโต๊ะแดงที่นราธิวาสและแหล่งท่องเที่ยวเมืองชายแดนต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนความร่วมมือด้านการ
ท่องเที่ยวภายใต้โครงการ IMT-GT เพื่อพัฒนาวงจรธุรกิจท่องเที่ยวระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่       ปีนัง-หาดใหญ่-ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส (ทางบก) ปีนัง-ลังกาวี-ตะรุเตา-กระบี่-ภูเก็ต-เมดาน (ทางเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่) เป็นต้น
3)      ส่งเสริมบทบาทชุมชนและองค์กรชุมชน  สนับสนุนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร ทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การบำรุงรักษา และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านให้มี      คุณภาพเชื่อมโยงกับธุรกิจท่องเที่ยว
5.    มาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานควบคู่กับยุทธศาสตร์
จากประเด็นท้าทายและปัญหาพื้นฐานด้านความยากจนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ยังคงมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่กับการดำเนินตามยุทธศาสตร์ ดังนี้ 

5.1  การขยายฐานผลิตด้านการเกษตรให้หลากหลายเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูปและตลาดในระยะยาว
(1)    เร่งดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้และการสร้างเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตร ให้สามารถรองรับความผันผวนระยะสั้นของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยการปรับปรุงผลิตภาพการผลิต (Productivity) ศึกษาความต้องการของตลาด และการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูป เน้นดำเนินการใน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
ยางพารา    Ÿ    พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยาง ประมาณ 3 ล้านไร่ : เพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) โดยวิจัยปรับปรุงพันธุ์ บำรุงต้น และ ส่งเสริมการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น น้ำยาง ยางแท่ง ยางแผ่น ถุงมือยาง เฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง
    Ÿ    พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยาง ประมาณ 1 ล้านไร่ : ดำเนินการโดยลดพื้นที่ปลูกและส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนปลูกพืชอื่น เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือปศุสัตว์ที่มีรายได้เท่ากันหรือสูงกว่า
    Ÿ    ร่วมมือกับมิตรประเทศ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย  โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อยกระดับและรักษาเสถียรภาพราคายางพารา
ปาล์มน้ำมัน    Ÿ    ส่งเสริมการปลูก และวิจัยพัฒนาอย่างเป็นระบบ ในลักษณะไร่-     โรงงาน ทั้งด้านเมล็ดพันธุ์ วิธีการเพาะปลูก การสกัดน้ำมัน และ
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการนำกากที่เหลือไปแปรรูปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกพืชอื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ขอบพรุที่เกษตรกรยากจนทำกินอยู่แล้ว
ไม้ผล/ไม้ยืนต้น    Ÿ    ส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมและการปลูกทดแทนยาง โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยรัฐสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อ การแปรรูปอาหาร ระบบการเก็บรักษาให้คงคุณภาพ จนถึงการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลาล
ประมง    Ÿ    กำหนดพื้นที่อนุรักษ์  ให้ชัดเจนโดยแบ่งเขตประมงเชิงพาณิชย์
เขตประมงพื้นบ้าน และเขตเพาะเลี้ยงชายฝั่ง และให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
    Ÿ    การปรับปรุงท่าเทียบเรือของรัฐและระบบการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ประมง เพื่อช่วยยกระดับราคาผลิตภัณฑ์ประมงให้แก่ประมงรายย่อย ในฤดูที่จับปลาได้มาก
ปศุสัตว์/สัตว์ปีก    Ÿ    พัฒนาปศุสัตว์ ได้แก่ โค แพะ แกะ และสัตว์ปีก อย่างเป็นระบบ        ที่เชื่อมโยงเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลและขายผลิตภัณฑ์สดสู่ตลาดมุสลิม โดยเฉพาะเทคโนโลยีการเลี้ยง ขบวนการผลิต โรงงานอาหารสัตว์ การวิจัยทดลองปลูกพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และต้นทุน
(2)    ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับภาคเกษตร
 เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม 2 ประเภท ได้แก่ 
(2.1)    อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล มีแนวทางดำเนินการดังนี้
1)    สนับสนุนการจัดตั้งกลไกการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลที่
มีเอกภาพ และสามารถตรวจสอบรับรองมาตรฐานตามบทบัญญัติของหลักศาสนาอิสลาม ได้อย่างเป็นอิสระภายใต้องค์กรศาสนา คือ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนในระยะเริ่มแรก จนกลไกสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง
2)    การเปิดตลาดใหม่ ในโลกมุสลิมทั้งประเทศในตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และเอเซียด้านตะวันตก
3)    การพัฒนาปัตตานีให้เป็นศูนย์อาหารฮาลาลของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบ 2 แนวทางคือ
Ÿ    ปรับปรุงพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและท่าเรือประมงปัตตานี โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และบริหารจัดการบริเวณท่าเรือประมงปัตตานีให้เข้ามาตรฐานสากลตลอดจนการควบ คุมกำกับดูแลการจัดการด้านน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานก่อน ปล่อยส่งสู่อ่าวปัตตานี
Ÿ    จัดหาพื้นที่เขตอุตสาหกรรมใหม่ ปัจจุบันเขตอุตสาหกรรมปัตตานี
มีพื้นที่เหลือเพียง 20 ไร่ ไม่เพียงพอสำหรับรองรับอุตสาหกรรมในอนาคต จึงควรประกาศเชิญชวนเอกชนให้ลงทุนจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารฮาลา ลเพิ่มขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


(2.2)    อุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราและแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยปรับปรุงเขตนิคมอุตสาหกรรมฉลุงที่มีความพร้อมของพื้นที่และสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ประมาณ 1,100 ไร่ ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราครบวงจร รวมทั้งการคลังสินค้า และสถานีขนส่งของภาคใต้
(3)    การพัฒนากลไกตลาด ปัจจุบันการค้าชายแดนบริเวณสะเดาและสุไหงโก-ลก มีปัญหาด้านขาดระบบการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เกษตรที่ถูกต้อง และขาดการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับตลาดทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังขาดระบบบริหารจัดการตลาดที่สามารถต่อรองกับพ่อค้ามาเลเซียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ถูกเอา  รัดเอาเปรียบและกดราคาอย่างไม่ธรรม จึงควรเร่งรัดโครงการพัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าชายแดนที่สะเดา และสุไหงโก-ลกเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตกับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
5.2    การพัฒนาด้านสังคม เน้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องใน 2 เรื่อง คือ
(1)   การเตรียมความพร้อมของคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษาโดยจัดหลักสูตรวิชาสามัญให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตามหลักศาสนาอิสลามตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงระดับกลาง โดยสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ครอบคลุมทุกตำบลและการเร่งปรับ ปรุงหลักสูตรผสมผสานระหว่างวิชาสามัญกับวิชาตามหลักศาสนาให้ทั่วถึง เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีโอกาสศึกษาต่อ และประกอบอาชีพได้ทัดเทียมกับนักศึกษาทั่วไป
(2)   การผลิตและการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพมาตรฐานและสอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไป โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและฝึกอบรมกับสถาบันประกอบการ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะเร่งรัดดำเนินการตามแผนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานบริหารนานาชาติที่สงขลา เพื่อการแลกเปลี่ยนความร่วมมือการพัฒนาฝีมือแรงงานกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียภายใต้โครงการ IMT-GT
5.3    การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เน้นในพื้นที่ที่ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรง 2 พื้นที่ คือ
(1)    พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
        ปัจจุบันมีปัญหาความเสื่อมโทรมและตื้นเขินของพื้นทะเลสาปและร่องน้ำ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทำการประมงระเกะระกะขาดการจัดระเบียบเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรทางน้ำ จึงควรเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเชิงนิเวศน์วิทยาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำ จัดระเบียบการทำการประมงให้การสัญจรทางเรือมีความสะดวกขึ้น และพัฒนาหมู่บ้านริมทะเลสาบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

(2)    พื้นที่อ่าวปัตตานีและชายฝั่ง
ปัจจุบันอ่าวปัตตานีกำลังประสบปัญหาด้านระบบนิเวศน์วิทยาทั้งน้ำเสียจากชุมชนและ
อุตสาหกรรม และจากการทำอวนรุน อวนลาก ในพื้นที่ทะเลใน (ในอ่าวปัตตานี) และพื้นที่ทะเลนอก (บริเวณชายฝั่งด้านอ่าวไทย) โดยเฉพาะเมื่อมีการรุกล้ำทำประมงอวนรุน อวนลากเข้ามาในเขต 3,000 เมตร ส่งผลกระทบต่อชาวประมงขนาดเล็ก จึงควรเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการอ่าวปัตตานี การก่อสร้างระบบกำจัดน้ำเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรม และการกำหนดมาตรการที่เคร่งครัดในการจัดทำ Zoning ในพื้นที่ 12 ไมล์ทะเลเพื่อกำหนดเขตการทำประมงประเภทต่างๆ โดยเฉพาะเขตห้ามใช้เครื่องมืออวนรุนและให้กำหนดมาตรการบังคับใช้
กฏหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและชาวประมงพาณิชย์ที่ใช้อวนรุน
  
ที่มา: http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=4&ved=0CEMQFjAD&url=http%3A%2F%2Fregion.nesdb.go.th%2FSESO%2Fresearch_south%2Fdata01.doc&ei=r_tZUsbIBYuCrgeRhIDgCw&usg=AFQjCNHbTw_m8fi3WAc2HDzMxB46rqZYxw&bvm=bv.53899372,d.bmk

รายงาน NCER, ECER จากมาเลย์ แผนพัฒนากระทบชิ่งภาคใต้ของไทย


ภาคใต้ของไทยถูกกำหนดความร่วมมือด้านการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่ติดกับภาตใต้ของไทย ใน 2 กรอบ คือ IMT-GT (Indonesia – Malaysia – Thai Growth Triangle) หรือ สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย และ JDS (Joint Development Strategy for Border Areas) หรือกรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาชายแดนไทย-มาเลเซีย
โดย IMT-GT ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัดของอินโดนีเซีย 8 รัฐของมาเลเซีย และ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย มีความร่วมมือใน 6 สาขา ได้แก่ สาขาโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่ง การค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเกษตร อุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล
ขณะที่ JDS ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย (สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส) และ 4 รัฐทางภาคเหนือของมาเลเซีย (ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และเประ เฉพาะอำเภอเปิงกาลันฮูลู) มีกรอบความร่วมมือในด้านต่างๆ 9 สาขา มีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทย และ Economic Planning Unit (EPU) เป็นผู้ประสานงานฝ่ายมาเลเซีย
ในส่วนของภาคใต้ของไทย นอกจากแผนพัฒนาภาคใต้และแผนพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังมีเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
แผนทั้งหมด มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้พื้นที่ด้านต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอาเซียน โดยมีกรอบใหญ่ที่สุดคือ ประชาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน(ASEAN) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งแต่ละแผนมีความก้าวหน้าไปเป็นลำดับ
ขณะที่การพัฒนาภาคใต้ของไทยที่รัฐบาลยังไม่ฟันธง เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือ เซาเทิร์นซีบอร์ด ที่จะตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นหลัก กับสะพานเศรษฐกิจสงขลา – สตูล หรือ แลนด์บริจด์ สงขลา – สตูล ที่จะมีท่อส่งน้ำมัน ท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นต้น กลับปรากฏว่าเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ก้าวหน้าไปไกลกว่าแล้ว โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาภาคใต้ไปด้วย
กล่าวสำหรับการพัฒนาพื้นที่ของมาเลเซียดังกล่าว ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ การพัฒนาเศรษฐกิจในบริเวณแนวพื้นที่ภาคเหนือ (Northern Corridor Economic Region : NCER) และการพัฒนาในบริเวณแนวพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก (East Coast Economic Region : ECER) โดยทั้งสองพื้นที่เชื่อมโยง กับไทยภายใต้แผนงาน IMT-GT และแผนงาน JDS โดยยังมีอีกแผนคือการพัฒนาในบริเวณแนวพื้นที่อิสกันดา (Iskandar Development Region) ซึ่งอยู่ทางด้านใต้ของประเทศบริเวณรัฐยะโฮร์ภาคใต้และสัมพันธ์กับแผนงาน (Indonesia – Malaysia – Singapore Growth Triangle : IMS – GT ) ทั้งหมดเริ่มดำเนินการในปี 2550 แล้วเสร็จในปี  2568
ในเอกสารที่เรียบเรียงโดย ว่าที่ร้อยตรีกิตติพล โชติพิมาย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้สรุปรายละเอียดทั้ง 2 พื้นที่ไว้ ดังนี้
1. NCER เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่และยกระดับรายได้ของประชาชน ประกอบด้วยพื้นที่รัฐปีนัง ปะลิส เกดะห์ และภาคเหนือของรัฐเประ ซึ่งติดต่อกับจังหวัดสตูล สงขลา และยะลาของไทย โดยเป็นพื้นที่ที่สร้าง GDP ให้แก่มาเลเซียร้อยละ 20.1 มีวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาไป สู่การเป็นภูมิภาคเศรษฐกิจระดับโลก ในด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ (E&E) ด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้ดำเนินการ ได้แก่ Sime Darby Berhad ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่อันดับหนึ่งของมาเลเซียและอินโดนีเซียตะวันออกเฉียงใต้ งบประมาณดำเนินการ 177 พันล้านริงกิต (51.2 พันล้านดอลลาร์สรัฐ) ในช่วงระยะเวลา 18 ปี โดยรัฐบาลเตรียมงบประมาณราว 1/3 ในขณะที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนประมาณ 2/3 เป้าหมาย เพื่อเพิ่ม GDP ของภูมิภาคจาก 52.7 พันล้านริงกิต ในปี 2548 เป็น 214.1 พันล้านริงกิต ในปี 2568 สร้างงาน 500,000 ตำแหน่งภายในปี 2555 และอีก 1,000,000 ตำแหน่งภายใน ปี 2561
การจัดแนวพื้นที่การพัฒนาย่อยภายใน NCER ประกอบด้วย แนวพื้นที่เกาะ ได้แก่ เกาะลังกาวีและปีนัง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำและศูนย์กลางกระจายสินค้าของโลกทางด้านอากาศ และทางทะเล ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางแพทย์ คงความเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ พร้อมทั้งยกระดับด้านโลจิสติกส์โดยพัฒนาท่าเรือ ถนน และสะพานปีนังแห่งสองเพิ่มเติม

แนวพื้นที่ชายฝั่ง
ได้แก่ การพัฒนาแนวพื้นที่ด้านเหนือเชื่อมโยงปาดังเบซาร์สู่ประเทศไทย โดยพัฒนาเมืองคะง่า เมืองหลวงของรัฐปะลิสเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเชื่อมโยงกับเมืองอาโรและสิน ธก โดยให้เมืองกัวลาเกดะส์และเมืองกัวลามูดา เป็นศูนย์กลางด้านการประมง แปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวชายฝั่ง และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่วนเมืองยาน พัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านปิโตรเลียมเคมี อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คลังน้ำมัน
แนวพื้นที่ตอนกลาง ได้แก่พื้นที่ข้าง North-South Expressway จากเมืองอิโปห์ รัฐเประ ไปยังเมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ติดชายแดนไทยที่อำเภอสะเดา ให้เป็นฐานอุตสาหกรรมแปรรูป โดยมีศูนย์กลางที่เมืองบัตเตอร์เวอร์ธ คูลิม และกูรุน โดยเน้นธุรกิจ SME ที่ผลิตวัตถุดิบให้กับโรงงานเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ โดยมีแผนการพัฒนารถไฟรางคู่และการขนส่งระบบรางไปยังท่าเรือและท่าอากาศยาน
แนวพื้นที่ตอนใน ได้แก่ พื้นที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองโกตาปุตรา และเมืองโกตากังซาร์ เน้นกิจการด้านการเกษตรเพื่อการพาณิชย์ เช่น ยางพาราและปาล์ม และการรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เป็นพื้นที่ประตูเชื่อมโยงกับไทยแห่งที่สองเมืองเปิงกาลันฮูลู รัฐเประ กับอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
แนวพื้นที่ บัตเตอร์เวอร์ธ – คูลิม - บาลิง – เปิงกาลันฮูลู เพื่อเชื่อมโยงระหว่างศูนย์โลจิสติกส์ที่เมืองบัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง กับเมืองคูลิม รัฐเประ โดยจะพัฒนายกระดับถนนเชื่อมโยงระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก
มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการปีนังโมโนเรล สร้างสะพานปีนังแห่งที่สอง โครงการ Kedah Hydrocarbon Hub หรือ การพัฒนาโรงกลั่นน้ำมัน คลังน้ำมัน และการสร้างท่อส่งน้ำมันในรัฐเกดะห์ (เมือง Yan) ผ่านไปรัฐกลันตัน (เมือง Bachok) ปัจจุบันโครงการต่างๆ อยู่ระหว่างการทบทวน เนื่องจากผละกระทบวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐและราคาน้ำมัน
องค์กรบริหาร ได้แก่ Northern Corridor Implementation Authority: NCIA โดยมีผู้แทนจากรัฐต่างๆ ในพื้นที่และรัฐบาลมาเลเซียร่วมดำเนินการ
สำหรับความเชื่อมโยงกับไทยด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานใน NCER ที่สำคัญ เช่น การพัฒนาด่านศุลกากรแห่งใหม่ที่ดูเรียนบุหรง รัฐเกดะห์ ตรงข้ามกับด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งฝ่ายมาเลเซียมีความก้าวหน้ากว่าฝ่ายไทยมาก การพัฒนาด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ตรงข้ามด่านบูกิตกายูฮิตัม ฝ่ายไทยยังอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดิน ขณะที่ฝ่ายมาเลเซียพัฒนาตามโครงการ Kota Perdana ไปตามแผนแล้ว
2. ECER เปิดโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2550 ในพื้นที่ 3 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และอำเภอเมอร์ซิง รัฐยะโฮร์ โดยเชื่อมโยงกับไทยในบริเวณจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกาลันตัน มีวัตถุประสงค์ใช้การพัฒนาด้านปิโตรเลียมภายใต้ Petronas Nasional Bhd. เป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาด้านท่องเที่ยวและเป็นศูนย์โลจิสติกส์ทางภาคตะวันออก
พื้นที่ ECER เดิมค่อนข้างยากจน โดยมีสัดส่วน GDP ของประเทศเพียงร้อยละ 12 เป็นระดับต่ำสุด แต่มีทรัพยากรน้ำมันนอกชายฝั่งทะเลรัฐกลันตันจำนวนมาก สามารถพัฒนาเป็นฐานการผลิตปิโตรเคมี เช่นเดียวกับฐานการผลิตปิโตรเลียมเคมีขนาดใหญ่ที่เมืองเกอเตร์ในรัฐตรังกานู
ผู้ดำเนินการ คือ Sime Darby Bhd. และ Southern Corridor Bhd.งบประมาณ 22.3 พันล้านริงกิต โดยรัฐบาลจัดสรรให้ และลงทุนโดย Petronas Nasional Bhd. ในด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติประมาณ 40 พันล้านริงกิต โดยมีระยะเวลาดำเนินการถึงปี 2563
มีแผนพัฒนาที่สำคัญๆ คือ ความเป็นศูนย์กลางด้านท่องเที่ยว ได้แก่ แนวพื้นที่ชายฝั่ง เช่น เมืองตุมปัต (ตรงข้ามอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส) กัวลาปาหัง ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชายแดน เช่น เมืองเปิงกาลันกุโบร์ (ตรงข้ามท่าเรือเฟอร์รี่ตาบา) เมืองรันตาปันยัง (ตรงข้ามอำเภอสุไหงโกลก) เมืองบูกิตบุหงา (ตรงข้ามบ้านเก๊ะตา ปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งใหม่สร้างแล้วเสร็จ) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี บริเวณเมืองเกอร์เต และเมืองเกบังสนับสนุนด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทางด่วนพิเศษและทางด่วนชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ขยายท่าเรือกวนตัน เคมามัน และเกอร์เต
การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปหลัก ได้แก่ แนวพื้นที่ Eastern Region Primary Manufacturing Corridor เชื่อมโยงระหว่างเมืองเกอร์เต – ท่าเรือกวนตัน – กวนตัน – แกมบัง – เปกัน โดยพัฒนาเขตการค้าเสรีที่ท่าเรือกวนตัน และท่าเรือเคมามัน คลัสเตอร์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มที่เมืองท่าเรือกวนตัน ศูนย์การค้าและการกระจายสินค้าประเภทยานยนต์ ณ เมืองท่าเรือกวนตัน อู่ต่อเรือซ่อมเรือที่เมืองชูไค อุตสาหกรรมหลักที่เมืองเตลุก คาลอง และชูไค สวนอุตสากรรมยานยนต์ที่เมืองเปรามู และสวนอุตสาหกรรมฮาลาลที่เมืองแกมบัง
การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูประดับรอง ได้แก่ แนวพื้นที่ Secondary Manufacturing Zone (ตาเมอร์ลอห์ – เมนตากับ – เบนตา – กัวลาตรังกานู – โกตาบารู) ประกอบด้วยสวนอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางที่เมืองที่เมืองตาเมอร์ลอห์ สวนอุตสาหกรรมผสมผสานที่เมืองเบนตอง หมู่บ้านหัตกรรมที่เมืองกัวลาตรังกานู เขตเสรีที่ท่าอากาศยานกัวลาตรังนากู และเมืองเปิงกาลันกุโบร์ สวนอุตสาหกรรมฮาลาลที่เมืองปาเสมัส
การแปรรูปอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปจากน้ำยางข้นที่เมืองมาจัง การทำสวนไม้ยางในทุกรัฐของ ECER การแปรรูปอาหารระดับ SME ที่เมืองตอกบาลิ บาจอก เชนเดอริง ชูไค กวนตัน และสวนอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง ที่เมืองกัวลาลัมไกร บันดา อัล – มุกตาฟิ บิลลา – ชาห์
ความเชื่อมโยงกับไทย ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกที่บ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิตบุหงา รัฐกลันตัน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 การศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่สอง บริเวณเมืองรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน และอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนริวาส และสะพานข้ามแม่นำโกลก ที่ท่าตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กับเมืองเปิงกาลันกุโบร์ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน
NCER และ ECER จะเป็นตัวกระตุกรัฐไทยให้รีบตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตภาคใต้อย่างไร ก็ต้องติดตาม แต่ไทยเองก็มักตามหลังเพื่อนเสมอ แม้เป็นเรื่องที่คิดขึ้นก่อนก็ตาม

The Ricardian Model of Comparative Advantage



Lecture 1
International Trade Theory
1/2008
The Ricardian Model of Comparative Advantage
Kornkarun Kungpanidchakul, Ph.D


Opportunity cost
-          Comes from the next best foregone alternative
-          To find the opportunity cost, you must have more than one alternative, goods or activities

Adam Smith (wealth of Nations, 1776)
-          introduces principles of division of labor and specialization among countries
-          each country produces goods that it can produce more for the same level of resources/time.
-          “ law of absolute advantage”

Absolute Advantage: Country A has absolute advantage in good X comparing with country B if country A can produce more units of good X than country B, given that both countries have the same level of resources, technology and time.
Assumption:
  1. Constant opportunity cost (linear PPF)
  2. Two countries with one factor “labor”
  3. Two commodities (suppose Fish and Chips)

Country
Amount produced / unit of labor
Fish
Chips
Canada
100
50
Japan
50
150

So Canada has absolute advantage in producing fish and Japan has absolute advantage in producing chips.
What is Adam Smith’s suggestion?
à Canada produces only fish and Japan produces only chips. Then trade pattern is Canada exports fish, Japan exports chips.

The Ricardian Model of Comparative Advantage
            Consider the following table,
country
Amount produced / unit of labor
Opportunity Cost
Fish
Chips
Fish
Chips
Canada
100
160
1 F= 1.6 C
1 C= 5/8 F
Japan
50
150
1 F=3 C
1F =1/3 C
           
            Canada has absolute advantage in both Fish and Chips. Therefore, according to absolute advantage, no trade occurs.
            David Ricardo introduced principle of “Comparative Advantage” or “Comparative Cost”
Assumptions:
  1. Labor is only production factor. The technology is constant returns to scale.
  2. Identical tastes in both countries. Therefore, relative prices are solely determined by supply side or technology.

Example 1: Suppose that there are two countries, namely Canada and Japan. They have the total level of resource of L and L* respectively.

Country
Amount produced / unit of labor
Opportunity Cost
Fish
Chips
Fish
Chips
Canada
1
1/2
1F = ½ C
1C = 2 Fish
Japan
1
1
1F = 1 C
1C = 1F

Comparative Advantage
            Country A has comparative advantage in good X comparing with country B if country A can produce good X with the lower opportunity cost.
            Define the formal notation of comparative advantage. Given that aLF is the unit cost required to produce fish, aLC is the unit cost required to produce chips. Then  means that the opportunity cost of fish in Canada is lower than the opportunity cost in Japan. Therefore, Canada has a comparative advantage in fish while Japan has comparative advantage in chips. If , Canada has an absolute advantage in fish.

Autarky Equilibrium
Production Possiblity Frontier: A curve showing all combinations of two goods that can be produced for given resources and technology. The slope is opportunity cost or marginal rate of transformation (MRT)

Fish
 

           
            In autarky economy, the country will product at the point that the indifference curve is tangent to PPF.

Equilibrium Condition:
1.
2.
3.
            Therefore, if we have interior solution, 1. and 2. implies:
           

Trading Equilibrium
            There are three possible types of equilibrium. Let is the world relative price, then we have:
  1. If , then Japan diversifies between fish and chips while Canada specializes in Fish.
  2. If , then both countries specialize with Canada specializes in fish and Japan specializes in chips.
  3. If , then Japan will specialize in chips while Canada diversifies.
            In all equilibriums, Canada exports fish while Japan export chips. Therefore, even diversified economy, patterns of international trade is specialized in the Ricardian model.

The Gains from Trade

  1. When , Canada gains from trade since it can consume outside its own PPF.

F
 
   Canada’s PPF
F
 
    Japan’s PPF

2. When , both countries can consume outside its own PPF.
F
 
   Canada’s PPF

F
 
   Japan’s PPF

3.When , only Japan’s PPF shifts up.
F
 
    Canada’s PPF
F
 
   Japan’s PPF

We can draw the world joint PPF as follows:
            The kinked point is when both countries specialize.