วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566

การแก้ปัญหาประชาชนด้วยศาสตร์พระราชา

๑. หลักการและเหตุผล 
ในฐานะผู้ที่ทำงานกับหมู่บ้าน/ชุมชน ได้รับการเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า ปัญหาประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ปัญหา ๔ จ. ได้แก่ จน เจ็บ จ๋อง โจร สามารถอธิบายได้ดังนี้ 
จน คือ ประชาชนยังประสบปัญหาความยากจน รายได้น้อย มีภาระหนี้สิน มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 
เจ็บ คือ ประชาชนยังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ทั้งปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ทำให้โรงพยาบาลจะเป็นสถานที่พักแหล่งที่สองของประชาชนนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือบ้านพักคนชราก็จะเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ 
จ๋อง คือ ประชาชนเกิดอาการทำอะไรไม่ถูก คิดอะไรไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย หากมีคนในครัวเรือนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ลูกหลานเกเร หรือถูกลูกหลานทอดทิ้งเมื่อยามแก่เฒ่า 
โจร หมายความว่า ประชาชนยังประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม หรือบางคนก็เป็นโจรหรือลักเล็กขโมยน้อย หรือไปติดยา ติดพนัน แม้กระทั่งไม่มีอันจะกิน เลยกลายเป็นโจร 

๒. บทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอ และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข นั่นคือ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน มักพบว่า ปัญหาอุปสรรคมูลฐานและผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ชาวบ้านไม่ค่อยพูด เป็นปัญหาซ่อนเร้น (hidden problems) แต่เป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนและเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน ความทุกข์ของชุมชน เป็นผลกระทบจากการแก้ปัญหา ๔ จ. โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำงานในระดับพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานปกครอง/ตำรวจ/ทหาร พัฒนาชุมชน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ สาธารณสุข โรงเรียน และอื่น ๆ เพื่อดำเนินการในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ใน ๓ รูปแบบ/วิธีการ ได้แก่ 
๑. การปกครองดูแลประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย 
๒. การพัฒนาชุมชน การดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน หรือใช้วิถีประชาชน 
๓. การสงเคราะห์ เยี่ยวยา การใช้หลักจารีตประเพณี ใช้วิธีการทางสังคมจิตวิทยา 

สิ่งสำคัญที่สุดต้องดึงประชาชนทุกระดับชั้นเข้ามามีส่วนร่วม มาเป็นจิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับรากหญ้า โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณ และหน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน การดูและผู้สูงอายุ คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นต้น ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาประชาชน ได้แก่ ยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ
(๑) การน้อมนำหลักการทรงงานเป็นแนวทางการแก้ปัญหาประชาชน 
(๒) การสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน 
(๓) จิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่กับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน 
(๔) ประชาชนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นทั้งที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ประสานงาน 
(๕) ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้คนเปราะบาง ได้รับการดูแล เอาใจใส่ 

๔. ตัวชี้วัดความสำเร็จ 
๔.๑ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ คือ ความสามารถในการน้อมนำหลักการทรงงานเป็นแนวทางการแก้ปัญหาประชาชน 
๔.๒ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ได้แก่ 
(๑) ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้มแข็งที่เพิ่มขึ้น 
(๒)ร้อยละจิตอาสา/อาสาพัฒนาชุมชน/ภาคประชาชนร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมของหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่กับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนที่เพิ่มขึ้น 
(๓) ร้อยละของประชาชนที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นทั้งที่ปรึกษา เพื่อนร่วมงาน ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ประสานงาน 
(๔) ร้อยละของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ คนเปราะบาง ได้รับการดูแล เอาใจใส่ ที่เพิ่มขึ้น 

การสนับสนุนกิจกรรมกองทุนแม่ของแผ่นดิน


 ๑. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  การใช้ประสบการณ์ที่ทำงานกับสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยมีแนวทางในการสนับสนุน คือ วางแผน ประสานงาน ปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น

๒. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน  ๒.๑ วางแผน ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด หน่วยงานภาคีเครือข่าย สมาชิกเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินในระดับอำเภอ/จังหวัด คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละกองทุน เพื่อ (๑) จัดทำแผนปฏิบัติการ, จัดทำทะเบียนสมาชิก, จัดทำบัญชี และเอกสารต่าง ๆ (๒) ทำความเข้าใจโครงการทุกครัวเรือน (๓) รับสมัครคณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซึ่งกรรมการ ๑ คน รับผิดชอบ ๕ ครัวเรือน (๔) รับสมัครครัวเรือนสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ (๕) จัดตั้งกฎชุมชนเข้มแข็ง (๖) ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด (๗) จัดตั้งต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน (๘) ประชาคมคัดแยกด้วยสันติวิธี (๙) จัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง (๑๐) รับรองครัวเรือนปลอดภัย (๑๑) รักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง (๑๒) ประเมินผล ถอดบทเรียน

๒.๒ ประสานงานกับผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ/จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานที่ได้วางแผนตามข้อ ๒.๑ ให้ประสบความสำเร็จ หรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.๓ ปฏิบัติงาน ร่วมงานกับบุคคลตามข้อ ๒.๒ และปฏิบัติตามแผนในข้อ ๒.๑ ให้เป็นรูปธรรม ๒.๔ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเฉพาะเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงาน ๒.๕ ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ในลักษณะไขว้ (Cross function) หรือ adhocracy ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย อาทิเช่น ปกครอง เกษตร สาธารณสุข กศน. สช. ท้องถิ่น ตำรวจ ฯลฯ เป็นต้น

๓. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ๓.๑ เชิงปริมาณ คือ กองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละกองทุน (๑) มีสมาชิกเพิ่มขึ้น (๒) มีทุนเพิ่มขึ้น (๓) มีสมาชิกที่ห่างไกลจากยาเสพติดเพิ่มขึ้น ๓.๒ เชิงคุณภาพ คือ กองทุนแม่ของแผ่นดินในแต่ละกองทุน (๑) สามารถน้อมนำพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระพันปีหลวงมาถือปฏิบัติ (๒) ใช้ทุนศักดิ์สิทธิ์ สร้างทุนศรัทธาและทุนปัญญา และนำทุนตามข้อ  (๓) ในข้อ ๓.๒ จัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง รับรองครัวเรือนปลอดภัย และรักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง

๔. การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ ๔.๑ หน่วยงานราชการ น้อมนำพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระพันปีหลวงมาถือปฏิบัติ และช่วยเหลือประชาชนให้ห่างไกลยาเสพติด ใช้ทุนศักดิ์สิทธิ์ ระดมทุนศรัทธาและทุนปัญญา ๔.๒ ประชาชน น้อมนำพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระพันปีหลวงมาถือปฏิบัติ และ ใช้ทุนศักดิ์สิทธิ์ สร้างทุนศรัทธาและทุนปัญญา จัดกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง และรักษาสถานะของชุมชนเข้มแข็ง

๕. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ ต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จริงจากการปฏิบัติ เพราะต้องมีการลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง

๖. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ๖.๑ ความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรม ๖.๒ การทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคีเครือข่ายยังไม่แนบเนียนในบางพื้นที่

๗. ข้อเสนอแนะ ๗.๑ หน่วยงานภาคีเครือข่าย ควรสนับสนุนกิจกรรม/งบประมาณในบางกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๗.๒ ควรบรรจุกิจกรรมลงในข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน

๘. การเผยแพร่ผลงาน ๘.๑ การนำเสนอในที่ประชุม ๘.๒ การโพสต์ในโซเซียลมีเดีย ๘.๓ การเป็นวิทยากรบรรยายในที่ต่าง ๆ


กองทุนแม่ของแผ่นดินชุมชนทรายทอง


การประสานงานเพื่อจัดจำหน่าย OTOP ณ ประเทศมาเลเซีย

๑. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การสื่อสารกับผู้ประกอบการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลวิธีในการปฏิบัติงาน คือ สร้างกระแสการรับรู้ ดึงเข้าสู่พวกพ้อง สนองความต้องการ แบ่งปันผลประโยชน์

๒. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน
๒.๑ สร้างกระแสการรับรู้ เป็นการสื่อสารเบื้องต้นของการจัดงานต่าง ๆ จำเป็นต้องให้สาธารณชนได้รับทราบว่างานนั้น ๆ ต้องการเจาะหรือดึงกลุ่มเป้าหมายใดมาร่วมงาน และจะใช้เครื่องมือและช่องทางใดในการสื่อสาร โฆษณาประชาสัมพันธ์
๒.๒ ดึงเข้าสู่พวกพ้อง หลังจากทำความรู้จักสนิทสนมกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็จะทราบทันทีว่า มีกลุ่มเป้าหมายใดที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดงานและนำไปสู่การเป็นเพื่อนร่วมงานในโอกาสต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

๒.๓ สนองความต้องการ
๑) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศมาเลเซีย ต้องการให้หน่วยงานของเขามีบทบาทในการสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศมาเลเซียมีตลาดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์สินค้า
๒) ผู้รับเหมาจัดงาน (Organize) ต้องการบริการเครื่องมืออุปกรณ์ในการจัดงานและมีรายได้จากการจัดงาน
๓) ผู้ประกอบการทั้งไทยและมาเลเซีย ต้องการรายได้จากการจำหน่ายสินค้า
๔) ลูกค้ามาเลเซีย รู้จักสินค้าของผู้ประกอบการไทยและมาเลเซีย สามารถหาซื้อไปใช้หรือไปจำหน่ายต่อได้

๒.๔ แบ่งปันผลประโยชน์
๑) กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตอบสนองตามความต้องการในข้อ ๒.๓
๒) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน และสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการไทย
๓) เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศมาเลเซีย ได้ทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเอง และสนับสนุนช่องทางการจำหน้ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการมาเลเซีย
๔) ผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดตามข้อ ๑) - ๓) ในข้อ ๒.๔ ได้งาน ได้เพื่อน และได้ความรู้/ประสบการณ์

๓. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณและคุณภาพ)  
๓.๑ เชิงปริมาณ ได้แก่
(๑) ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น
(๒) ผู้บริโภคในประเทศมาเลเซียรู้จักผลิตภัณฑ์ OTOP ไทย มากยิ่งขึ้น
๓.๒ เชิงคุณภาพ คือ
(๑) ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐได้เรียนรู้การจัดจำหน่าย OTOP ในประเทศมาเลเซีย
(๒) มีการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย
(๓) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศมาเลเซีย

๔. การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ
๔.๑ หน่วยงานราชการ ได้สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการในหาช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าจนมีรายได้ รู้ว่าจะพัฒนาผู้ประกอบการและสินค้าอย่างไรให้เป็นที่ต้องการของลูกค้าในประเทศมาเลเซีย  เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP สร้างรายได้ให้กับชุมชน เกิดการเจรจาการค้าทางธุรกิจ สนับสนุนและพัฒนาให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการตลาด การพัฒนาคุณภาพสินค้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP  ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ
๔.๒ ประชาชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า และสามารถนำมาพัฒนาสินค้าหรือเพิ่มปริมาณสินค้าของตนเองต่อ มีความรู้จักกับผู้ประกอบการมาเลเซีย อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้า และเกิดการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

๕. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ
การนำสินค้าผ่านแดน ต้องได้รับการตรวจสอบจากด่านศุลกากรไทย และมีการเสียภาษีในบางรายการให้กับด่านศุลกากรมาเลเซีย ซึ่งอาจเสียเวลาเป็นวันเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการไทย จำเป็นต้องเหมารถร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และอาจมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียในระหว่างทาง

๖. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ  
๖.๑ การสื่อสารโดยใช้ภาษาที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการไทยกับคนมาเลเซียต้องใช้ภาษามาเลเซีย
๖.๒ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ต่างกัน ผู้ประกอบการไทยต้องรู้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรามาเลเซียริงกิต มิฉะนั้น จะทำให้การขายสินค้าแพงไปหรือขาดทุน
๖.๓ ความต้องการสินค้าไทยของลูกค้ามาเลเซียหรือปัญหารสนิยมในการบริโภค ทำให้สินค้าไทยบางประเภทขายได้น้อย

๗. ข้อเสนอแนะ  
๗.๑ เจ้าหน้าที่ราชการไทย จำเป็นต้องรู้ภาษามาเลเซียหรือภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร และ รู้กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธรมมเนียมปฏิบัติ การนำสินค้าเข้าประเทศเพื่อนบ้าน
๗.๒ ผู้ประกอบไทย จำเป็นต้องรู้ภาษามาเลเซียหรือภาษาอังกฤษเบื้องต้น รู้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รู้ธรรมเนียมปฏิบัติการนำสินค้าเข้าประเทศเพื่อนบ้าน และ สร้างความสัมพันธ์ในชั้นเพื่อนกับผู้ประกอบการมาเลเซีย เพื่อจักได้แลกเปลี่ยนสินค้า หรือส่งสินค้าไปจำหน่ายในอนาคต

๘. การเผยแพร่ผลงาน
๘.๑ การนำเสนอในที่ประชุม
๘.๒ การโพสต์ในโซเซียลมีเดีย
๘.๓ การเป็นวิทยากรบรรยายในที่ต่าง ๆ

การเป็นที่ปรึกษาผู้ประกอบสัมมาชีพ

๑. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ให้กับผู้ประกอบการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักในการวิเคราะห์ คือ ทุน ความรู้ความสามารถ การตลาด การสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง การเก็บออมเพื่อการลงทุนซ้ำ


๒. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน
การจะประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง
๑) ทุน คือ เงิน ได้มาจาก เก็บออม กู้/ยืม บริจาค คน/หน่วยงานสนับสนุน หรือ สิ่งที่ไม่ใช่เงิน เช่น แรงงาน สมอง/ความคิด ทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน สวน ไร่ นา พาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ) รวมทั้ง ปัจจัยการผลิต (4M): Man, Money, Material, Machine
๒) ความรู้ความสามารถ (KUASA): Knowledge (ความรู้), Understanding (ความเข้าใจ), Action (ปฏิบัติ), Skill (ทักษะ), Attitude (ทัศนคติ) นำสู่ความรู้คู่คุณธรรม
๓) การตลาด ประกอบด้วย ตลาดออฟไลน์/ตลาดออนไลน์ รวมทั้ง การวิเคราะห์ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดผูกขาด อีกทั้งแยกแยะตลาดเกษตร ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ตลาดแรงงานและบริการ อีกทั้งการวิเคราะห์ Business Centric - Marketing Mix (4Ps): Product Price Place Promotion กับ Customer Centric (4Cs): Customer, Cost, Convenience, Communication 

๔)   การสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง (Y = C+S) ไม่ว่าจะเป็นเงิน เช่น ธนบัตร เหรียญ เงินอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีธนาคาร ฯลฯ หรือรายได้ที่ไม่ใช่เงิน เช่น ผลิตผล สินค้า สินทรัพย์ ฯลฯ และคิดหรือการหมุนเวียนของเงิน ตามสูตร Irving Fisher คือ MV = PT (Money x Velocity = Price x Transaction)
๕) การเก็บออมเพื่อการลงทุนซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เงินฝาก พันธบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ใช่เงิน เช่น สุขภาพ องค์ความรู้ ทรัพย์สิน (บ้าน ที่ดิน สวน ไร่ นา พาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ฯลฯ)

๓. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณและคุณภาพ) ๓.๑ เชิงปริมาณ ผู้ประกอบสัมมาชีพ
(๑) เลือกอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ดียิ่งขึ้น
(๒) มีรายได้เพิ่มขึ้น มากยิ่งขึ้น
๓.๒ เชิงคุณภาพ ผู้ประกอบสัมมาชีพ
(๑) ได้เรียนรู้การประกอบสัมมาชีพที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
(๒) เกิดการพัฒนาอาชีพหลักหรืออาชีพรองอย่างต่อเนื่อง

๔. การนำไปใช้ประโยชน์และผลกระทบ
๔.๑ หน่วยงานราชการ มีแนวทางในการให้คำปรึกษาด้านอาชีพ 
๔.๒ ประชาชน โดยเฉพาผู้ประกอบสัมมาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้นและเกิดการพัฒนาอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง

๕. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ
ต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จริงจากการปฏิบัติ เพราะต้องมีการลงมือปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง

๖. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ  
๖.๑ จำนวนผู้ขอรับการปรึกษาที่มีจำนวนมาก
๖.๒ ผู้ประกอบสัมมาชีพที่มีความต้องการประกอบอาชีพที่ตนเองยังไม่มีประสบการณ์ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
๖.๓ การรวบรัดของโครงการบางโครงการ อาจเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจต่อการประกอบสัมมาชีพ

๗. ข้อเสนอแนะ  
๗.๑ ควรสร้างที่ปรึกษาการประกอบสัมมาชีพอาชีพใหม่ ๆ ให้มากขึ้น
๗.๒ การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มก็ควรเลือกผู้ประกอบสัมมาชีพประเภทเดียวกัน
๗.๓ การให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบสัมมาชีพ มีความมั่นใจและรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น

๘. การเผยแพร่ผลงาน
๘.๑ การนำเสนอในที่ประชุม
๘.๒ การโพสต์ในโซเซียลมีเดีย
๘.๓ การเป็นวิทยากรบรรยายในที่ต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ระเบียบ/ข้อสั่งการจัดทำแผนบูรณาการระดับอำเภอและตำบล

 

มท 1 การพัฒนาเศษกิจฐานรากและ One Plan

มท 3 การพัฒนาเศษกิจฐานรากและ One Plan

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย การจัดทำ One Plan

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน การจัดทำ One Plan

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำภอและตำบล พ.ศ. ๒๕๖๒

แนวทางปฏิบัติรองรับการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. ๒๕๖๒

ที่มา https://district.cdd.go.th/sungaikolok/service/community-plan/

แผนชุมชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

 

ที่รหัสชุมชนชุมชนประธานชุมชนจำนวนประชากร (คน)ครัวเรือน
ชื่อนามสกุลชายหญิงรวม
196980001ชุมชนกูโบร์นางสาวสุมิตราอูมา262304566143
296980002ชุมชนโต๊ะลือเบนางสาวอาสนะดอเล๊าะ352561913154
396980003ชุมชนตันหยงมะลินายชื่นทิพรัตน์281308589125
496980004ชุมชนโก-ลกวิลเลจนางวารินทร์ยอดแก้ว241369610113
596980005ชุมชนบือเร็งนายวันชัยยะโกะ5115911,102300
696980007ชุมชนกือดาบารูนางสาวมาสลีนาบินอาแวหะมะ399434833151
796980008ชุมชนกือบงกาแมนายสาเหะมามะนอสาเหะมะหะมะฆานาปีเยาะ271386657102
896980009ชุมชนหัวสะพานนางสาวโนรีซามะแซ261391652151
996980010ชุมชนเสาสัญญาณนายอาแซมะสอรีมาเจะ334374708145
1096980011ชุมชนดงงูเห่านายบุญภาคสุขโร444487931310
1196980012ชุมชนหลังด่านนายเสริมมิตรชุมขันธ์298340638219
1296980013ชุมชนมัสยิดกลางนายสุฮายมิงอารง248363611129
1396980015ชุมชนจือแรตูลีนายวัชริศเจ๊ะเลาะ269306575118
1496980016ชุมชนสันติสุขนายธรรมนูญขุนนุ้ย261365626160
1596980017ชุมชนบาโงปริเม็งนายมุสเล็มซามะ335359694160
1696980018ชุมชนบาโงเปาะเล็งนางสารีป๊ะยะโก๊ะ258274532150
1796980019ชุมชนโปฮงยามูนายอัสมิงสะแม351378729203
1896980020ชุมชนอริศรานางอัญชลียะโลมพันธ์243367610125
1996980021ชุมชนเจริญสุขนายธนัตถ์สรณ์จันทร์วิลาศ247253500118
2096980022ชุมชนหัวกุญแจนายอาแวแวหะมะ249371620130
2196980023ชุมชนสวนมะพร้าวนายสุมาตรบุญรักษ์238362600120
2296980024ชุมชนท่ากอไผ่นายอัลวามูซอ302330632150
2396980025ชุมชนท่าประปานางสาวซูไฮดาบินตาเละ243285528135
2496980026ชุมชนท่าโรงเลื่อยนายดอเล๊าะเจะแว228298526130
2596980027ชุมชนหลังล้อแม็กนางสาวอาซีซะมาลูเด็ง19789286179
2696980028ชุมชนศรีอามานนายอาเล็มบือราเฮง165127292254
2796980029ชุมชนทรายทองนายวิชาญจันทร์เอิบ10140141128
2896980030ชุมชนบือเร็งในนายบาฮารงเจ๊ะเงาะ384252636119
2996980031ชุมชนซรีจาฮายานายมนัสเจ๊ะอีซอ215245460115

แผนบูรณาการตำบลปาเสมัส

 

แผนบูรณาการตำบลปาเสมัส
1. บ้านซรายอ
2. บ้านตือระ
3. บ้านกวาลอซีรา
4. บ้านมือบา
5. บ้านน้ำตก
6. บ้านซรายอออก
7. บ้านกวาลอซีราออก
8. บ้านลูโบ๊ะซามา