วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Asean Economic Community-AEC
Asean Economic Community History
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม
เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกาหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสาคัญต่อมาคือการจัดทาปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดาเนินการเข้าสู่ เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน มี ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สาหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทาพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดาเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย

อ้างถึง http://www.thai-aec.com/asean-economic-community#ixzz22CNo6YW1

ศักยภาพ ASEAN

จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่าง ๆ ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community)
1.ประเทศสิงคโปร์
จุดแข็ง • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียน และติดอันดับ 15 ของโลก • การเมืองมีเสถียรภาพ • เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ • แรงงานมีทักษะสูง • ชำนาญด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ • มีที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางเดินเรือ จุดอ่อน • พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง ประเด็นที่น่าสนใจ • พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า
 
2.ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง • ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) • มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ • ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง จุดอ่อน • ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว • สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจ • การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก
 
 3.ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก • ระบบโครงสร้างพื้นฐานครบวงจร • แรงงานมีทักษะ จุดอ่อน • จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับล่าง ประเด็นที่น่าสนใจ • ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563 • ฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย • มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง
4.ประเทศบรูไน
จุดแข็ง • รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 26 ของโลก • การเมืองค่อนข้างมั่นคง • เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน จุดอ่อน • ตลาดขนาดเล็ก ประชากรประมาณ 4 แสนคน • ขาดแคลนแรงงาน ประเด็นที่น่าสนใจ • มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย • การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์เป็นหลัก • ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก
5.ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง • ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลก (>100 ล้านคน) • แรงงานทั่วไปมีความรู้-สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จุดอ่อน • ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียน • ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ประเด็นที่น่าสนใจ • สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมาก และมีการเรียกร้องเพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ • การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
 
 6.ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง • ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลก (~90 ล้านคน) • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก • มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร • การเมืองมีเสถียรภาพ • ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียน รองจากกัมพูชา จุดอ่อน • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร • ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูง ประเด็นที่น่าสนใจ • มีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตเร็ว
 
 7.ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำ ป่าไม้ และแร่ชนิดต่างๆ • ค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน (1.6 USD/day) จุดอ่อน • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร • ต้นทุนสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ค่อนข้างสูง • ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ประเด็นที่น่าสนใจ • ประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคตได้
 
 8.ประเทศลาว
จุดแข็ง • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆ • การเมืองมีเสถียรภาพ • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day) จุดอ่อน • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร • พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางออกสู่ทะเล ประเด็นที่น่าสนใจ • การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ และเหมืองแร่
 9.ประเทศพม่า
จุดแข็ง • มีทรัพยากรธรรมชาติ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก • มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย • ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day) จุดอ่อน • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร • ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบาย ประเด็นที่น่าสนใจ • การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุก ทั้งทางถนน รถไฟความเร็วสูง และท่าเรือ
 10.ประเทศไทย
จุดแข็ง • เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลก • ที่ตั้งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ • สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึง • ระบบธนาคารค่อนข้างเข้มแข็ง • แรงงานจำนวนมาก จุดอ่อน • แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ • เทคโนโลยีการผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลาง ประเด็นที่น่าสนใจ • ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียนในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว • ดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC ปี 53-54 ได้ 64% สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ 53% สะท้อนการเตรียมพร้อมอย่างจริงจัง
 

อ้างถึง http://www.thai-aec.com/140#ixzz21gsmMiYC

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แฉไทยที่โหล่พร้อมเข้าประชาคมอาเซียน



วงประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2555 หัวข้อ
“ร่วมสร้างคนรุ่นใหม่ ร่วมใจสู่อาเซียน”
แฉประเทศไทยเป็นที่โหล่ความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จี้ยกระดับการศึกษา
การเข้าถึงกฎหมาย พัฒนาการเรียนแก่ผู้พิการ พัฒนาด้านภาษาอังกฤษแก่เด็ก…
เมื่อ วันที่ 18 ก.ค. 2555 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ
ในการประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2555 “ร่วมสร้างคนรุ่นใหม่
ร่วมใจสู่อาเซียน” นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการจัดสมัชชาการพัฒนาเด็กฯ
กล่าวในพิธีเปิดว่า ต้องคำนึงว่าสิ่งที่ลื่นไหลผ่านการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน
ไม่เฉพาะสิ่งที่เป็นด้านบวก แต่ยังมีปัจจัยด้านลบทั้งความรุนแรง อาชญากรรม
การค้ามนุษย์ ปัญหาสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ
จึงอยากฝากให้เครืยข่ายสมัชชาเด็กร่วมหาวิธีพิทักษ์และป้องกัน
ด้าน รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล กรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ กล่าวว่า
คนไทยถูกจัดให้อยู่อันดับที่โหล่ ในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
เมื่อเทียบกับ 10 ประเทศสมาชิก จึงอยากกระตุ้นให้ทุกคน รวมถึงเยาวชนได้ตระหนัก
โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมด้านภาษาอังกฤษและภาษาประเทศสมาชิก
รวมถึงเตรียมพร้อมทั้งภาคบริการ ท่องเที่ยว ความมั่นคง แรงงาน ระบบการขนส่ง
และการเกษตร ทั้งนี้ เราต้องเดินหน้าไม่ใช่ถอยหลัง
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ เชิดบำรุง ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
กล่าวว่า ความคาดหวังของเด็กและเยาวชนต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ
1.นโยบายส่งเสริมสนับสนุนเด็กและเยาวชนในประเทศต้องสอดคล้องกับความจริงของ
ผู้ปฏิบัติทุกระดับ
2.การเข้าถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
ซึ่งมีหลายฉบับ แต่เด็กบางพื้นที่ยังไม่มีโอกาสเข้าถึงสิทธิทางกฎหมาย
3.การให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาภาษาอังกฤษให้มากขึ้น และ
4.การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนถึงเด็กเยาวชนทุกระดับมากขึ้น
ส่วน นายเอกภาพ ลำดวน ประธานชมรมเยาวชนคนตาบอดไทย กล่าวว่า
อยากให้ยกระดับมาตรฐานการศึกษาสำหรับเยาวชนผู้พิการเทียบเท่าสากล
ทั้งที่ไทยมีกฎหมายที่ให้สิทธิผู้พิการมากมาย
แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำได้อย่างจริงจัง
โดยเฉพาะสื่อการเรียนรู้สำหรับผู้พิการที่อยากเห็นทุกพื้นที่
ทุกห้องสมุดมีสื่อสำหรับผู้พิการเรียนรู้ได้อย่างอิสระเสรี.

อ้างถึง http://www.thairath.co.th/content/edu/277003

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

(คำถาม) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทบ.

คำถาม
(สอบถามเฉพาะกรรมการ)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทบ.

ส่วนที่ ข้อมูลทั่วไป

) เพศ (   ) ชาย  (   ) หญิง
) อายุ...............ปี
) การศึกษา (   ) ประถมศึกษา  (   ) มัธยมศึกษาตอนต้น   (   ) มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
(   )
ปริญญาตรี     (   ) สูงกว่าปริญญาตรี     (   ) อื่น (ระบุ)..............................
) อาชีพ (   ) เกษตรกร  (   ) รับจ้างทั่วไป  (   ) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ   (   ) อื่น (ระบุ).....................        
) ตำแหน่งทางสังคม/กลุ่ม/องค์กร (ระบุ)............................................................
) ตำแหน่งในกองทุนหมู่บ้าน (   ) สมาชิก (   ) กรรมการ (ระบุ)..................................................
) รายได้...........................................บาท/เดือน
) ประสบการณ์ทำงานที่นานที่สุดตามข้อ หรือ ข้อ หรือข้อ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ......................ปี

ส่วนที่ ข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ กทบ.

. ปัจจัยด้านคณะกรรมการกองทุน
. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการกองทุนหม่บ้านของท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
. ประสบการณ์ในการบริหารกลุ่ม ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าประสบการณ์ในการบริหารกองทุนหมู่บ้านของท่านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าประสบการณ์ในการบริหารกองทุนหมู่บ้านของคณะกรรมการกองทุนหม่บ้านของท่านอยู่ในระดับใด
. ภาวะผู้นำของคณะกรรมการ ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าภาวะผู้นำของท่านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าภาวะผู้นำของคณะกรรมการของท่านอยู่ในระดับใด
. การได้รับการฝึกอบรมศึกษาดูงาน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านเคยได้รับการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านกองทุนหมู่บ้านกี่ครั้ง
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการของท่านเคยได้รับการฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านกองทุนหมู่บ้านโดยเฉลี่ยคนละกี่ครั้ง

. ปัจจัยสนับสนุน
. การสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( คำถาม)
      คำถาม มีหน่วยงานภายนอกมาสนับสนุนส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านของท่านโดยเฉลี่ยปีละกี่ครั้ง
      คำถาม หน่วยงานภายนอกมาสนับสนุนส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านของท่านมีหน่วยงานอะไรบ้าง
. การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกองทุน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านจากไหน และปีละกี่ครั้ง
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของท่านได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านจากไหน และปีละกี่ครั้ง
. การประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านด้วยวิธีไหน และปีละกี่ครั้ง
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของท่านได้ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านโดยทั่วไปด้วยวิธีไหน และเฉลี่ยปีละกี่ครั้ง

. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุน  
. ด้านการเงิน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าท่านมีความสามารถบริหารด้านการเงินของกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการของท่านมีความสามารถบริหารด้านการเงินของกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
. ด้านผลประกอบการของกองทุน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าท่านมีความพอใจต่อผลประกอบการ (กำไร-ขาดทุน) ในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการของท่านมีความพอใจ (กำไร-ขาดทุน) โดยประมาณต่อผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับใด
. ด้านสังคม ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าท่านมีความพอใจต่อการช่วยเหลือสังคมจากผลประกอบการในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับใด
      คำถาม มีกิจกรรมของกองทุนหมู่บ้านที่ช่วยเหลือสังคมกี่กิจกรรม
. ด้านการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าท่านมีความพอใจต่อการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของผู้ยืมเงินของกองทุนหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับใด
      คำถาม มีผู้ยืมเงินกี่ราย ที่ยืมเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
. ด้านโครงสร้างและหน้าที่ ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอยู่ในระดับใด
      คำถาม มีคณะกรรมการกี่คน ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
. ด้านการบริหารจัดการ ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่า ท่านมีความสามารถในการบริหรกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีความสามารถในการบริหรกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
. ด้านการมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์เครือข่ายกองทุน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่า ท่านมีส่วนร่วมและมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายกองทุนระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัดอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่า กองทุนหมู่บ้านของท่านหรือคณะกรรมการอื่น มีส่วนร่วมและมีความสัมพันธ์โดยประมาณกับเครือข่ายกองทุนระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัดอยู่ในระดับใด
. ด้านผลการดำเนินงาน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่า ท่านมีความพอใจต่อผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านของท่านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้านของท่านหรือคณะกรรมการอื่น มีมีความพอใจต่อผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านของท่านโดยประมาณอยู่ในระดับใด
.๑๐ ด้านการติดตามและประเมินผล ( คำถาม)
      คำถาม กองทุนหมู่บ้านของมีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลหรือไม่
      คำถาม กองทุนหมู่บ้านของมีการติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเคือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล/อำเภอ/จังหวัดหรือไม่
. ปัจจัยด้านสมาชิกกองทุน
. ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีส่วนร่วมอยู่ในระดับใด ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีความรับผิดชอบต่อหนี้สินโดยทั่วไปอยู่ในระดับใด
. ด้านทัศนคติของสมาชิก ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีทัศนคติที่ดีต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีทัศนคติที่ดีต่อกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
. ปัจจัยด้านความรู้ของสมาชิกต่อกองทุน ( คำถาม)
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีความรู้เรื่องกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีความรู้เรื่องการจัดทำโครงการเพื่อขอยืมเงินกองทุนหมู่บ้านอยู่ระดับใด
      คำถาม ท่านคิดว่าสมาชิกกองทุนฯของท่านมีความรู้เรื่องการบริหารงานเงินที่ยืมจากกองทุนหมู่บ้านอยู่ระดับใด

ส่วนที่ ข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะ (ถ้ามี)

) จุดอ่อนกองทุนฯของท่าน คือ...........................................................................................................
...........................................................................................................................................................
) จุดแข็งกองทุนฯของท่าน คือ...........................................................................................................
...........................................................................................................................................................
) ปัญหา/อุปสรรคกองทุนฯของท่าน คือ..............................................................................................
...........................................................................................................................................................   
) โอกาสการพัฒนากองทุนฯของท่าน คือ............................................................................................
...........................................................................................................................................................   

--------------------